เกณฑ์ชันษา โดยอาจารย์อรุณลำเพ็ญ
ขบวนรถเร็วสายใต้เข้าเทียบชานชลาสถานธนบุรี ตรงตามเวลา16.00น.คนโดยสารตั้งแต่โบกี้หน้าถึงโบกี้หลังต่างเบียดเสียดแย่งกันลงอย่างรีบร้อน เพราะจะต้...
อาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ
เรียนโหราศาสตร์ โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ
ย่างเข้าเดือน 6 ข้างแรม ฝนต้นฤดูตกรำมาแต่เช้ามือเรื่อยมากระทั่งเช้ายิ่งกลับลงหนาเม็ดขึ้นทุกที หมอเถาถูกตบประตูปลุกจากที่นอนขณะกำลังหลับสบายสุขารมย์ ผู้ปลุกคือเณรชั้ว และครูก้อนซึ่งตากฝนมาเปียกโชกทั้งคู่เณรชั้วเป้นคนรายงานที่รต้องกรำฝนมาตามครูก้อนและหมอเถาแต่เช้า เพราะหลวงตาไม่สบายมากสั่งให้มาตามด่วน ครั้นซักไซร้ไล่เลียงอาการป่วยของหลวงตา เณรก็บอกว่า “หลวงตานอนแบบลุกไม่ได้ ขาทั้งสองข้างเป็นอัมพาต ตายไปครึ่งตัวแล้ว”
หมอเถาตระหนกตกใจสุดขีดในชีวิต หวลกลับเข้าห้องครู่เดียวก็หอบห่อผ้าขาวม้าห่อใหญ่จูงมือเณรชั้วฝ่าฝนแทบจะวิ่งและครูก้อนตามหลังติดมุ่งมาวัด แม้สายฝนเช้าจะชะโลมลูบหน้าตลอดกายจนเปียกโชกหนาวเย็น ทั้งหมอเถา ครูก้อนและเณรชั้ว ก็มิรู้สึกเพราะในหัวใจกำลังร้อนระอุด้วยความทุกข์และห่องใยในอาการป่วยของหลวงตาผู้ชรา
พออย่างขึ้นกุฏิยิ่งใจหาย ระเบียบหน้าห้องที่หลวงตาเคยนั่งนอนเล่นเป็นนิจสินว่างเปล่าหรุตูห้องกุฏิเปิดแง้มๆไว้
ทั้งหมอเถาและครูก้อนก้าวพรวดขึ้นระเบียง น้ำฝนหยดตามชายเสื้อกางเกงเปียกเป็นทางตามพื้น เณรชั้วค่อยๆเปิดประตูกุฏิแง้มเข้าไป
หลวงตาชื้นนอนลืมตาอยู่บนอาสนะกลางพื้นจนกระทั่งสองศิษย์ก้าวข้ามธรณีเข้ามาจนใกล้และนั่งลง ท่านก็ยังนิ่งพิจารณาเหมือนแปลกใจแต่พอขยับปากจะพูดก็ถูกหมอเถาชิงถามขึ้นก่อนว่า “เป็นอย่างไรบ้างคะรับหลวงตา”
เณรชั้วเข้าไปกอดเท้าหลวงตาไว้ แล้วร้องไห้กระซิกๆทั้งที่โตเกินเด็กไปแล้ว ทำให้หมอเถากับครูก้อนใจเสีย น้ำตาคลอคอหอยตีบตันพูดอะไรไม่ออกไปด้วย ได้แต่ยกมือปาดน้ำตาที่เปียกปนน้ำฝนอยู่บนใบหน้า
“เฮ้ย…มันเกิดอะไรกันว๊ะ” หลวงตาคนป่วยหนักร้องถามเต็มเสียง “อยู่ๆมากอดแข้งกอดขาร้องไห้ร้องห่มยังกับวาข้ากำลังจะตายอยู่เดี๋ยวนี้”
หมอเถาสะอื้นฮัก “เณรชั้วไปบอกว่า หลวงตาตายไปครึ่งตัวแล้ว”
“ปัด…แล้ว” เสียงหลวงตาร้องถอนฉุนเต็มที่ และไม่มีใครสังเกตเห็นว่าเท้าที่ว่าเป้นอัมพาตของหลวงตาวัดผึงออกไปอีท่าไรเสียงดังพั่บ เห็นแต่เณรชั้วที่เกาะเท้าอยู่หัวขมำกลิ้งไม่เป็นท่า
ทั้งหมอเถาและครูก้อนทั้งตกใจและแปลกใจยิ่งขึ้นที่หลวงตาลุกขึ้นนั่ง แม้จะฝืนกิริยาลำบากอยู่บ้างแต่ก็ดูไม่มีริ้วรอยแห่งอาการอาพาธหนักอย่างที่รู้และหลวงตาชี้นิ้วกราดไปตามพื้น
“ดูรึ กุฏิข้าเปียกหมดไปๆเอาผ้าอาบเก่าๆของข้าผลัดนุ่งแล้วเดี๋ยวเข้ามาพูดกัน”
หมอเถาและครูก้อนเห็นกิริยาอาการของหลวงตาไม่เป็นอย่างที่วิตกค่อยสบายใจ ถอยออกไปปนอกกุฏิ ข้างเณรชั้วเดินหลบห่างเท้าหลวงตาตามหลังออกไปด้วย ทั้งเหลียวหน้าเหลียวหลังหวาดๆว่าจะถูกซ้ำเข้าอีก
หมอเถาและครูก้อนออกไปได้สักครู่ก็กลับเข้ามา นุ่งห่มรุ่มร่ามทั้งคู่ คือนุ่งผ้าอาบเก่าๆที่หลวงตาไม่ใช้แล้ว ยังแถมห่มแก้หนาวมาอีกคนละผืน พอย่างเข้ากุฏิ หลวงตาคนป่วยหนักก็หัวเราะหึเมื่อเห็นสารรูปศิษย์แต่งตัว
“บ๊ะ…แต่งเข้าลักษณะชีปะขาวทั้งคู่”
ครูก้อนเข้ามานั่งอยู่ข้างๆหลวงตา ส่วนหมอเถาถือผ้าขั้ริ้วติดมือมาด้วยก็เช้ดน้ำที่เปียกพื้นจนแห้งผาก พอคว้าห่อผ้าที่ตนเตรียมมาจากบ้านวางลืมไว้เมื่อครู่จะวางหลบไป
หลวงตาก็ทักขึ้น “ห่ออะไรน่ะหมอเถา”
หมอเถาอึกอักอยู่สักครู่ “ห่อร่วมยาคะรับ เตรียมๆมาเผื่อฉุกเฉินจะได้ใช้”
“อ้อ นึกว้าเตรียมด้ายตราสังมามัดศพฉันเสียอีก ไหนแก้ดูทีเร๊อะเตรียมหยูกยาอะไรมาบ้าง พ่อหมอจ๋า”
หมอเถาแก้ห่อผ้าขาวม้าหยิบออกมาทีละสิ่งและอธิบายสพรรพคุณ “นี่น้ำมันไพลผสมการะบูนทาแก้ขัดลม ขัดเส้น พวกอัมพรึกษอัมพาตอันนี้ลูกประคบอังไฟนวดให้ลมในเส้นมันเดินเป็นปกติ นี่ยาต้มถ่ายเส้นเอ็นดีนัก ผมเตรียมมาเพราะทราบว่าหลวงตาขาตาย”
“เออช่างรอบคอบดีแท้หมอเถา ขอบใจ” หลวงตายันตัวนั่งให้ถนัด “ไม่ถึงกับป่วยหนักอะไรหรอก เมื่อคืนมันนอนไม่หลับกระทั่งดึกใจคอมันฟุ้งซ่าน คิดแต่เรื่องทุกข์เรื่องสุขของสัตว์โลกผู้มีการมที่มาดูหมดกันมากมายก็เลยหาทางสงบเข้านั่งปฏิบัติอาณาปานสติ กำหนดลมหายใจระงับจิตให้มันหยุดไม่ได้ปฏิบัติมาช้านาน จิตมันพยศเหมือนม้าห่างฝึก เลยนั่งนานมาเกือบค่อนรุ่ง ข้างขาขัดเลือดขัดลม เป็นตะคริว พอหายตะคริวก็หมอเรี่ยวแรงขาไปเลย ประจวบกับง่วงๆก็เลยนอนหลับสักตื่น เรียกเณรมาสั่ง เณรชั้วมันเลยเข้าใจว่าจะสิ้นลมเอาไปเลย”
หมอเถาฟังอาการแล้วไม่หนักใจ “หลวงตาอายุมากแล้วเลือดลมมันเดินตามเส้นไม่ถนัดนวดเปิดลมสักหน่อยก็คงจะพอทุเลาคะรับ”
“ก็นั่นน่ะซี ถึงสั่งเณรชั้วไปตามมา ก็จะให้นวดนี่แหละ แล้วเช้านี้มันเหงาๆว่างๆอยู่ก็อยากคุยกัน
ครูก้อนบ่น “เณรชั้วบอกข่าวทำเอาหัวใจแทบหยุดเต้น ผมน่ะวิ่งตามฝนมาน้ำตาไหลมาตลอดทางใจมันหายบอกไม่ถูก”
หมอเถาคลานเข้าจับลูบคลำขาหลวงตา กดตามประตูลมประตูเลือดตามความรู้ที่เล่าเรียนมา ทั้งกดเส้นคลายเส้นครบกระบวนการนวดทุกสถาน หลวงตาสูดปากร้อยโอย สลับกับออกปากชมว่ามันร้อนวูบวาบสบายดีแท้ๆ
สองศิษย์อาจารย์นวดไปคุยกันไปหลายเรื่องหลายราวทั่งเรื่องวัดเรื่องบ้านลงท้ายก็หวลกลับมาพูดถึงเรื่องโหราศาสตร์ ครูก้อนปรารภว่า “ครูสมศักดิ์แกรู้ข่าวเรื่องสามีแม่จำรัสถูกรถยนต์ชนตาย แกเสียใจมากและยกย่องหลวงตาไม่ขาดปากว่าดูได้ละเอียดถี่ถ้วน อยากจะมามอบตัวเป็นศิษย์ ขอศึกษาเล่าเรียนด้วยขอรับ”
หลวงตานิ่งขรึม ฟังอยู่ครู่หนึ่ง “อันความนั้นอาตมาไม่หวงแหนหรอก แต่การเป็นศิษย์อาจารย์กันต้องสังเสวนากันไปนานๆสักหน่อย เพื่อเรียนรู้นิสัยซึ่งกันและกัน ศิษย์ก็จะได้รู้น้ำใจอาจารย์และอาจารย์ก็จะได้เรียนรู้นิสัยศิษย์ว่าจะไปกันได้ตลอดหรือไม่ จู่ๆเข้ามาเป็นศิษย์อาจารย์กัน ไปวันข้างหน้าเกิดขัดใจกัน อาจารย์นินทาศิษย์ ศิษย์นินทาอาจารย์เสื่อมเสียด้วยกันทั้งคู่”
“อันที่จริง ครูสมศักดิ์แกก็เป็นคนดี ผมรู้จักแกมาหลายปีแล้ว” ครูก้อนพยายามสนับสนุน
“เออ อ้ายคนดีนี่แหละสำคัญนักละ เพราะต่างคนต่างถือดีคบกันไม่ยืดก็มี ต่างคนไม่ยอมให้ใครดีกว่ามันก็คบกันไม่ยืดอีก มันเรื่องของคนดีๆมีความดีทั้งนั้น”
หมอเถาเห็นด้วยกับคติของหลวงตา “จริงครับ คนดี ถ้าอวดดีและถือดี ก็จะกลายเป็นคนไม่ดีไป”
ครูก้อนเห็นท่าไม่ดีก็เปลี่ยนเรื่องสนทนา “พูดถึงการเล่าเรียนโหราศาสตร์ ขณะนี้ไม่ว่าพ่อค้า ข้าราชการ ผู้ลากมากดี ต่างสนใจเรียนรู้กันมาก แต่เรียนๆไปมักไปท้อถอยเสียครึ่งๆกลางๆไม่ทันได้ผลกันเสียเป็นส่วนมากไม่ทราบว่าเพราะเหตุใด ร้อยคนจะได้ผลสักคนก็ทั้งยาก”
หลวงตาชื้นนิ่งตรึกตรองพูดช้าๆเหมือนพูดไปคิดไป การเล่าเรียนโหราศาสตร์ทุกวันนี้ มีอยู่หลายแบบหลายอย่างไม่เหมือนแบบอย่างเก่าๆเขา คนสมัยใหม่นี้เขาเล่าเรียนกันโดยซื้อหาหนังสือตำรับตำรามาเล่าเรียนเอาเองก็มาก ส่วนใหญ่จะรู้แต่เนื้อหา หลักเกณฑ์ภาคต้นๆอันเป็นพื้นฐานของโหราศาสตร์เท่านนั้น ส่วนความรู้ภาคสมบูรณ์คือ การพยากรณ์โดยเฉพาะพยากรณ์จร อันเป็นตอนสำคัญแทบจะไม่มีโอกาส แม้ตำรับตำราก็แทบจะไม่มีพิมพ์ขาย แบบโบราณแท้ๆเขาต้องเรียนกันแบบ “มุขปาฐะ”คือ เรียนกันต่อหน้าต่อตาทั้งศิษย์และอาจารย์จึงจะเรียนรู้ได้จริงๆเพราะ การสอนแบบนี้เขาเรียก “ฝึกสอน” คือ สอนทั้งเกณฑ์และฝึกการใช้กฎเกณฑ์ไปพร้อมกัน บางครูอาจารย์ไม่ยอมให้จดเสียซ้ำให้จำเอาแต่อย่างเดียว เพราะกลัวว่าความรู้ที่สอนมันไปอยู่ในสมุดหมด”
หมอเถาฟังเพลินตั้งหน้าตั้งตากดเอาๆแรงจนหลวงตาร้องโอยจึงได้สติขออภัย
หลวงตาอธิบายต่อ “อันว่าดาวมันก็มีอยู่เพียง 10 ดวง เรือนราศีมันก็มีอยู่เพียง 12 เรือน แต่เรื่องราวของมนุษย์มันยุ่งยากซับซ้อนร้อยแปดพันประการ การจะพยากรณ์เขาได้ถูกต้องแนบเนียน เขียนเป็นตำรับตำราก็ต้องเขียนพิมพ์กันสูงท่วมหัว ส่วนการเรียนจากปากอาจารย์ย่อมจะทำได้ดีกว่า เมื่อศิษย์ไม่เข้าใจตอนใด อาจารย์ก็จะขยายความทั้งอุปมาอุปมัย อาถาธิบายจนรู้ได้แจ้งชัด สุภาษิตจีนเขาว่า “อ่านตำรา 10 เล่ม ยังไม่เท่ากับสนทนากับผู้รู้เพียงท่านเดียว”
“จริงทีเดียวคะรับ” หมอเถาคอสองหลวงตา ผสมโรงชักตัวอย่าง “ตำรับตำราโหราศาสตร์เมื่อแรกๆก็ต่างคนต่างลอกเลียนคัมภีร์ของเก่ามาขายกัน แต่ต่อๆมาบัดนี้ตำรับตำราต่างลอกกันเอง จนไม่รู้ว่าใครลอกใครอ่านแล้ว วนเวียน เหมือนเดินอยู่ในเขาวงกฎ”
หลวงตาจุปากห้าม “อย่าไปตำหนิเขาหมอเถา จะกลายเป็นลบหลู่ผู้อื่นไม่ดี ตำราย่อมเป็นได้แต่เพียงแค่ตำรา คือสอนให้คนรู้ได้แต่ไม่อาจสอนให้คนสามารถได้”
“ถ้าเช่นนั้น จะเรียนความสามารถได้จากอะไรเล่าขอรับ” ครูก้อนรีบซักเพราะอยากรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตน
“ก็วิธีที่อาตมาสอนครูก้อนกะหมอเถาต่อหน้าต่อตาแบบเก่าๆเขานั่นแหละ แต่อาจารย์ที่สอนให้สามารถดีที่สุดก็คือการฝึกฝนของตนเองนั่นแหละ หมั่นดูดวงของจริงพยากรณ์ของจริงให้มาก จะเกิดความรู้ความชำนาญ เมื่อนั้นเหละความรู้ความชำนาญจากของจริงๆจะสอนให้เรารู้ว่ากฎเกณฑ์ตามตำราข้อใดควรละเสีย กฎเกณฑ์ข้อใดควรยึดมั่นไว้ ตราบใดยังมัวขัดมั่นกฎเกณฑ์ตามตำราเอาไว้มากมายเป็นบ้าหอบฟางจะทายเขาไม่ออก”
“เขาว่ากันว่า คนจะเรียนโหราศาสตร์ได้ดีต้องมีดวงชะตาให้ผลอยู่ด้วย ข้อนี้เป็นความจริงไม๊ขอรับ”
“ว๊ะ วันนี้ครูก้อนช่างซักจริง” หลวงตาชื้นหัวเราะชอบใจ “ไม่ต้องไปดูดวงชะตาซึ่งเป็นของดูยาก ดูมันของง่ายๆทางธรรมแหละรู้ชัดๆ ดีกว่า คนที่จะเรียนรู้สิ่งใดๆถ้าขาดอิทธิบาท 4 เรียนอะไรก็ไม่สำเร็จทั้งนั้น
ข้อ 1 ก็คือ ฉันทะ คือมีความพอใจตั้งใจจริงในปฏิปทาที่ตนเล่าเรียนสม่ำเสมอ
ข้อ 2 ก็คือ วิริยะ มีความพากเพียรพยายามไม่ท้อถอย
ข้อ 3 คือ จิตตะ สนใจเอาใจใส่ทุ่มเทจิตใจในสิ่งนั้นเป็นเนืองนิจ
ข้อ 4 คือ วิมังสา การใคร่ครวญพิจารณาในข้อวัตรนั้นๆให้รู้เหตุรู้ผลเห็นแจ้ง
กฎสี่ข้อนี้ท่านเรียก “อิทธิบาท” แปลว่า “เข้าถึงความสำเร็จ”
เณรชั้วยกปั้นน้ำชาเข้ามาดูท่ายังหวาดลูกดีดเมื่อเช้า พยายามเลี่ยงปลายเท้าหลวงตาเข้ามาข้างๆ คุกเข่าประเคน หลวงตารับมารินดื่มแก้คอแห้งถึงสองถ้วยซ้อน และนิ่งนึกอยู่พักหนึ่ง
“มีเรื่องเกี่ยวกับอานุภาพแห่งอิทธิบาท 4 อยู่เรื่องหนึ่งเป็นเรื่องจริงมีตัวมีตนอยู่ คนเก่าๆท่านเล่าสูกันฟังว่าในสมัยพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 มีครูดนตรีอยู่ท่านหนึ่งมีฝีมือเป็นเอกอยู่ในกรุงมีลูกศิษย์ลูกหามาฝากตัวเป็นอันมาก แม้แต่จ้าวนายในราชนิกูล ครูดนตรีท่านมีบุตรชายอยู่คนหนึ่งเป็นคนมีกรรม จักษุทั้งสองข้างบอดสนิทอายุเพิ่งจะย่าง 10 ขวบเศษ เพลาศิษย์มาเรียนต่อเพลงซ้อมเพลงท่านก็ไล่ลูกชายให้ลงมาเล่นใต้ถุนเรือนเสียเสมอทุกครั้ง เป็นเช่นนี้ตลอดมาหลายปี กระทั่งอยู่มาคราวหนึ่งเป็นวันไหว้ครูซึ่งจะเป็นวันครอบครูแก่ศิษย์ผู้จบการเรียนแล้ว คอนนั้นยังเช้าอยู่บนเรือนว่างผู้คนมีแต่เครื่องดนตรีวางจัดไว้รับพิธี ตัวท่านครูดนตรีลงมาดูการงานอยู่ในโรงครัวหลังบ้าน
เหมือนเกิดอัศจรรย์ เสียงฆ้องวงบนเรือนลั่นบันลือบรรเลงเป็นเพลงกระหึ่มท่วงทำนองไพเราะเพราะนักหนา ได้ยินกันทั่วบริเวณบ้าน ท่านครูได้ยินถนัด ขนลุกซู่ตัวชา จะฟังเป็นผีมือศิษย์เอกคนใดคนหนึ่งที่สอนไว้ก็ผิดที เพราะมองไม่เห็นตัวว่าจะมีใครสามารถมีฝีมือถึงขั้นนี้จะว่าเป็นผู้อื่นก็มิใช่เพราะทางเล่นเป็นทางเดียวของท่าน ครูที่สอนศิษย์ไว้ทั้งนั้น สำเนียงฆ้องวงนั้น ทั้งตีกดตีเปิดเสียงทุ้ม กังวาลชัดทุกไม้ ทั้งลูกล้อลูกขัดพริ้วพราวครบเครื่อง จะมีคนฝีมือถึงเช่นนี้ได้ก็คือตัวท่านครูคนเดียวเท่านั้น”
ท่านครูก้าวแทบจะวิ่งขึ้นเรือน พอล่วงเข้าประตูเรือน ก็เห็นผู้บรรเลงนั่งองอาจอยู่กลางวงฆ้อง แทบไม่เชื่อสายตาตัวเองเหมือนถูกผีหลอก ท่านสงบใจฟังจนเพลงจบท่อน ก็ถลาเข้ากอดหนุ่มผู้บรรเลงไว้แน่นเรียกได้คำเดียวว่า “ลูกพ่อ” จูบแก้มซ้ายขวาจนน้ำตาความตื้นตันเปื้อนสองแก้มเจ้าหนุ่มลูกชาย ผู้ตาบอดทั้งสองข้างนั้นเอง
ครั้นซักไซร้ไล่เลียงเอาความ ลูกชายก็เล่าว่าทุกครั้งที่พ่อไล่ลงมาเล่นใต้ถุนบ้าน ก็ไม่รู้จะเล่นอะไรเพราะตามองอะไรไม่เห็น ได้แต่นั่งฟังเสียงพ่อต่อเพลงสองศิษย์อยู่บนเรือนทุกวันเป็นเดือนเป็นปี จนจดจำทำนองขึ้นใจ เมื่อรำคาญอยู่เฉยๆ จึงไปเก็บกะลามะพร้าวมาวางแทนลูกฆ้อง ขณะพ่อสอนไปก็ตีตามไปทุกวัน ปีแล้วปีเล่าจนแม่นยำขึ้นใจ ตกตอนกลางคืนพ่อหลับแล้วก็คลานออกมาแอบเข้าวงฆ้องเอามือจับต้องใช้นิ้วเคาะเบาๆ ซ้อมเพลง จนแคล่วคล่องชำนาญไม่ติดขัด จนแทบจะมองเห็นลูกฆ้องทุกลูก มาวันนี้เป็นวันไหว้ครูจึงแสดงฝีมือหวังให้พ่อครอบให้เช่นศิษย์อื่นๆ เขาบ้าง
บุตรชายตาบอดของท่านครูผู้นี้ชื่อทั่ว ต่อมาเป็นนักดนตรีผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือทั่วกรุงสยาม ได้ตำแหน่งในกรมมหรสพหลวงเป็นจางวางทั่ว และมีลูกศิษย์ลูกหาเต็มเมืองเช่นเดียวกับท่านครูผู้พ่อ ดูเหมือนชีวิตท่านจะอยู่มาจนกระทั่งสงครามญี่ปุ่นแต่ชื่อเสียงท่านยังกึกก้องมาจนทุกวันนี้
หมอเถาหยุดนวดไปเมื่อไร ทั้งผู้นวดและเจ้าของขาก็ไม่รู้สึก ส่วนครูก้อนนั่งนิ่งมองปากผู้เล่า มีความรู้สึกซาบชึ้งต่ออานุภาพแห่งอิทธิบาท 4 ตามเรื่องจริงที่หลวงตาเล่า
หมอเถาได้ฟังเรื่องเก่าๆ ที่น่าตื่นใจ ก็กระหายจะฟังอีก จึงยิ้มประจบ “ผมอยากฟังเรื่องทำนองนี้อีกคะรับหลวงตา ได้ทั้งความรู้และสาระประโยชน์
“เออ พอกันทีว่ะ” หลวงตาหัวร่อรู้ทันความคิดศิษย์ “อีตอนแรกน่ะเป็นตะคริวขาอีตอนนี้แหละจะเป็นตะคริวปากแทน”
ขอบคุณที่มา : https://www.horawej.com/
----------------------------------------
ย่างเข้าเดือน 6 ข้างแรม ฝนต้นฤดูตกรำมาแต่เช้ามือเรื่อยมากระทั่งเช้ายิ่งกลับลงหนาเม็ดขึ้นทุกที หมอเถาถูกตบประตูปลุกจากที่นอนขณะกำลังหลับสบายสุขารมย์ ผู้ปลุกคือเณรชั้ว และครูก้อนซึ่งตากฝนมาเปียกโชกทั้งคู่เณรชั้วเป้นคนรายงานที่รต้องกรำฝนมาตามครูก้อนและหมอเถาแต่เช้า เพราะหลวงตาไม่สบายมากสั่งให้มาตามด่วน ครั้นซักไซร้ไล่เลียงอาการป่วยของหลวงตา เณรก็บอกว่า “หลวงตานอนแบบลุกไม่ได้ ขาทั้งสองข้างเป็นอัมพาต ตายไปครึ่งตัวแล้ว”
หมอเถาตระหนกตกใจสุดขีดในชีวิต หวลกลับเข้าห้องครู่เดียวก็หอบห่อผ้าขาวม้าห่อใหญ่จูงมือเณรชั้วฝ่าฝนแทบจะวิ่งและครูก้อนตามหลังติดมุ่งมาวัด แม้สายฝนเช้าจะชะโลมลูบหน้าตลอดกายจนเปียกโชกหนาวเย็น ทั้งหมอเถา ครูก้อนและเณรชั้ว ก็มิรู้สึกเพราะในหัวใจกำลังร้อนระอุด้วยความทุกข์และห่องใยในอาการป่วยของหลวงตาผู้ชรา
พออย่างขึ้นกุฏิยิ่งใจหาย ระเบียบหน้าห้องที่หลวงตาเคยนั่งนอนเล่นเป็นนิจสินว่างเปล่าหรุตูห้องกุฏิเปิดแง้มๆไว้
ทั้งหมอเถาและครูก้อนก้าวพรวดขึ้นระเบียง น้ำฝนหยดตามชายเสื้อกางเกงเปียกเป็นทางตามพื้น เณรชั้วค่อยๆเปิดประตูกุฏิแง้มเข้าไป
หลวงตาชื้นนอนลืมตาอยู่บนอาสนะกลางพื้นจนกระทั่งสองศิษย์ก้าวข้ามธรณีเข้ามาจนใกล้และนั่งลง ท่านก็ยังนิ่งพิจารณาเหมือนแปลกใจแต่พอขยับปากจะพูดก็ถูกหมอเถาชิงถามขึ้นก่อนว่า “เป็นอย่างไรบ้างคะรับหลวงตา”
เณรชั้วเข้าไปกอดเท้าหลวงตาไว้ แล้วร้องไห้กระซิกๆทั้งที่โตเกินเด็กไปแล้ว ทำให้หมอเถากับครูก้อนใจเสีย น้ำตาคลอคอหอยตีบตันพูดอะไรไม่ออกไปด้วย ได้แต่ยกมือปาดน้ำตาที่เปียกปนน้ำฝนอยู่บนใบหน้า
“เฮ้ย…มันเกิดอะไรกันว๊ะ” หลวงตาคนป่วยหนักร้องถามเต็มเสียง “อยู่ๆมากอดแข้งกอดขาร้องไห้ร้องห่มยังกับวาข้ากำลังจะตายอยู่เดี๋ยวนี้”
หมอเถาสะอื้นฮัก “เณรชั้วไปบอกว่า หลวงตาตายไปครึ่งตัวแล้ว”
“ปัด…แล้ว” เสียงหลวงตาร้องถอนฉุนเต็มที่ และไม่มีใครสังเกตเห็นว่าเท้าที่ว่าเป้นอัมพาตของหลวงตาวัดผึงออกไปอีท่าไรเสียงดังพั่บ เห็นแต่เณรชั้วที่เกาะเท้าอยู่หัวขมำกลิ้งไม่เป็นท่า
ทั้งหมอเถาและครูก้อนทั้งตกใจและแปลกใจยิ่งขึ้นที่หลวงตาลุกขึ้นนั่ง แม้จะฝืนกิริยาลำบากอยู่บ้างแต่ก็ดูไม่มีริ้วรอยแห่งอาการอาพาธหนักอย่างที่รู้และหลวงตาชี้นิ้วกราดไปตามพื้น
“ดูรึ กุฏิข้าเปียกหมดไปๆเอาผ้าอาบเก่าๆของข้าผลัดนุ่งแล้วเดี๋ยวเข้ามาพูดกัน”
หมอเถาและครูก้อนเห็นกิริยาอาการของหลวงตาไม่เป็นอย่างที่วิตกค่อยสบายใจ ถอยออกไปปนอกกุฏิ ข้างเณรชั้วเดินหลบห่างเท้าหลวงตาตามหลังออกไปด้วย ทั้งเหลียวหน้าเหลียวหลังหวาดๆว่าจะถูกซ้ำเข้าอีก
หมอเถาและครูก้อนออกไปได้สักครู่ก็กลับเข้ามา นุ่งห่มรุ่มร่ามทั้งคู่ คือนุ่งผ้าอาบเก่าๆที่หลวงตาไม่ใช้แล้ว ยังแถมห่มแก้หนาวมาอีกคนละผืน พอย่างเข้ากุฏิ หลวงตาคนป่วยหนักก็หัวเราะหึเมื่อเห็นสารรูปศิษย์แต่งตัว
“บ๊ะ…แต่งเข้าลักษณะชีปะขาวทั้งคู่”
ครูก้อนเข้ามานั่งอยู่ข้างๆหลวงตา ส่วนหมอเถาถือผ้าขั้ริ้วติดมือมาด้วยก็เช้ดน้ำที่เปียกพื้นจนแห้งผาก พอคว้าห่อผ้าที่ตนเตรียมมาจากบ้านวางลืมไว้เมื่อครู่จะวางหลบไป
หลวงตาก็ทักขึ้น “ห่ออะไรน่ะหมอเถา”
หมอเถาอึกอักอยู่สักครู่ “ห่อร่วมยาคะรับ เตรียมๆมาเผื่อฉุกเฉินจะได้ใช้”
“อ้อ นึกว้าเตรียมด้ายตราสังมามัดศพฉันเสียอีก ไหนแก้ดูทีเร๊อะเตรียมหยูกยาอะไรมาบ้าง พ่อหมอจ๋า”
หมอเถาแก้ห่อผ้าขาวม้าหยิบออกมาทีละสิ่งและอธิบายสพรรพคุณ “นี่น้ำมันไพลผสมการะบูนทาแก้ขัดลม ขัดเส้น พวกอัมพรึกษอัมพาตอันนี้ลูกประคบอังไฟนวดให้ลมในเส้นมันเดินเป็นปกติ นี่ยาต้มถ่ายเส้นเอ็นดีนัก ผมเตรียมมาเพราะทราบว่าหลวงตาขาตาย”
“เออช่างรอบคอบดีแท้หมอเถา ขอบใจ” หลวงตายันตัวนั่งให้ถนัด “ไม่ถึงกับป่วยหนักอะไรหรอก เมื่อคืนมันนอนไม่หลับกระทั่งดึกใจคอมันฟุ้งซ่าน คิดแต่เรื่องทุกข์เรื่องสุขของสัตว์โลกผู้มีการมที่มาดูหมดกันมากมายก็เลยหาทางสงบเข้านั่งปฏิบัติอาณาปานสติ กำหนดลมหายใจระงับจิตให้มันหยุดไม่ได้ปฏิบัติมาช้านาน จิตมันพยศเหมือนม้าห่างฝึก เลยนั่งนานมาเกือบค่อนรุ่ง ข้างขาขัดเลือดขัดลม เป็นตะคริว พอหายตะคริวก็หมอเรี่ยวแรงขาไปเลย ประจวบกับง่วงๆก็เลยนอนหลับสักตื่น เรียกเณรมาสั่ง เณรชั้วมันเลยเข้าใจว่าจะสิ้นลมเอาไปเลย”
หมอเถาฟังอาการแล้วไม่หนักใจ “หลวงตาอายุมากแล้วเลือดลมมันเดินตามเส้นไม่ถนัดนวดเปิดลมสักหน่อยก็คงจะพอทุเลาคะรับ”
“ก็นั่นน่ะซี ถึงสั่งเณรชั้วไปตามมา ก็จะให้นวดนี่แหละ แล้วเช้านี้มันเหงาๆว่างๆอยู่ก็อยากคุยกัน
ครูก้อนบ่น “เณรชั้วบอกข่าวทำเอาหัวใจแทบหยุดเต้น ผมน่ะวิ่งตามฝนมาน้ำตาไหลมาตลอดทางใจมันหายบอกไม่ถูก”
หมอเถาคลานเข้าจับลูบคลำขาหลวงตา กดตามประตูลมประตูเลือดตามความรู้ที่เล่าเรียนมา ทั้งกดเส้นคลายเส้นครบกระบวนการนวดทุกสถาน หลวงตาสูดปากร้อยโอย สลับกับออกปากชมว่ามันร้อนวูบวาบสบายดีแท้ๆ
สองศิษย์อาจารย์นวดไปคุยกันไปหลายเรื่องหลายราวทั่งเรื่องวัดเรื่องบ้านลงท้ายก็หวลกลับมาพูดถึงเรื่องโหราศาสตร์ ครูก้อนปรารภว่า “ครูสมศักดิ์แกรู้ข่าวเรื่องสามีแม่จำรัสถูกรถยนต์ชนตาย แกเสียใจมากและยกย่องหลวงตาไม่ขาดปากว่าดูได้ละเอียดถี่ถ้วน อยากจะมามอบตัวเป็นศิษย์ ขอศึกษาเล่าเรียนด้วยขอรับ”
หลวงตานิ่งขรึม ฟังอยู่ครู่หนึ่ง “อันความนั้นอาตมาไม่หวงแหนหรอก แต่การเป็นศิษย์อาจารย์กันต้องสังเสวนากันไปนานๆสักหน่อย เพื่อเรียนรู้นิสัยซึ่งกันและกัน ศิษย์ก็จะได้รู้น้ำใจอาจารย์และอาจารย์ก็จะได้เรียนรู้นิสัยศิษย์ว่าจะไปกันได้ตลอดหรือไม่ จู่ๆเข้ามาเป็นศิษย์อาจารย์กัน ไปวันข้างหน้าเกิดขัดใจกัน อาจารย์นินทาศิษย์ ศิษย์นินทาอาจารย์เสื่อมเสียด้วยกันทั้งคู่”
“อันที่จริง ครูสมศักดิ์แกก็เป็นคนดี ผมรู้จักแกมาหลายปีแล้ว” ครูก้อนพยายามสนับสนุน
“เออ อ้ายคนดีนี่แหละสำคัญนักละ เพราะต่างคนต่างถือดีคบกันไม่ยืดก็มี ต่างคนไม่ยอมให้ใครดีกว่ามันก็คบกันไม่ยืดอีก มันเรื่องของคนดีๆมีความดีทั้งนั้น”
หมอเถาเห็นด้วยกับคติของหลวงตา “จริงครับ คนดี ถ้าอวดดีและถือดี ก็จะกลายเป็นคนไม่ดีไป”
ครูก้อนเห็นท่าไม่ดีก็เปลี่ยนเรื่องสนทนา “พูดถึงการเล่าเรียนโหราศาสตร์ ขณะนี้ไม่ว่าพ่อค้า ข้าราชการ ผู้ลากมากดี ต่างสนใจเรียนรู้กันมาก แต่เรียนๆไปมักไปท้อถอยเสียครึ่งๆกลางๆไม่ทันได้ผลกันเสียเป็นส่วนมากไม่ทราบว่าเพราะเหตุใด ร้อยคนจะได้ผลสักคนก็ทั้งยาก”
หลวงตาชื้นนิ่งตรึกตรองพูดช้าๆเหมือนพูดไปคิดไป การเล่าเรียนโหราศาสตร์ทุกวันนี้ มีอยู่หลายแบบหลายอย่างไม่เหมือนแบบอย่างเก่าๆเขา คนสมัยใหม่นี้เขาเล่าเรียนกันโดยซื้อหาหนังสือตำรับตำรามาเล่าเรียนเอาเองก็มาก ส่วนใหญ่จะรู้แต่เนื้อหา หลักเกณฑ์ภาคต้นๆอันเป็นพื้นฐานของโหราศาสตร์เท่านนั้น ส่วนความรู้ภาคสมบูรณ์คือ การพยากรณ์โดยเฉพาะพยากรณ์จร อันเป็นตอนสำคัญแทบจะไม่มีโอกาส แม้ตำรับตำราก็แทบจะไม่มีพิมพ์ขาย แบบโบราณแท้ๆเขาต้องเรียนกันแบบ “มุขปาฐะ”คือ เรียนกันต่อหน้าต่อตาทั้งศิษย์และอาจารย์จึงจะเรียนรู้ได้จริงๆเพราะ การสอนแบบนี้เขาเรียก “ฝึกสอน” คือ สอนทั้งเกณฑ์และฝึกการใช้กฎเกณฑ์ไปพร้อมกัน บางครูอาจารย์ไม่ยอมให้จดเสียซ้ำให้จำเอาแต่อย่างเดียว เพราะกลัวว่าความรู้ที่สอนมันไปอยู่ในสมุดหมด”
หมอเถาฟังเพลินตั้งหน้าตั้งตากดเอาๆแรงจนหลวงตาร้องโอยจึงได้สติขออภัย
หลวงตาอธิบายต่อ “อันว่าดาวมันก็มีอยู่เพียง 10 ดวง เรือนราศีมันก็มีอยู่เพียง 12 เรือน แต่เรื่องราวของมนุษย์มันยุ่งยากซับซ้อนร้อยแปดพันประการ การจะพยากรณ์เขาได้ถูกต้องแนบเนียน เขียนเป็นตำรับตำราก็ต้องเขียนพิมพ์กันสูงท่วมหัว ส่วนการเรียนจากปากอาจารย์ย่อมจะทำได้ดีกว่า เมื่อศิษย์ไม่เข้าใจตอนใด อาจารย์ก็จะขยายความทั้งอุปมาอุปมัย อาถาธิบายจนรู้ได้แจ้งชัด สุภาษิตจีนเขาว่า “อ่านตำรา 10 เล่ม ยังไม่เท่ากับสนทนากับผู้รู้เพียงท่านเดียว”
“จริงทีเดียวคะรับ” หมอเถาคอสองหลวงตา ผสมโรงชักตัวอย่าง “ตำรับตำราโหราศาสตร์เมื่อแรกๆก็ต่างคนต่างลอกเลียนคัมภีร์ของเก่ามาขายกัน แต่ต่อๆมาบัดนี้ตำรับตำราต่างลอกกันเอง จนไม่รู้ว่าใครลอกใครอ่านแล้ว วนเวียน เหมือนเดินอยู่ในเขาวงกฎ”
หลวงตาจุปากห้าม “อย่าไปตำหนิเขาหมอเถา จะกลายเป็นลบหลู่ผู้อื่นไม่ดี ตำราย่อมเป็นได้แต่เพียงแค่ตำรา คือสอนให้คนรู้ได้แต่ไม่อาจสอนให้คนสามารถได้”
“ถ้าเช่นนั้น จะเรียนความสามารถได้จากอะไรเล่าขอรับ” ครูก้อนรีบซักเพราะอยากรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตน
“ก็วิธีที่อาตมาสอนครูก้อนกะหมอเถาต่อหน้าต่อตาแบบเก่าๆเขานั่นแหละ แต่อาจารย์ที่สอนให้สามารถดีที่สุดก็คือการฝึกฝนของตนเองนั่นแหละ หมั่นดูดวงของจริงพยากรณ์ของจริงให้มาก จะเกิดความรู้ความชำนาญ เมื่อนั้นเหละความรู้ความชำนาญจากของจริงๆจะสอนให้เรารู้ว่ากฎเกณฑ์ตามตำราข้อใดควรละเสีย กฎเกณฑ์ข้อใดควรยึดมั่นไว้ ตราบใดยังมัวขัดมั่นกฎเกณฑ์ตามตำราเอาไว้มากมายเป็นบ้าหอบฟางจะทายเขาไม่ออก”
“เขาว่ากันว่า คนจะเรียนโหราศาสตร์ได้ดีต้องมีดวงชะตาให้ผลอยู่ด้วย ข้อนี้เป็นความจริงไม๊ขอรับ”
“ว๊ะ วันนี้ครูก้อนช่างซักจริง” หลวงตาชื้นหัวเราะชอบใจ “ไม่ต้องไปดูดวงชะตาซึ่งเป็นของดูยาก ดูมันของง่ายๆทางธรรมแหละรู้ชัดๆ ดีกว่า คนที่จะเรียนรู้สิ่งใดๆถ้าขาดอิทธิบาท 4 เรียนอะไรก็ไม่สำเร็จทั้งนั้น
ข้อ 1 ก็คือ ฉันทะ คือมีความพอใจตั้งใจจริงในปฏิปทาที่ตนเล่าเรียนสม่ำเสมอ
ข้อ 2 ก็คือ วิริยะ มีความพากเพียรพยายามไม่ท้อถอย
ข้อ 3 คือ จิตตะ สนใจเอาใจใส่ทุ่มเทจิตใจในสิ่งนั้นเป็นเนืองนิจ
ข้อ 4 คือ วิมังสา การใคร่ครวญพิจารณาในข้อวัตรนั้นๆให้รู้เหตุรู้ผลเห็นแจ้ง
กฎสี่ข้อนี้ท่านเรียก “อิทธิบาท” แปลว่า “เข้าถึงความสำเร็จ”
เณรชั้วยกปั้นน้ำชาเข้ามาดูท่ายังหวาดลูกดีดเมื่อเช้า พยายามเลี่ยงปลายเท้าหลวงตาเข้ามาข้างๆ คุกเข่าประเคน หลวงตารับมารินดื่มแก้คอแห้งถึงสองถ้วยซ้อน และนิ่งนึกอยู่พักหนึ่ง
“มีเรื่องเกี่ยวกับอานุภาพแห่งอิทธิบาท 4 อยู่เรื่องหนึ่งเป็นเรื่องจริงมีตัวมีตนอยู่ คนเก่าๆท่านเล่าสูกันฟังว่าในสมัยพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 มีครูดนตรีอยู่ท่านหนึ่งมีฝีมือเป็นเอกอยู่ในกรุงมีลูกศิษย์ลูกหามาฝากตัวเป็นอันมาก แม้แต่จ้าวนายในราชนิกูล ครูดนตรีท่านมีบุตรชายอยู่คนหนึ่งเป็นคนมีกรรม จักษุทั้งสองข้างบอดสนิทอายุเพิ่งจะย่าง 10 ขวบเศษ เพลาศิษย์มาเรียนต่อเพลงซ้อมเพลงท่านก็ไล่ลูกชายให้ลงมาเล่นใต้ถุนเรือนเสียเสมอทุกครั้ง เป็นเช่นนี้ตลอดมาหลายปี กระทั่งอยู่มาคราวหนึ่งเป็นวันไหว้ครูซึ่งจะเป็นวันครอบครูแก่ศิษย์ผู้จบการเรียนแล้ว คอนนั้นยังเช้าอยู่บนเรือนว่างผู้คนมีแต่เครื่องดนตรีวางจัดไว้รับพิธี ตัวท่านครูดนตรีลงมาดูการงานอยู่ในโรงครัวหลังบ้าน
เหมือนเกิดอัศจรรย์ เสียงฆ้องวงบนเรือนลั่นบันลือบรรเลงเป็นเพลงกระหึ่มท่วงทำนองไพเราะเพราะนักหนา ได้ยินกันทั่วบริเวณบ้าน ท่านครูได้ยินถนัด ขนลุกซู่ตัวชา จะฟังเป็นผีมือศิษย์เอกคนใดคนหนึ่งที่สอนไว้ก็ผิดที เพราะมองไม่เห็นตัวว่าจะมีใครสามารถมีฝีมือถึงขั้นนี้จะว่าเป็นผู้อื่นก็มิใช่เพราะทางเล่นเป็นทางเดียวของท่าน ครูที่สอนศิษย์ไว้ทั้งนั้น สำเนียงฆ้องวงนั้น ทั้งตีกดตีเปิดเสียงทุ้ม กังวาลชัดทุกไม้ ทั้งลูกล้อลูกขัดพริ้วพราวครบเครื่อง จะมีคนฝีมือถึงเช่นนี้ได้ก็คือตัวท่านครูคนเดียวเท่านั้น”
ท่านครูก้าวแทบจะวิ่งขึ้นเรือน พอล่วงเข้าประตูเรือน ก็เห็นผู้บรรเลงนั่งองอาจอยู่กลางวงฆ้อง แทบไม่เชื่อสายตาตัวเองเหมือนถูกผีหลอก ท่านสงบใจฟังจนเพลงจบท่อน ก็ถลาเข้ากอดหนุ่มผู้บรรเลงไว้แน่นเรียกได้คำเดียวว่า “ลูกพ่อ” จูบแก้มซ้ายขวาจนน้ำตาความตื้นตันเปื้อนสองแก้มเจ้าหนุ่มลูกชาย ผู้ตาบอดทั้งสองข้างนั้นเอง
ครั้นซักไซร้ไล่เลียงเอาความ ลูกชายก็เล่าว่าทุกครั้งที่พ่อไล่ลงมาเล่นใต้ถุนบ้าน ก็ไม่รู้จะเล่นอะไรเพราะตามองอะไรไม่เห็น ได้แต่นั่งฟังเสียงพ่อต่อเพลงสองศิษย์อยู่บนเรือนทุกวันเป็นเดือนเป็นปี จนจดจำทำนองขึ้นใจ เมื่อรำคาญอยู่เฉยๆ จึงไปเก็บกะลามะพร้าวมาวางแทนลูกฆ้อง ขณะพ่อสอนไปก็ตีตามไปทุกวัน ปีแล้วปีเล่าจนแม่นยำขึ้นใจ ตกตอนกลางคืนพ่อหลับแล้วก็คลานออกมาแอบเข้าวงฆ้องเอามือจับต้องใช้นิ้วเคาะเบาๆ ซ้อมเพลง จนแคล่วคล่องชำนาญไม่ติดขัด จนแทบจะมองเห็นลูกฆ้องทุกลูก มาวันนี้เป็นวันไหว้ครูจึงแสดงฝีมือหวังให้พ่อครอบให้เช่นศิษย์อื่นๆ เขาบ้าง
บุตรชายตาบอดของท่านครูผู้นี้ชื่อทั่ว ต่อมาเป็นนักดนตรีผู้มีชื่อเสียงเลื่องลือทั่วกรุงสยาม ได้ตำแหน่งในกรมมหรสพหลวงเป็นจางวางทั่ว และมีลูกศิษย์ลูกหาเต็มเมืองเช่นเดียวกับท่านครูผู้พ่อ ดูเหมือนชีวิตท่านจะอยู่มาจนกระทั่งสงครามญี่ปุ่นแต่ชื่อเสียงท่านยังกึกก้องมาจนทุกวันนี้
หมอเถาหยุดนวดไปเมื่อไร ทั้งผู้นวดและเจ้าของขาก็ไม่รู้สึก ส่วนครูก้อนนั่งนิ่งมองปากผู้เล่า มีความรู้สึกซาบชึ้งต่ออานุภาพแห่งอิทธิบาท 4 ตามเรื่องจริงที่หลวงตาเล่า
หมอเถาได้ฟังเรื่องเก่าๆ ที่น่าตื่นใจ ก็กระหายจะฟังอีก จึงยิ้มประจบ “ผมอยากฟังเรื่องทำนองนี้อีกคะรับหลวงตา ได้ทั้งความรู้และสาระประโยชน์
“เออ พอกันทีว่ะ” หลวงตาหัวร่อรู้ทันความคิดศิษย์ “อีตอนแรกน่ะเป็นตะคริวขาอีตอนนี้แหละจะเป็นตะคริวปากแทน”
ขอบคุณที่มา : https://www.horawej.com/
----------------------------------------
#By_คุณยายกลิ่นโสม
#อ่านดวงไทยสบายสบายตามสไตล์คุณยายกลิ่นโสม
#ฟรี!!เรียนดูดวงฟรี!!เรียนโหราศาสตร์ไทยฟรีที่บ้านคุณยายกลิ่นโสม
#โหราศาสตร์ไทยเรียนด้วยตนเองฉบับคุณยายกลิ่นโสม ได้ที่ #htthttp://www.baankhunyai.com
------------------------------------
สนใจดูดวงติดต่อ: baankunyai
-
-
ดวงพระ โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ พ้นข้างขึ้นเดือน11ออกพรรษามาแล้วหลายวันจนย่างเข้าเดือน12กฐินหลวง กฐินราษฎร์ ก็ทอดกันทั่วแล้วทุกวัด พระบวชใหม่เมื่อครบพรรษาก็ลาสึกขาบทกลับไปครงเหย้...
-
ดวงสองชั้น โดย อาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ เป็นเวลาโรงเรียนหยุดเทอมครูสมศักดิ์ว่างจากการสอนนักเรียน จึงเปลี่ยนจากหน้าที่ครูกลับเป็นนักเรียน พอกินข้าวเช้าเสร็จก็ชวนศิษย์ร่วมชั้นคือครูก้นและ...
-
ดาวแฝงแสง โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ เช้าวันอาทิตย์เป็นวันว่างครุก้อนและครูสมศักดิ์ จึงพากันทำภัตตาหารมาถวายเพลหลวงตาชื้นผู้เป็นอาจารย์ แม่บ้านครูก้อนถนัดทางทำกับข้าวจึงรับหน้...
-
ดวงชาวเกาะ โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ วันสุดท้ายในกรุงเทพมหานครหลวงตาชื้นและศิษย์เป็นวันว่าง ธุระที่ตั้งใจมาสำเร็จเรียบร้อยแล้ว และตั้งใจว่าวันรุ่งขึ้นก็จะออเดินทางกลับวัดในต่างจัง...
-
ดาวลอย โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ เช้าวันอาทิตย์หมอเถา ครูก้อน ครูสมศักดิ์ ออกจากร้านกาแฟเจ้าโก ต่างคนต่างว่างธุระ จึงสมคบชวนกันมากุฏิหลวงตาหมอเถาออกเดินนำหน้า ครูก้อนเดินกลาง และค...
-
ตนุเศษ โดยอาจารย์อรุญ ลำเพ็ญ เป็นวันพระ ตรงกับวันอาทิตย์หมอเถาและครูก้อนมาถึงกุฏิหลวงตาตั้งแต่เช้า ครูสมศักดิ์ซึ่งมิได้สอนนักเรียนก็พลอยติดตามเป็นเกลอมากับเขาด้วย เพราะเป็นหน้าที่...
-
พระเคราห์ถ่ายเรือน โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ ฝนฤดูมรสุม ฝั่งทะเลตะวันตก ลงเม็ดปรอยๆมาตั้งแต่ตนสายๆพอพ้นเพล ยิ่งตกหนักแน่วเหมือนฟ้ารั่ว หมอเถาและครูก้อน แวะกุฏิหลวงตาตั้งแต่ก่อนเพล ตั้...
-
ฤกษ์งาม-ยามดี โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ พอตกเวลาสายวันอาทิตย์สามศิษย์ซึ่งเป็นหนึ่งหมอกับสองครู อยู่พร้อมหน้ากันบนกุฏิหลวงตาชื้นเช่นเคย เพราะวันอาทิตย์หลวงตาชื้นมักจะมีแขกมาเยี่ยมเยื...
-
ลักคเนย์ โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ วันนักขัตฤกษ์จนสายแดดกล้าร่วม10.00น.ร้านกาแฟเจ้าโกมีลูกค้าคับคั่ง ทุกโต๊ะเต็มร้านเพราะเป็นวันหยุดราชการด้วยนายห้างเจ้าโกเดินเก็บเงินหน้าตายิ้มแย้มเบ...
-
พินทุบาทว์ โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ เช้าวันอาทิตย์ราชการก็หยุดและโรงเรียนก็ไม่ต้องสอนจตึงเป็นอาสวันว่างของครูสมศักดิ์จึงตื่นแต่เช้าชวนครูก้อนซึ่งบ้านอยุ่ห่านกันเพียง3หลังคาเรือน ออก...
-
ดาวบุพกรรมโดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ งานทำบุญบ้านนายอำเภอซึ่งเป็นปกติของผู้มีอำนาจวาสนาแม้จะไม่มีการ์ดบอกกล่าวเชิญแต่พอตกบ่ายแดดร่มลมตก แขกเรื่อก็มากันเองมากมาย บ้านที่อยู่เป็นบ้านหลวงเ...
-
บุษบามีคู่โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ จังหวัดที่ผมอยู่เป็นจังหวัดเล็กๆริมทางผ่านของถนนสายใหญ่เป็นเมืองชนบทที่มีธรรมชาติและผู้คนสงบ ครั้งหนึ่งโหราศาสตร์เคยรุ่งโรจน์ ณ ที่นี้ และท...
-
ยามอัฎฐกาล โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ วันนี้ ครูก้อนไปรับเบี้ยบำนาญ เสร็จแล้วก็แวะมาหาผมตั้งแต่เพลมีส้มสูกลุกไม้ติดมือมาฝากผมห่อใหญ่ตามประสาคนใจนักเลง และอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือ...
-
กฎแห่งกรรมโดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ วันนั้นเป็นวันพระ ขึ้น8ค่ำเดือนยี่อากาศหนาวจัดเช่นทุกๆปี ถึงกระนั้นผมก็ตื่นแต่เช้าใสบาตร์อันเป็นกิจวัตร์ที่ผมทำมาหลายปีดีดักจนเป็นนิสัยบางทีก็หลายอง...
-
ตั้งชื่อเด็กโดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ ย่างเข้าเดือน ๗ มาจนจะเข้าข้างแรม ฝนประจำฤดูการขาดหายไปร่วมเดือน บนท้องฟ้าว่างไม่มีเค้าเมฆเค้าฝนให้เห็น อากาศร้อนอบอ้าวไปทุกหนทุกแห่ง ราวกับฤดูร้...
-
ยามกาลชะตา โดยอาจารย์อรุญ ลำเพ็ญร้านกาแฟเจ้าโกหลังตลาดสด เป็นร้านใหญ่ร้านเดียวในตัวจังหยวัดที่มีขาประจำมากที่สุดตั้งแต่เช้าจดสาย คอกาแฟจะแน่นขนัดทุกวันไม่ขาดและเพราะรสมือกาแฟดีน...
-
ดาวคู่มิตร-คู่ธาตุ โดยอาจารย์อรุญ ลำเพ็ญ วันแรม1ค่ำ11เดือนตั้งแต่ฟ้าสางมาจนกระทั่งเช้าได้อรุณทั่งชาววัดและชาวบ้านคึกคักเป็นพิเศษเพราะเป็นวันออกพรรษา รอบอุโบสถเช้าวันนี้ ชาวบ้านร...
-
ห้ามฤกษ์ โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ ลมหนาวเดือนยี่พัดโกรกทุ่งหนาวเย็นยะเยือกมาตั้งแต่เช้ามืดจนกระทั่งสายตะวันขึ้นนาแปลงใหญ่หลังวัดกลาง เป็นนาธรณีสงฆ์ซึ่งชาวบ้านร่วมแรงร่วมใจ...
-
จับโจร โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ ดวงตะวัน เพิ่งจะด้นขอบฟ้า แม้จะเป็นเดือน11ฤดูฝน แต่เช้าวันนี้ท้องฟ้าปลอดโปร่งแจ่มใส ลมเช้าพัดระรื่นเย็นสบายหลวงตาชื้นกลับจากบิณฑบาตรเดินกลับวัดตามทา...
-
บุพกรรมแห่งดาว โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญเช้าวันนี้ เป็นวันที่หมอเถามีอารมณ์เบิกบานเป็นพิเศษเพราะเมื่อวานโชคดีได้ค่าบูชาครูเพราะรักษาไข้เขาหายเป็นเงินถึง 5 ชั่ง จึงตื่นแต่เช้า ตั้งแ...
-
เรียนโหราศาสตร์ โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ ย่างเข้าเดือน 6 ข้างแรม ฝนต้นฤดูตกรำมาแต่เช้ามือเรื่อยมากระทั่งเช้ายิ่งกลับลงหนาเม็ดขึ้นทุกที หมอเถาถูกตบประตูปลุกจากที่นอนขณะกำลังหลับสบายสุ...
-
ทักษาประสมเรือน โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ เป็นวันพระสิ้นเดือนชาวบ้านร้านตลาดในจังหวัด ทำบุญตักบาตรกันแทบทุกบ้านวันนี้ไม่ว่าพระหรือเณร ภัตตาหารสันบาตรจนปิดฝาบาตรไม่ลงทุกองค์ แม้ฉันเช...
-
จุดคราสในดวงชะตา โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ วันนักขัดตฤกษ์ นักเรียนไม่ต้องไปโรงเรียน ข้าราชการไม่ต้องไปทำงาน ชีวิตชุมชนในจังหวัดเล็กๆจึงดูเหมือนจะพลอยหยุดพักผ่อนในวันนี้ไปด้วยแม้แต่ด...
-
ทักษาสมเด็จ โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ เช้าวันนี้เป็นวันว่างทั้งศิษย์ทั้งอาจารย์จึงชุมนุมกันพร้อมหน้าบนกุฏิหลวงตาชื้น หมอเถา ครูก้อน ครูสมศักดิ์ ครบองค์ การสนทนากันจึงเป็นกันเอง เริ่มเ...
-
๓ ลัคนา โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ การอ่านดวงและอ่านดาวโดยทั่วๆไป แม้จะอ่านความหมายอย่างละเอียดถี่ถ้วยอย่างไร ก็ยังถือว่าขาดความสมบูรณ์แบบที่แท้จริง เพราะยังขาดจุดสำคัญอีกจุดหนึ่ง จุดนี...
-
อ่านดาว โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ ดวงตะวันยังไม่ทันเยี่ยมฟ้าอากาศเช้ามืดขมุกขมัว หมู่ไม้และบ้านเรือนห่างๆออกไป ดูเป็นสีดำมืดไปทุกสารทิศ ทุกบ้านข่องกำลังหลับไหลสุขารมณ์ แต่…อีกบ้านหนึ...
-
ลัคนาจันทร์ โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ เรียน ท่านบรรณาธิการหนังสือพยากรณสารที่นับถือ ผมเป็นสมาชิกพยากรณสารของท่านมานานตั้งแต่ผมยังเป็นนักโหราศาสตร์ สมัครเล่น จนกระทั้งบัดนี...