ลัคนาจันทร์

              
                                     (ยืมภาพเค้ามาประกอบเรื่องเฉยๆ)

ลัคนาจันทร์ โดยอาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ
                           อรุณ ลำเพ็ญ

เรียน ท่านบรรณาธิการหนังสือพยากรณสารที่นับถือ 
  
     ผมเป็นสมาชิกพยากรณสารของท่านมานานตั้งแต่ผมยังเป็นนักโหราศาสตร์ สมัครเล่น จนกระทั้งบัดนี้ผมได้กลายเป็นนักโหราศาสตร์ อาชีพไปแล้ว ก็ได้อาศัยบทความทางวิชาการต่างๆ ในพยากรณสารเป็นเครื่องเพิ่มพูนความรู้โหราสาสตร์ของผมตลอดมา 

     บัดนี้ผมมีปัญหาโหรที่จะขอรบกวนท่านบรณาธิการ เพราะเป็นปัญหาที่เกินสติปัญญาของผม แม้จะได้ลองสอบถามท่านผู้รู้ที่ชอบพอคุ้นเคยอยู่  ก็ไม่อาจให้คำตอบเป็นที่พอใจอย่างกระจ่างแจ้งได้  คือ 

      เรื่อง"การให้ฤกษ์-ห้ามฤกษ์" เขียนโดย อรุณ ลำเพ็ญ ซึ่งลงเป็นประจำในพยากรณ์สารทุกๆเดือนมา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผมมาก  ในการเลือกวันดีหลักวันร้ายให้ผู้ที่มาขอฤกษ์โดยไม่ต้องเสียเวลาค้นเอง ซ฿่งต้องเสียเวลามาก ข้อนี้ที่เป็นปัญหาก็คือ คำพยากรณืเรื่อง"อิทธิพลดาว" ซึ่งบอกถึงเหตุการณ์จะดีจะร้ายในกรณีบางเรื่องนั้น ผมได้นำเอาไปใช้ประโยชน์อยุ่มาก ข้อที่สงสัยก็คือ  คุณอรุณท่านเขียนบอกมุมดาว แสดงว่าในวันนั้นมีลัคนาประจำวัน และประจำราศีอยู่แน่นอนตลอดวัน ต่อวันรุ่งขึ้นจึงเปลี่ยนไป  ผมได้ผลองวางลัคนาธรรมดาที่ใช้ในโหราศาสตร์ไทย ก็ได้ตำแหน่งลัคนาไม่สู้ตรงกันนัก และถ้าเป็นลัคนาที่วางจาก อาทิตยือุทัย พอเวลา เช้า สาย เที่ยง บ่าย เย้น ก็ควรจะเคลื่อนราศีไปตามอันโตนาที แห่งวันนั้น คงจะไม่อยู่ประจำราศีอยู่แห่งเดียวอย่างที่เขียนไว้ ยิ่งคิดก็ยิ่งงงมากขึ้น  จึงจำเป็นต้องเรียนถามเป็นปัญหาโหรามายังท่านและผม เชื่อว่าคงจะมีผู้สงสัย เช่นเดียวกับผมอีกหลายๆท่าน 

     แต่จะอย่างไรก็ตาม ผมขอเรียนว่ามิได้มีจิตเป็นอกุศลว่าที่เขียนไว้นั้นผิดหรือไม่ถูกต้อง เพราะผู้เขียนเป็นนักวิชาการทางโหราศาสตร์ ถึงขั้นคำนวณปฎิทินโหรของสมาคมฯ ผมเรียนถามาเพียงหาความรู้ประดับสติปัญญาเท่านั้น

ขอแสดงความนับถือ
       ป.สัจจญาณ

                                                                      พยากรณสารประจำเดือนเมษายน
เรียน คุณ ป.สัจจญาณ ที่นับถือ 

       บรรณาธิการท่านได้ผ่านจดหมายของคุณมาให้ผมเป็นผู้ตอบ  เพราะผมเป็นผู้เขียนให้ฤกษ์-ห้ามกฤษ์ ซึ่งผมรู้สึกยินดีที่มีผู้สนใจถามมา เพื่อจะได้เป็นโอกาสชี้แจงเป็นความรู้แก่ผู้สนใจโหราศาสตร์รุ่นใหม่ๆ ที่เพิ่งริเริ่ม และมิได้เคยทราบมาก่อนจึงขอขอบคุณต่อคำถามของคุณ ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ผู้สนใจในวิชาโหราศาสตร์

     อันที่จริงลัคนาประจำวันที่ใช้อยู่ในเรื่องให้ฤกษ์- ห้ามฤกษ์นี้ จะไม่เป็นปัญหาให้คุณต้องคิดค้นเลย ถ้าคุณมีโอกาสใก้ลชิดคลุกคลีกับนักโหราศาสตร์รุ่นเก่าๆแก่ๆ เพราะแต่ละท่านเคยใช้กันมาเป็นส่วนมาก แม้ในปัจจุบันผมก็เชื่อว่ายังมีผู้ใช้อยู่อีกหลายท่าน เป็นแต่เพียงว่ามีได้มีการเปิดเผยหรือเขียนเป็นตำรับตำราไว้ให้รู้เห็นเท่านั้นเอง  และผู้ใช้ก็มักปิดๆ บังๆ มิได้ใช้ โดยตรงให้จับรอยได้ จึงดูเป็นของวิจิตรพิศารไป แท้จริงก็คือ - "ลัคนาจันทร์" นันเอง

     "จันทร์ลัคน์" หรือ "ลัคนาจันทร์" เป็นลัคนาที่วางจันทร์จากดวงจันทร์ เช่นเดียวกัน "ลัคนาอาทิตย์" ซึ่งวางจากอาทิตย์อุทัยเพราะถือว่า อาทิตย์และจันทร์ เป็นดาวพระเคราะห์ที่มีอิทธิพลต่อโลกและชีวิตของมลมนุษย์อย่างแท้จริง ท่านจึงได้วางลัคนาจากจ้าวแห่งทิว และจ้าวแห่งราตรี เป็นลัคนา ทั้งสองทาง

     อาจารย์เก่าๆ มักบอกใบ้เป็นปริศนาลายแทงอยู่เสมอว่า  จันทร์มีความสำคัญเท่าลัคนาหรือจันทร์เป็นลัคนา ผู้ตีปัญหาของท่านไม่ออก ก็จับเอาจันทร์โดยตรงเป็นลัคนาเองทีเดียวดังที่เคยมีท่านผู้รู้ในปัจจุบันกล่าวถึงบ่อยๆ เป็นการเข้าใจเจตนารมย์ของเดิมท่านผิด 

     "จันทร์ลัคน์"หรือ "ลัคนาจันทร์" มิได้มีใช้แต่ในโหราศาสตร์ไทย แม้ในโหราศาสตร์แบบเก่าดั้งเดิมของจีน เขาก็มีวิธีวางลัคนาจันทร์ และถือว่ามีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่า ลัคนาอาทิตย์แต่อย่างใด ส่วนในโหราศาสตร์ภารตะ เคยอ่านพบนานมาแล้วและไม่มีโอกาสค้นหายืนยันจึงไม่แน่ใจนัก แต่เฉพาะดวงจันทร์โหราสาสตร์ภารตะยึดถือเป็นชีวิตทีเดียว

     ในโหราศาสตร์จีน เขาเรียก "ลัคนาอาทิตย์" ซึ่งวางจากอาทิตย์อุทัยว่า "เมี่ย" และเรียก "ลัคนาจันทร์" ซึ่งวางจากดวงจันทร์"ซิน"

     วิธีวางลัคนาจันทร์ของจีน ให้ดูราศีสถิตในดวงชะตาแล้ว ให้นับยามที่เกิดจากราศีที่จันทร์สถิตอยู่นั้นไปทีละ ๑ ราศีๆละ ยาม  จนถึงยาม"อิ๋วซี้" ตกราศีใดวางลัคนาจันทร์ไว้ ณ ทีนี้ ยาม" เมื่อเวลาเมื่อเวลาอิ๋วซี้" คือ ยามเย็นต่อค่ำ  เริ่มแต่ ๑๗.๐๐ น. ถึง ๑๙.๐๐ ฯ. คือเป็นเวลา ที่ดวงจันทร์มีอำนาจในท้องฟ้าเวลาราตรี เช่นเดียวกับดวงอาทิตย์มีอำนาจในท้องฟ้า เมื่อเวลาอุทัยแห่งทิวา ซึ่งยามนี้เรียก "เบ๋าซี้" เป็นเวลา ๐๕.๐๐ น. ถึง ๐๗.๐๐น.  ยามแต่ละยามมีเวลา ๒ ชั่วโมง และเสมือนอันโตนาทีแต่ละราศีเช่นกัน

     วิธีแบ่งเวลาของจีน  เขายึดถือเป็นจารีตมาแต่โบราณ และมิได้มีนาฬิกากลใช้ เขาจึงแบ่งเวลวันหนึ่งออกเป็น ๑๒ ส่วน ส่วนละ ๒ ชั่วโมง แต่ละส่วนเป็น ๑ ยาม โดยเริ่มยามของวันคือ ยามจื่อเป็นยามที่๑ ระหว่างเที่ยงคืนเป็นต้นไป 



      เช่นเกิดเวลา 11.30 น. จันทร์อยู่เมษ เวลา 11.30 น. อยู่ในยาม " โหงวซี้" จึงนับ "โหงว" ที่ราส๊เมษ"บี๋" ที่พฤษภ "ซิง" ที่เมถุน "อิ๋วซี้ ยามค่ำที่รศีกรกฎจึงวาง "ซิน" ลัคนาจันทร์ ไว้ราศีกรกฎ นั้นเอง

     ในทางพยากรณ์พื้นชะตาบุคคลถือว่า- "เมี่ย" ลัคนาอาทิตย์แสดงถึงถึงชีวิต ส่วน "ซิน" ลัคนาจันทร์แสดงถึงสุขภาพและจิตใจถ้าตกในราศีที่ดีทั้งสองลัคนา ก็เป็นคนมีบุญชีวิตจะรุ่งโรจน์และมีจิตใจดีสุขภาพดี ถ้าตกราศีที่ร้ายจะยากจนไร้เกรียติและมีจิตใจทรามและเป็นทุกข์ 

     เรื่องลัคนาจันทร์ของโหราศาสตร์จีนนี้ คุณช.สินธุวงษ์ ผู้เชียวชาญโหราศาสตร์จีน ได้แปลจากคัมภีร์จีนชื่อ "ชิง ผิง หุย ห่าย " ลงในพยากรณสารเมื่อ 2497 

    ส่วนวิธีการวางลัคนจันทร์ และวิธีใช้พยากรณ์จากลัคนาจันทร์ ในโหราศาสตร์ไทยนั้น มิเคยได้พบท่านผู้ใดเขียนหรือเปิดเปิดเผยมาก่อน แม้อาจารย์เก่า ที่ท่านใช้ของท่านก็ปกปิดหวงแหนอยู่ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงดูเสมือนว่า ในโหราศาสตร์ ไทยมิได้เคยมีหรือเคยใช้ลัคนาที่วางจากดวงจันทร์มาก่อน ครั้นกาลเวลาผ่านไปนานเข้าอาจารย์เก่า ซึ่งล้วนแต่มีภาวะเป็นไม้ใก้ลฝั่งล้มหายตายจากไป ความรู้ดีเด่นในโหราศาสตร์ไทย รวมทั้งเรื่องลัคนาจันทร์ก็ได้ตายไปด้วย  และท่านอาจารย์เหล่านี้ส่วนใหญ่มักไม่สันทัดจัดเจนในการขีดเขียนนัก จึงมิได้ บันทึก ไว้ให้ผู้อยู่ข้างหลังได้ศึกษาเล่าเรียนเป็นแบบอย่างสืบทอดกันมา

     โดยเหตุนี้โหราศาสตร์ไทยในปัจจุบันจึงสูญเสียกฎเกณฑืดีๆ เหลือแคบลงๆ จนดูเสมือนว่าโหราสาสตร์ไทยไม่มีกฎเกณฑ์อื่นๆ นอกจากที่รู้ๆกันอยู่เท่านี้เอง จนบางครั้งเป็นที่ดูหมิ่นเหยียดหยาม ของนักโหราศาสตร์ในระบบอื่นๆ บางกลุ่ม

     การวางลัคนาจันทร์ และการใช้ลัคนาลัคนาจันทร์นี้ ผมได้จากอาจารย์ท่านหนึ่ง ท่านเป็นหมอยาแผนโบราณในต่างจังหวัด ท่านเล่าว่าได้รับการถ่ยทอดมาจากคร฿บาอาจารย์ของท่านพร้อมกับความรู้ทางแำพทย์โบราณ แต่ตัวท่านเองมิได้เอาดีทางโหราศาสตร์  หันเอาดีทางหมอยา ท่านจึงเพียงแต่ทรงจำเอาไว้  เนื่องจากอายุท่านขณะนั้นมากแล้วได้หลงลืมรายละเอียดอื่นๆ เสียเป็นอันมาก ซึ่งผมเชื่อว่าการใช้ลัคนาจันทร์น่าจะมีกลวิธรผาดโผนพิศดาร อันมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์มากแต่เมื่อไม่มีรายละเอียดให้ติดตามค้นคว้ากลับมาให้เต็มภาคภูมิเช่นเดิมได้เช่นนี้ จึงเป็นที่น่าเสียดายยิ่งนัก 

      วิธีวางและใช้ลัคนาจันทร์ ที่ได้มานี้ อาจมิใช่เป็นการวางลัคนาจันทร์ วิธีเดียวที่ใช้ในโหราศาสตร์ไทย เข้าใจว่าจะเป็นวิธีหนึ่งในหลายๆวิธี ซึ่งอาจแผกเพี้ยนกันไปตามมติของเกจิอาจารย์ แต่ละท่านในยุคก่อนๆ ก็ได้ 


กฎการวางลัคนาจันทร์ ท่านกำหนดไว้ดังนี้
     "ผิว่าจันทร์ครองราศีใด ท่านให้เอากำลังพระเคราะห์เจ้าเรือนราศีนั้นตั้ง บวกด้วยดิถีได้ เท่าใดเอา 12 หาร นับแต่ราศี 1 ไปเท่าเศษ ตกราศีใดผูกลัคน์ไว้ ณ ราศีนั้น"

     ความหมายก็คือ ให้ดูจันทร์ ในวันนั้นอยู่ราศีใดก็ให้เอากำลังพระเคราะห์เกษตรประำราศีนั้นๆตั้ง เช่น จันทร์อยู่ราศีเมษ ก็เอากำลังของพระอังคารเกษตรประจะราศี ซึ่งมีกำลัง 8 ตั้ง หรือ ถ้าจันทร์อยู่ราศีพฤษภ ก็เอากำลังพระเคราะห์คือศุกร์กำลัง 21 ตั้ง แล้วบวกด้วยดิถี(ขึ้น-แรม)ได้เท่าใดเอารอบจักรราศีคือ 12 หารเศษได้เท่าใด นัไป แต่ราศีพฤษภเป็น1 ไปเท่าเศษ วางลัคนาไว้ราศีนั้น แต่มีข้อกำหนดไว้ประการหนึ่ง ในเรื่องดิถี คือถ้าเป็นดิถีแรม คือข้างแรมให้เอา 15บวกเพิ่มเสียทุกครั้ง 
     สมมุติตัวอย่างเช่น วันแรม ๔ ค่ำ พระจันทร์ในวันนั้นสถิตราศีตุลย์ 

                                              
         
      ลัคนาจันทร์ สถิตราศีสิงห์
   
 ของเดิมอาจารย์เก่าท่านใช้ขึ้นแรมธรรมดา ซึ่งเรียกว่าดิ๔ีตลาดหรือดิ๔ีชาวบ้าน เพราะเป็นการง่ายและสะดวก ในทางพยากรณ์ดวงชะตาบุคคล เมื่อวางลัคนาอาทิตย์แล้วก็ได้วางลัคนาจันทร์ลงไว้คู่กัน เพื่อพิจารณาสอบชะตาบุคคลผู้นั้นให้ถ่องแท้แน่นอน 

      เช่นดวงชะตาที่กดุมภะ ตกอริแก่ลัคนาอาทิตย์ ท่านว่าการทำมหารายได้เลี้ยงตนเป็นไปโดยยากลำบากจะยากจน แต่ถ้ากดุมภะนั้นเป็นศุภะแก่ลัคนาจันทร์ท่านว่าแม้กระนั้นก็จะไม่ลำบากนักเพราะจะมีผู่อุปถัมภ์ค้ำชู่อยู่ได้ 

     ลัคนาจันทร์นี้ท่านยกย่องสรรเสริญนัก กล่าวว่าแม้นไม่รู้เวลาตกฟาก ก็ให้วางลัคนาจันทร์ทายเอาเถิด ถูกแท้อย่าสงสัยเลย 

     ขอยกตัวอย่าง ในการใช้ลัคนาจันทร์ ที่วางไว้ในการเขียน ให้ฤกษ์-ห้ามฤกษื ดิถีที่ใช้เป็นเกณฑ์บวกกำลังพระเคราะห์นั้นผมได้  ใช้ดิถีเพียรหรือที่เรียกว่าดิถีโหร คือเป็นมุมระยะห่างของดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์ซึ่งป็นดิถี ขึ้นแรมทางดวงดาวจากปฎิทินโหรของสมาคโหรฯ  โดยคำนวณเอาดิ๔ีของวันนั้นๆ เมื่อรุ่งอรุณ ถ้าเศานาทีดิถีเกินกว่าครึ่งก็เพิ่มอีก 1 ดิถี 


     เช่นวันที่ 21 เมษายน 2516  จันทร์สถิตราศีพิจิกดิถีเพียรในเช้านั้น 3.10 เป็นวันแรม 4 ค่ำ เรียกว่า ดิถีอ่อน คือระยะดิถีน้อยกว่า วันขึ้นแรม
 
 
   ลัคนาสถิตราศี เมถุน = และตำแหน่งดวงดาวเป็นดวงชะตาในวันนั้น ดังนี้ 

       

     อิทธิพลดาว- เจ้าเรือนกดุมภะครองอริ  เจ้าเรือนไปสถิตถพมรณะร่วมกัมมะ การเงินที่ผูกพันเป็นภาระหนี้สิน และมีทีท่าจะสูญควรติดตามทวงถามในวันนี้จะมีผล 

     ในชั้นแรกดูจันทร์ ซึ่งเป็นเรือนกดุมภะไปอยู่พิจิกเป็นอริ อังคารเรือนเจ้าเรือนไปอยู่มรณะ ร่วมพฤหัสซึ่งเป็นเจ้าเรือนกัมมะและปัตนิ ความหมายคือการเงินที่ขัดข้องอยู่จะมรณะ เป็นหนี้ก็จะสูญ แต่เมื่อพิจารณาจากตนุลัคน์คือพุธ ซึ่งสถิตอยู่ราศีมีน  จันทร์ทำมุมศุภะ และอังคารเจ้าเรือนไปอยู่ลาภะอยุ่ จึงพอหวังได้จากการถามติดตาม 

     คำพยากรณ์ที่เขียนไว้นั้น เป็นคำพยากรณ์กลางแสดง อิทธิพลของดวงดาวที่จะแสดงผลดีร้ายในกรณีต่างๆในวันนั้น ถ้าบุคคลมีเหตุการณ์ที่ดวงดาวแสดงผลร้าย เหตุการณ์นั้นๆก็มักมีแนวโน้มไป ในทางขัดข้องเสียหายยุ่งยากตามอิทธิพลของดวงดาว  โดยเฉพาะเ้ช่นเรื่องการเงินในวันนั้นเป็นต้น 

     นอกจากนี้ ยังใช้พิจารณาเหตุการณ์เกี่ยวกับกิจการอื่นๆ ได้หลายกรณี เช่นเรื่องการงานก็พิจารณาจากพฤหัสเจ้าเรือนกัมมะมาสถิตภพมรณะร่วมอังคารเจ้าเรือนอริ-ลาภะ และเสาร์เจ้าเรือนตกภพวินาสน์  พิจารณาจากมุมของตนุลัคน์เป็นมุมลาภะและเสาร์เจ้าเรือนไปเป็นสหัสสชะ อ่านความหมายได้ การงานที่มีปัญหาอุปสรรคขัดข้องจะเกิดเสียหายนั้นพอมีช่องทางเจราจาตกลงกันได้ราบรื่น 
 
     ผมหวังว่าข้อความที่ชี้แจงเกี่ยวกับลัคนาจันทร์ คงจะให้ความเข้าใจแก่คุณ ป.สัจจญาณได้กระจ่างแจ้งพอสมควร ทั้งอาจเกิดประโยชน์แก่ท่านผู้สนใจอื่นๆ การใช้ลัคนาจันทร์นี้ยังมีวิธีใช้อีกหลายประการ เช่นในการตั้งดวงฤกษ์ โดยการใช้ลัคนาจันทร์ ถ้ามีโอกาสผมจะเขียนมาสู่กันอ่านอีกในโอกาสหน้า 

ขอบคุณที่มา : หนังสือพยากรณสาร
#คุณยายกลิ่นโสม
#คุณยายเล่าเรื่องจากเรือนดาว
#โหราศาสตร์ไทยเรียนง่ายกว่าที่คิด
#เรียนโหราศาสตร์ไทยสไตล์คุณยายกลิ่นฯ
#อ่านดวงไทยสบายสบาย ตามสไตล์คุณยายกลิ่นโสม
#โหราศาสตร์ไทยเรียนด้วยตนเองฉบับคุณยายกลิ่นโสม   
#เรียนโหราศาสตร์ไทยฟรี ที่เวปนี้นะ:: htthttp://www.baankhunyai.com
  --------------------  
 
Visitors: 172,515