โหราศาสตร์กับชาวกรีก
โหราศาสตร์กับชาวกรีก
ปโตเลมี (Ptolemy) คลอเดียส ทอเลเมอุส ( ค.ศ. 100-178) คลอเดียส ทอเลเมอุส ชาวกรีก รู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า ปโตเลมี เป็นนักภูมิศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักโหราศาสตร์ชาวกรีกในยุคโบราณ คาดว่ามีชีวิตและทำงานอยู่ในเมือง อเล็กซานเดรีย ประเทศ อียิปต์ ในปี ค.ศ. 140 ปโตเลมีได้อธิบายการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ว่า โลกเป็นศูนย์กลางของระบบดาวเคราะห์ โดยมีชื่อว่า ระบบจีโอเซนทริก (Geocentric system) เป็นระบบที่มีโลกอยู่ตรงกลาง ดาวเคราะห์โคจรรอบโลก ซึ่งเป็นการสนับสนุนความเชื่อของชาวกรีกโบราณ เขาเชื่อว่า ดวงจันทร์ ดาวพุธและดาวศุกร์ ดวงอาทิตย์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์โคจรรอบโลก ปโตเลมีได้อธิบายเพิ่มเติมไว้ว่า ดาวเคราะห์เหล่านี้เคลื่อนที่บนวงกลมขนาดเล็ก ซึ่งอยู่บนวงกลมขนาดใหญ่อีกทีหนึ่ง เขาคิดว่าหลักการนี้สามารถอธิบายเหตุผลที่ดาวเคราะห์ดูเหมือนจะเคลื่นที่ด้วยความเร็วที่แตกต่างจากดาวฤกษ์ทั้งหลาย และบางครั้งก็เคลื่อนที่ย้อนกลับด้วย ผู้คนเชื่อว่าความคิดของปโตเลมีถูกต้องเป็นเวลานานถึง 1,400 ปี ปโตเลมีเป็นผู้แต่งตำราที่สำคัญหลายเล่มที่ถือว่าเป็นคัมภีร์วิชาการ และในจำนวนนี้ มีสองเล่มที่ได้ใช้สืบต่อไปในวิทยาการของอาหรับและยุโรป เล่มแรกคือคัมภีร์ดาราศาสตร์ในชื่อว่า "Almagest" (ในภาษากรีก "ยอดคัมภีร์") อีกเล่มคือ "ภูมิศาสตร์" ซึ่งเป็นการพูดความรู้ด้านภูมิศาสตร์ในโลกยุคกรีก-โรมัน อย่างละเอียด |
คลอเดียส ทอเลเมอุส (กรีก: Κλαύδιος Πτολεμαῖος;) รู้จักในชื่อภาษาอังกฤษว่า ทอเลมี (อังกฤษ: Ptolemy) หรือที่คนไทยเรียกกันว่า ปโตเลมี เป็นนักภูมิศาสตร์ นักดาราศาสตร์ และนักโหราศาสตร์ชาวกรีกโบราณ คาดว่ามีชีวิตและทำงานอยู่ในเมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์
ทอเลมีเป็นผู้แต่งตำราที่สำคัญหลายเล่ม ที่ถือว่าเป็นคัมภีร์ทางวิชาการ ในจำนวนนี้ มีสองเล่มที่ได้ใช้สืบต่อไปในวิทยาการของอาหรับและยุโรป เล่มแรกคือคัมภีร์ดาราศาสตร์ในชื่อว่า The Mathematical Compilation (กรีก: Μαθηματική Σύνταξις ซึ่งภายหลังถูกเปลี่ยนชื่อเป็น The Greatest Compilation (กรีก: Η Μεγάλη Σύνταξις ชาวอาหรับได้แปลหนังสือเล่มนี้ และให้ชื่อใหม่เป็นภาษาอารบิกว่า "al-majisti" ซึ่งภายหลังจากนั้นถูกแปลเป็นภาษาละตินว่า อัลมาเจสต์ (Almagest)
อัลมาเจสต์เป็นหนังสือเกี่ยวกับเรื่องการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ว่า: โลกมีลักษณะเป็นทรงกลม เป็นศูนย์กลางของจักรวาล และหยุดนิ่งไม่มีการเคลื่อนไหว; โดยทฤษฎีนี้ได้รับการยอมรับยาวนานถึง 1,400 กว่าปี จนกระทั่งสมัยของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส
ตำราอีกเล่มหนึ่งคือ "ภูมิศาสตร์" ซึ่งเกี่ยวกับความรู้ด้านภูมิศาสตร์ในโลกยุคกรีก-โรมัน อย่างละเอียด
ที่มา : https://sites.google.com/a/web1.dara.ac.th/daraastro-astronomer/home/p-to-le-mi
หมายเหตุจ๊ะ : โหราศาสตร์ไทยที่ยายเขียนในบล๊อคนี้ เป็นการเขียนการอ่านดวงแบบดวงอีแปะ ซึ่งจะเขียนวิธีการให้อ่านง่ายๆตามแบบสไตล์ของยายเท่านั้น วัตถุประสงค์ก็เพื่อเป็นการแบ่งปันกัน ซึ่งยายหวังว่าคงเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆผู้ที่สนใจและกำลังศึกษาในวิชาโหราศาสตร์ ได้บ้างนะจ๊ะ
ทอเลมีเป็นผู้แต่งตำราที่สำคัญหลายเล่ม ที่ถือว่าเป็นคัมภีร์ทางวิชาการ ในจำนวนนี้ มีสองเล่มที่ได้ใช้สืบต่อไปในวิทยาการของอาหรับและยุโรป เล่มแรกคือคัมภีร์ดาราศาสตร์ในชื่อว่า The Mathematical Compilation (กรีก: Μαθηματική Σύνταξις ซึ่งภายหลังถูกเปลี่ยนชื่อเป็น The Greatest Compilation (กรีก: Η Μεγάλη Σύνταξις ชาวอาหรับได้แปลหนังสือเล่มนี้ และให้ชื่อใหม่เป็นภาษาอารบิกว่า "al-majisti" ซึ่งภายหลังจากนั้นถูกแปลเป็นภาษาละตินว่า อัลมาเจสต์ (Almagest)
อัลมาเจสต์เป็นหนังสือเกี่ยวกับเรื่องการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ ด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ว่า: โลกมีลักษณะเป็นทรงกลม เป็นศูนย์กลางของจักรวาล และหยุดนิ่งไม่มีการเคลื่อนไหว; โดยทฤษฎีนี้ได้รับการยอมรับยาวนานถึง 1,400 กว่าปี จนกระทั่งสมัยของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส
ตำราอีกเล่มหนึ่งคือ "ภูมิศาสตร์" ซึ่งเกี่ยวกับความรู้ด้านภูมิศาสตร์ในโลกยุคกรีก-โรมัน อย่างละเอียด
ที่มา : https://sites.google.com/a/web1.dara.ac.th/daraastro-astronomer/home/p-to-le-mi
By_คุณยายกลิ่นโสม :: |
หมายเหตุจ๊ะ : โหราศาสตร์ไทยที่ยายเขียนในบล๊อคนี้ เป็นการเขียนการอ่านดวงแบบดวงอีแปะ ซึ่งจะเขียนวิธีการให้อ่านง่ายๆตามแบบสไตล์ของยายเท่านั้น วัตถุประสงค์ก็เพื่อเป็นการแบ่งปันกัน ซึ่งยายหวังว่าคงเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆผู้ที่สนใจและกำลังศึกษาในวิชาโหราศาสตร์ ได้บ้างนะจ๊ะ