ราหูผู้มีบทบาทสามโลก

   ราหูผู้มีบทบาทสามโลก โดย บร. วรรณวิจิตร

  
  ราหูผู้มีบทบาทสามโลก

อาห์ ... ราหู มารผู้เหนือมาร จอมมารที่เราทั้งหลายรู้จักชื่อเสียงกิติศัพท์อย่างกว้างขวางในหมู่นักนิยม โหราศาสตร์ทั่วไป ในนามของยอดอันธพาลใหญ่บนสวรรค์ และยังแผ่อิทธิพลเพ่นพ่านลงมาเมืองมนุษย์ ได้ครอบครอง อารมณ์และความรู้สึกทั่วไปของคนให้หวาดเกรง ประหนึ่งยืนฟังคำพิพากษาโทษตนเอง หากลองประเมินความรู้สึกันดูแล้ว คงเทียบกาลกรรณีหรือมากว่า

ผู้เขียนได้กล่าวไว้ในหนังสือกาลีกับโลกว่า ราหูคือ กาลกรรณีประจำโลก และเป็นตัวโลกเองอีกด้วย ในแง่คิดของคนทั่วไป

ตามตำรับว่าด้วยดาวพระเคราะห์ หลักของดาราศาสตร์ว่าเป็นเงาของโลก ซึ่งมีค าอธิบายอยู่หลายแห่งแล้ว แม้แต่ในหนังสือกาลีกับโลกในบทของ คุณวิจอม ปรีดานุชิ ได้อธิบายไว้เป็นหลักเป็นฐานกว่าคำพูดของผู้เขียน การกล่าวซ้ าของผู้เขียนในบทความนี้ก็เพื่อเป็นการเกี่ยวโยงข้อความเท่านั้น เพราะผู้เขียนไม่ชำนาญทางย่อสำนวน เช่น นักเขียนบทความท่านอื่นๆ ยิ่งในรูปตำราแล้วยิ่งเหลว ... ต้องชักแม่น้ าทั้งห้ามาบรรยายจึงพอได้ความกับเขา อุปมาเหมือนคนที่รู้ต้ารายาแก้พิษร้ายแต่ขาดกรรมวิธีใช้น้้ากระสาย เลยต้องลำเลียงเครื่องที่พอจะเข้ากระสายได้มาให้ ท่านเลือกตามใจชอบ หรือใครจะใช้ได้พร้อมกันไปก็ไม่เกี่ยง

ที่ท่านกล่าวกันว่า ราหูคือความหลงใหลมึนเมา และเป็นความมืดแห่งชีวิต ก็เพราะท่านอุปมาให้ราหูเป็นโลก โลกเป็นดาวดวงหนึ่งที่ขาดแสงมีแต่ความมืดทมึน “เมื่อเราต้องราหู หรือราหูชาติกุมหรือเล็งลัคน์” เปรียบดุจ เราถูกจับไปไว้ในห้องมืดที่ไม่ชินเคยมาอยู่ก่อน ในความมืดเช่นนี้ ใครจะรู้เลยว่า อะไรขาว อะไรดำ? จำต้องงมงาย คลำทางไปกับความมืดตามีตามเกิด

เรื่อง ”ราหู” ปราชญ์เจ้าของเดิมเองยังให้ข้อคิดไม่เหมือนกัน ปราชญ์ทั้งหลายต่างสร้างนิยาย ภาคเทวโลกให้เห็นจริงเห็นจังเพื่อไว้ประกอบคำพยากรณ์แต่ละครั้ง ไม่ใช่ภาคเดียว พยากรณ์ได้หลายเรื่อง เช่น พอเห็นใครมีดาว จันทร์กุมราหู หรือราหูไปทับจันทร์ จะกล่าวหาให้เป็นหนี้ไม่หยุดหย่อน “หรือใครมีราหูกุมลัคนา จะต้องตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่า หมอนี่คงขี้เมา หรือเป็นนักการพนัน ไม่ก็คงค้าของเถื่อนอยู่ร่้าไป”

ผู้เขียนเคยเห็นดวงชะตาราหูกุมลัคนาบางคนก็เป็นสุภาพบุรุษเรียบร้อย และไม่หลงใหลเสพติดสิ่งใด ที่กล่าวนี้ ไม่ใช่ค้านตำรา ตามตำราเผงด้วยซ้ า เพราะตำรานั้นได้แก้ราหูไว้เรียบร้อยแล้วว่า จะเมาหรือไม่เมา ท่านได้สังเกต ตำแหน่งราหูแน่แล้วหรือยัง?

อาห์.... ราหูมารผู้เหนือมาร สมแล้วที่ปราชย์อินเดียชั้นสูงฝ่ายหนึ่งได้กล่าวว่าราหูมีความชาญฉลาดดั่งปราชญ์ มีความมั่นคงต่อจารีตศีลธรรมอันดีงาม เสียดายแต่มีโทษะจริตร้ายแรงเท่านั้น ในต้นตำรับชาติเวรเดิมก็มีข้อให้คิดให้ สังเกต เช่น เมื่อครั้งกวนน้ำอมฤตให้เป็นผลสำเร็จ พวกอสูรบริวารก็กรูกันเข้าไปใกล้น้าอมฤต หวังจะได้ดื่มกินโดยถือสิทธิ์ ในการร่วมแรง แต่เทวะทั้งหลายพยายามกีดกันต่างๆ นอกจากรางวัลนางอัปสร หกสิบโกฏิ ให้เหล่าเทวะยังปลอมแปลง ให้เป็นหญิงงามเลิศเพื่อหลอกลวงพวกยักษ์(แทตย์) ให้ตลึงตลานเคลิ้มไปกับความสวาท พวกยักษ์นั้นเป็นเพียงยักษ์บริวาร ย่อมมีความโง่เพราะขาดประสบการณ์ว่า เทวาเป็นผู้เจริญไฉนจะคิดดำเนินนโยบายเลวร้ายได้ “ความโง่ ย่อมท้าให้คนซื่อได้มากกว่าความฉลาด” ราหูได้เป็นมารเหนือมารก็เพราะตอนนี้ ตอนที่ไม่หลงใหลต่อสิ่งยั่วยุที่เทวะ พยายามนำพามาให้

ชาติเวรที่ตำราทั่วไปได้ตัดมาบางตอน เฉพาะตอนราหู ปฏิเสธการร่วมแรงในพิธีกวนน้ำอมฤต เราทั้งหลายก็คิดว่า ราหูโกง เอาเปรียบ เมื่อไม่คิดสร้าง ไฉนจะมาคิดกินของคนอื่นสร้าง และแกมปฏิเสธโดยวิสัยยะโสว่า เรามีวิมานบนอากาศจะต้องไปร่วมสร้าง ด้วยท่านทำไม แต่ผู้เขียนคิดว่า ชะรอยราหูจะเข้าใจมาก่อนแล้วว่า ตนจะต้องถูกเทวะ เหล่านั้นหลอกใช้ก็เป็นได้ เพราะปกติวิสัยเทวะเหล่านั้น ก็มิเคยมาปราศรัยใยดีด้วย มีแต่ความกลัวและตั้งข้อรังเกียจ ตลอดเวลาอีกมากมาย จนเรียกแบบประณามว่า “ยักษ์-ยักษ์ แปลว่า ต่ำ”

เมื่อศัตรูเคยพบกันครั้งไร เฝ้าแต่เกลียดกลัว อยู่ๆจะมาชักชวนไปสร้างโน่นสร้างนี่เป็นการร่วมแรงร่วมใจแบบสาธารณะกุศล จะไม่ให้ผิดปกติวิสัยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ก็ยากอยู่ นับว่าราหูได้คาดการณ์ไว้ไม่ผิด เพราะหลังจากได้น้าอมฤตและผลพลอยได้อื่นๆ พวกยักษ์ บริวารของตัวก็ถูกกีดกัน หวงแหนต่างๆ แม้แต่พยายามยกนางอัปสรให้ เพื่อให้มัวเมาจะได้เข่นฆ่าตามสบาย

แต่นโยบายของเทวะไม่ได้ผลสุดยอดทีเดียว ราหูและยักษ์บริวารก็ไม่ยอมรับนางอัปสรเหล่านั้น จนเทวะพยายามแปลงเป็นนางงามเลิศอีกครั้ง และคงเศกเป่าตามฤทธิ์ จึงทำให้เฝ้าติดตามนางงามเหล่านั้นออกไปจากพิธีที่เหลืออยู่ก็เพียงเล็กน้อย และก็เหน็ดเหนื่อยกับงานมามากจึงแพ้แก่เทวดา เมื่อเข้าไปคิดดื่มกินก็ถูกทำร้ายดื้อๆ ราหูคงรู้เห็นเหตุการณ์พอจะไม่เข้าไปปะปนดีๆ จึงต้องปลอมแปลงเข้าไปปะปนบ้าง และได้ดื่มกินน้ำอมฤตสมปรารถนา พระอาทิตย์นั้นเป็นแสงสว่าง จึงเล็งญาณรู้แจ้งเห็นจริงต่อการแปลกปลอมของราหู และสิ่งปิดบังทั้งหลาย จึงนำเหตุไป ร้องเรียนต่อพระวิษณุเจ้า เมื่อมีผู้รู้เท่าทันแผนการและถูกซ้อนกลกลับมาวิษณุ หรือจะไม่อารมณ์ค้างพิโรธมากมาย จนความเมตตาอ่อนโยนล้ำเลิศที่เคยมีก็หมดไป(น่ากลัวจะอายเทวดาด้วยกัน) เมื่อราหูขับไล่เช่นฆ่าพระอาทิตย์ล้ำแดนเข้าไปในบริเวณ เพราะแรงแค้นจึงขว้างจักถูกกายพระราหูขาดทันที เดชะความเป็นธรรมค้ำจุนโลกอยู่ จึงทำให้พระราหูได้ ดื่มน้ำอมฤตเข้าไปแล้ว จึงไม่ตายและหายสูญ เหลือแต่มโนไม่เป็นเช่นผู้ที่เคยถูกจักรพระนารายณ์มาแล้ว

วิถีของสงครามและการชิงชัยทั้งมวลนั้น หากไม่ได้ด้วยเล่ห์ก็ต้องเอาด้วยกล เทวะผู้เจริญแล้วยังโกงอสูรได้ แม้ว่าการโกงนั้นจะเพื่อรักษาความปลอดภัยแก่พระอินทร์ ก็ขึ้นชื่อว่าโกงอยู่นั่นเอง เหตุใดการคิดแก้แค้นการกระทำของผู้อื่นจึงกลายเป็นอันธพาลหรือคนโกง แล้วการใช้ความสามารถของผู้อื่นมาสร้างความเจริญและความยิ่งยงของตนเอง จะเรียกว่ากระไร?

คติของชาวอินเดียชั้นสูงกล่าวว่า ราหูคือปราชญ์ที่มีความคิดเยี่ยม แต่ขาดสติอุดหนุน ทำให้วู่วามตึงตึง แต่ก็เป็นแบบตรงไปตรงมา ไม่ยอกย้อนซ่อนเงื่อน จะโอหังไปบ้างก็เพราะรู้ว่าตนมีฤทธิ์ไม่มีใครต่อกรได้ ธรรมดาอยู่เองที่ จะต้องทนงตนอวดดีขึ้นมาบ้าง เพราะมีดีจะอวดแต่ เทวดาหรือมนุษย์บางพวกยังอวดดีทั้งที่ไม่มีอะไรจะอวดเลย

การแต่งเทพนิยาย หรือการจดประวัติศาสตร์ก็ตาม ผู้จดหรืแต่งเทพนิยายก็ลำเอียงไปตามความคิดของตน ใช่จะไม่รู้แก่ใจว่าอะไรเป็นอะไร แต่ก็ต้องจดไว้เป็นการกล่าวหากกีดกันไว้ก่อน ยิ่งคนจนเป็นชาวอินเดียส่วนมากมีนิสัยแบ่งชั้นวรรณะอยู่แล้ว ก็ยิ่งลำเอียงแอบอ้างเข้าข้างพวกเดียวกันไว้ตามธรรมชาติ คติของเรื่องราหูจึงไม่เหมือนกัน

คุณหลวงสุทธิภาศ อดีตนายกสมาคมโหรฯ ได้กรุณาคุยให้กับผู้เขียนฟังว่า ไพทากอรัส นักปราชญ์ชาวกรีกว่า ราหูเป็นเทพเจ้าแห่งความยุติธรรม มีดาบและตาชูเป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายอันนี้ กระทรวงยุติธรรมรับเอามาใช้และ เป็นตราประจำกระทรวง ... อภิธานฮินดู เรียกราหูอีกนามหนึ่งว่า อสุรา แปลว่า ไม่ดื่มเหล้า หรือแปลทับศัพท์ว่าไม่ใช่ เทวดา เพราะตระกูลของเทวดาขึ้นต้นด้วย คำว่า “สุระ” เช่น “สุรท้าว” แต่ในปทานุกรม แปลว่า “แกล้วกล้า” ท่านคงจะ ทราบดีว่าราหูกล้าหรือไม่?

การที่มีข้อควรจ้าในต้าราโหราศาสตร์ของเราว่า “ทายมัวเมาทายราหู” ท่านก็ไม่บัญญัติไว้ตายตัวว่า ราหูเมา คงจะหมายให้ดูราหูของชะตาบุคคลแต่ละบุคคล จะถูกโยคเกณฑ์ให้เมาหรือเปล่า เพราะตามความเป็นจริงของชาติเวร ราหูตนเดียวเท่านั้น ที่ไม่เมาสุราเหมือนหัวหน้าเทวดา คือตัวพระอินทร์เอง และไม่จัดให้ราหูหลงใหลใน อิตถีเพศจริงจัง การที่ไปเที่ยวไล่ฟัดนางฟ้าก็คงหมั่นไส้มากว่า เพราะพอเห็นหน้าหน่อยก็กรี๊ดกร๊าด (และคงไม่มีโอกาส ทิพย์อภิรมย์) เพราะไม่ใช่เทวดา จะสมสู่จริงจังเหมือนเขาอื่นก็ไม่ได้ เพราะขาดส่วนล่าง...!!

     

คติของโหรอินเดียตอนใต้รวมทั้งลังกาที่เคยพบในปฏิทินประจำปีภาษาทมิฬ มีความเข้าใจในราหูกับเกตุ เช่นเดียวกันกับนักนิยมโหราศาสตร์ไทย นิยมใช้กันปัจจุบันเป็นส่วนมากคือ ราหูเป็นกะโหลกของผีโขมดทั้ง ๑๒ ซึ่งพระอิศวรสร้างขึ้นด้วยน้ำอมฤต เป็นอันดับแปด หลังจากสร้างเทวดานพเคราะห์ทั้งเก้าแล้ว ผิดกันที่จินตนาการในการสร้างภาพเขียน และภาพพจน์สับสนสองตอนเป็นตอนเดียวกัน ดังภาพที่เราเคยเห็นกันเป็นส่วนมาก ในลักษณะเต็มตัวคือ หน้าเป็นอสูร หางเป็นนาค แต่กลับไปเล่า ตำนานนพเคราะห์ว่า สร้างด้วยผีโขมด ๑๒ หัว

พระเคราะห์ราหูนั้น ปราชญ์ทั้งหลายเป็นผู้ตั้งสมญา และสร้างนิยายภาคเทวโลกให้เห็นจริงเห็นจัง เพื่อประกอบคำพยากรณ์ นอกจากนั้นนักวิทยาการก็ได้นำข้อมูลต่างๆ มาคิดกันว่า รูปร่างของราหูอยู่ในลักษณะอย่างไร เช่น โลกจะกลมหรือแบน หรือกว้างยาวอย่างไร เท่าใด แสดงว่านักวิทยาศาสตร์เองก็เชื่อในการค้นคว้าของคนโบราณ แต่เลือกเชื่อถือที่พอแสดงหลักฐานได้เท่านั้น สำหรับท่านที่แตกฉานในวิชาโหราศาสตร์แล้ว ก็คงเข้าใจดีว่า ตอนไหนเป็น ตอนไหนและประมวลเรื่องราวได้ไม่สับสน แต่สำหรับนักศึกษาใหม่ๆ คงนึกภาพพจน์ไม่ออกว่า จะให้เป็นสิ่งใดดี แม้ผู้เขียนก็เคยงงงันมาแล้ว แต่ได้เห็นภาพเขียนในปฏิทินภาษาทมิฬ ค่อยใกล้บางอ้อ

ผู้เขียนไม่รับรองว่า ความเห็นของตนเองจะถูกต้องนัก เท่าที่ค้นคว้าพิสูจน์ผลได้ทางพยากรณ์ ก็เห็นว่าดีกว่างมงายกับความรู้สึกครึ่งๆ กลางๆ ต่อไป ก็เลยลองแยกออกมาเพื่อให้ท่านผู้อ่าน ได้ประเมินความรู้สึกกันดูบ้าง หลักจากได้ เห็นภาพราหู ในปฏิทินภาษาทมิฬแล้ว ผู้เขียนให้รู้สึกชื่นชมกับปราชญ์ไทยโบราณยิ่งนัก แม้ท่านจะแยกส่วนอย่างไร ก็จะเห็นความเฉียบแหลมของท่าน แฝงฝังน่าอัศจรรย์ใจ ถึงจะมีการปิดๆ บังๆ อยู่ ก็เพื่อให้คนเรียนได้ฝึกลับสมองบ้างไปในตัว หากท่านปราชญ์เหล่านั้นจะคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง ก็ตรงไม่ทราบว่า โหราศาสตร์จะได้รับการนิยมต้อนรับกันอย่าง กว้างขวางถึงเพียงนี

สมัยก่อนทีเดียวที่นิยมกันภายในราชสำนักหรือตามวัดวาอาราม ที่มีพระอาจารย์ชั้นเลิศ สมัยต่อมาชะรอยท่านจะเห็นคุณประโยชน์เมื่อมีภัยสงคราม จึงได้เมตตาเผื่อแผ่สอนให้ศิษย์ธรรมดาชาวบ้าน ที่เห็นว่ามีสมองและมีสัจจะฉลาด พอ เพื่อประโยชน์ไว้ป้องกันตัว และได้ใช้ในการสงครามหรือการอาสาบ้าง ซึ่งสมัยนั้น สงครามก็เกิดขึ้นง่ายๆ เงียบๆ ฉวยเพลี่ยงพล้ำก็ได้เอาตัวรอด

เทวนิยายในคัมภีร์สร้างโลก ท่านกำกับการแสดงราหูไว้เข้มข้น จนราหูโด่งดังในความรู้สึกของคนราหูได้ซึมแทรกบทบาทไว้ให้แก่มวลมนุษย์ สร้างอารมณ์หลงใหล แต่การรับก็รับไว้เพียงความรู้สึกพอใจในบทบาท ส่วนชื่อเสียง ตัวตนก็กวัดไกวใสส่งไป สร้างจุดเดือดให้คนรู้จักแก้แค้นการเจ็บช้ำและสอนให้คนสร้างเล่ห์เหลี่ยม เพื่อแก้กลโกงของคน ที่เอาเปรียบมาก เพราะฉะนั้น ถ้าราหูมีบทบาทกุมลัคน์ใคร หากได้มุมดาวได้โยคเกณฑ์ดี ก็ทำให้ดำเนินวิธีการต่อสู้ ถูกต้อง คือต่อสู้แบบปัญญาชน ใช้การกระทำเหนือกว่าเป็นเครื่องตัดสินการแสดงชั้นเชิงโดยศัตรูหมดทางเอาชนะ ไม่ใช่การแก้แค้นด้วยวิธีลุกไล่เข่นฆ่า หรือการต่อสู้ด้วยกำลังกาย เพราะกรรมการไม่มีวันตัดสินให้คนโตกว่าชนะคนเล็กได้โดย ขาวสะอาด ถ้าเกิดโทสจริตจนไล่ฆ่าฟันกัน ก็มีหวังล้ำแดนกฎหมาย มีหวังเข้าที่คุมขัง หรือถูกกฎหมายลงโทษตัดสินให้ ตายตกไปตามกัน โดยไม่มีโอกาสแก้แค้นหรือแก้ตัวสมปรารถนา มีแต่จะแพ้พ่ายไปทุกที เพราะไม่มีโอกาสได้ ต่อสู้ต่อไปอีกแล้ว....

นี่คือการร่วมโยคเกณฑ์ไม่ดีของราหู ..... เพราะคนโกรธจนขาดสติก็พลอยขาดปัญญาคิดเอาชนะได้ ทำให้บุ่มบ่ามมุ่งแต่จะให้ชนะถ่ายเดียว โดยไม่นึกว่าจะผิดหรือถูก หรือศัตรู จะมีที่คุ้มกันหรือไม่ และลืมตัวกลัวภัยจากผู้เหนือกว่าตน อย่างน้อยก็มีกฎหมายคุ้มครองศัตรู เช่นการรุกไล่พระอาทิตย์ด้วยความเจ็บอกเจ็บใจจนลแดนเข้าไปใน บริเวณของพระอิศวร(บางตำหรับว่าพระอินทร์) ดูสับสนกันอยู่ เนื้อหาพอเข้าเค้า เป็นแต่จะเอาหลายตอนมาเป็นตอนเดียวกัน ราหูจะถูกจักรพระวิษณุจักพระอินทร์ หรือศรพระอิศวร ก็ตัวขาดทั้งนั้น เว้นแต่ก่อนจะเป็นเช่นนั้น หัวข้อการกล่าวหาไม่เหมือนกัน

ที่นี้มาย้อนคิดอีกทีซิว่า ทำไมฝ่ายลังการหรือทมิฬ และอินเดียวบางพวก จึงมีความเห็นความเข้าใจว่า ราหูคือผีที่ดุร้ายน่ากลัว ที่เป็นเช่นนั้นน่าจะมาแต่เหตุเพราะชาวทมิฬเป็นชาวป่า ชาวเกา ก็ย่อมนับถือและเกรงกลัวอิทธิพลผีมากกว่าเทพเจ้าอื่นๆ ด้วยเชื่อว่าผีนั้นอยู่ทุกหนทุกแห่งที่จะอยู่ได้ ส่วนเทวดาและพระเป็นเจ้าอื่นๆ นั้นอยู่ไกลถึงสวรรค์ กว่าจะลงช่วยสักทีก็ยากเย็นเกินไป เราจึงเห็นคนป่าทั้งหลายไม่ว่าไทยหรือเทศ หวาดกลัวผีจับใจ

ผู้เขียนคิดว่าชาวทมิฬที่เป็นปราชญ์ คงมาตรหมายให้พวกเขาเข้าใจในคามเป็นผีซึ้งกว่านั้น โดยการสร้างภาพ ให้ราหูเป็นผีโขมด ผีในความเข้าใจทุกคนคือ ผู้ที่ได้รับความทุกข์ยากในขุมนรกมีแต่ความทรมานไร้ที่อยู่อาศัย ถูกตัดจาก ทุกสิ่ง ธรรมดาอารมณ์ผีก็อยู่ในรูปต่ำช้าริษยา เพราะตนเองไม่มีความสุข ก็ไม่อยากให้มนุษย์โลกที่มีความสุขจนล้น เหลือ แม้นได้รับภัยพิบัติทุกข์ยากเสียบ้าง ถึงเป็นส่วนน้อยก็ยังดี เมื่อทำอื่นมิได้ ก็สิงสู่ให้คิดทำต่ำๆ เลวๆ เห็นจะเป็นกุศโลบาย ชักชวนไปเที่ยวนรกด้วยกระมัง .... ถ้าเซ่นสายกราบไหว้ เยินยอบ้าง ก็ทำให้ได้ดิบได้ดีชั่วคราว แต่พวกไหว้ผี ส่วนมากก็ใช่เรื่องดีนัก มักเป็นเรื่องเลวร้ายหรือเป็นไปไม่ได้มากกว่า มีคำพังเพยอยู่แล้วว่า “ พระท่านไม่เข้าข้างคนผิด” ทางออกของคนยากไร้จึงต้องพึ่งผี และก็ขึ้นกับผีในเวลาต่อมา เพราะง่ายดีเป็นธรรมดาไม่ใช่หรือ ... ที่การดำเนินชีวิตจะต้องยินดีต่อสิ่งไม่ยากเกินไป

การที่โบราณท่านจัดราหูเป็นผีโขมดยังมีข้อน่าชมน่าคิดอีก เพราะท่านทำของอินเดียมาประยุกต์ไว้ถูกจังหวะ เพราะผีโขมดนั้นไม่ใช่ผีธรรมดา (เคยได้ยินผู้ใหญ่ด่าเด็กตะกละว่า ทำอย่างกับผี”นิศาท”(จำพวกเงาะป่าหรือทางอีสาน เรียกกันว่าผีกองกอย ชอบกินเนื้อมนุษย์ แต่ผีกองกอยกินแต่เลือดเหมือนผีดิบ ) และผีโขมดนี้ชอบมีอยู่ตามป่าตามเขา เวลาจะจับใครกินเป็นอาหารก็ปลอมเป็นโน่นเป็นนี่ มีพลังจิตมากมาย ผู้เขียนเคยติดตามคุณพ่อไปเที่ยวป่าล่าสัตว์ คุณ พ่อและพวกพรานเล่าเรื่องที่คุยนี่ให้ฟังว่า ผีโขมดอาจจะปลอมเป็นผู้หญิง มาร้องของความช่วยเหลือ ห้ามไม่ให้พูดจาทักท้วย เพราะถ้าใครลงไปหามันตามเรียกร้อง ก็จะล่อเอาไปกินเสีย ท าไมมันเหมือนผีดิบไม่รู้ มันจะตัวเดียวหรือเปล่า หนอ? ทำให้นึกถึงจักรทีปบทหนึ่ง
ราหูประทับลัคน์          ระมัดมักอริรอน
อย่าพลั้งเล่ห์คนวอน    กิจะรับธุระพาล
จองคุณจะคืนโทษ      ทุรโยคประหนึ่งพราน
บินบอกทุรัสสถาน       ก็ประทุษฐะเบียนบีฑ์

ท่านผู้ใหญ่ท่านสร้างนิทานไว้ ก็เพื่อต้องการให้เราทราบถึงธรรมชาติ และอัธยาศัยพระเคราะห์ และเพื่อจดจำง่าย ไว้เป็นแนวทางพยากรณ์ เราเคยได้ยินแต่ราหูเป็นยักษ์คอยจะจับพระจันทร์กินในสมัยเด็ก ส่งผลมาทางพยากรณ์ใน เรื่องกฎการโคจร และบอกเรื่องราวพื้นฐานทั่วไป ซึ่งเราท่านทราบกันดีอยู่แล้ว ส่วนภาคมนุษย์โลก ราหูถูกตัดขาดมา จากเบื้องบนมาเป็นสองภาค ภาคหนึ่งคงค้างกลางอากาศ ภาคสองเป็นโลกที่เราอาศัย ภาคกลางอากาศคือเงา วิมาน ของราหูคือเมฆหมอก(๒)

ประการหนึ่งท่านเปรียบเงานั้นคือ กรรมอาจจะเป็นกรรมของเหล่าเทวะทั้งหลาย ที่พากันขับไสไล่ส่งราหูลงมา เพราะการแบ่งชั้นวรรณะรูปธรรมเป็นเหตุ หรือจะเพราะกรณีพิพาทแย่งกัน ยิ่งบนสวรรค์ โดยเอาน้ำอมฤตเป็นสาเหตุใหญ่ ภาคที่โลกเราอาศัยนั้น และโลกที่หมุนอยู่ทุกวันนี้แหละ คือราหูไล่ขับพระอาทิตย์ พระจันทร์ เมื่อวิ่งจนครบจักรราศีแล้ว(คงเข้าตาจน) จึงเข้าบดบังแสงสว่างจากดวงอาทิตย์และจันทร์เสียที ชั่วกัปชั่วกัลป โดยพระอินทร์หรือวิษณุ เจ้าก็ไม่สามารถมาแก้กฎแห่งกรรมนี้ เพราะพระอาทิตย์และจันทร์มีหนี้ที่จะต้องใช้คือ หนี้การกระทำของตนเอง ที่ตั้งตนเป็นศัตรูและเป็นต้นเหตุอันหนึ่ง ให้ราหูมีอันเป็นไป ไม่ใช่หนี้กู้ยืมอะไร ตามที่เคยสมมุติกันมาในสมัยนั้นอะไรๆ ก็เสาะ แสวงหาหรือเนรมิตเอาได้ แต่เพื่อจะสอนให้คนรู้ว่า ถ้าช่วงชีวิตอยู่ได้ ความคุ้มครองของดาวอาทิตย์และดาวจันทร์ (คือ พระเคราะห์เสวยอายุ หรือตกปูมปีตามทักษาจร ) หรือมีพระเคราะห์ทั้งสองกุมลัคน์มาแต่เดิม ก็มีนิสัยเจ้ายศเจ้าอย่าง มักใหญ่ใฝ่สูง หากมีดาวจรมาร่วมโยคดี ก็พาให้มีหนี้สินและทุกข์ยาก เพราะเกียรติยศเป็นเหตุ จึงต้องเข้าวงจรราหูซึ่ง ถูกสมมุติมาให้เป็นเศรษฐีเงินกู้ ฉะนั้น เมื่อราหูเข้ามุมร้ายกับอาทิตย์และจันทร์ จึงทำให้กระเสือกกระสนหลบหน้าค่าตา เจ้าหนี้สินอยู่มิวาย ผิดนัดก็ถึงตายเพราะต้นเหตุเหล่านั้น

มนุษย์อยู่ในโลกต้องมีกิเลศติดตัว เพราะอาศัยโลก แต่ชีวิตวิญญาณพระอาทิตย์และจันทร์คุ้มครอง เมื่อมีดาวคู่แค้นมาพบกันเข้า และเป็นเจ้าบุญนายคุณชีวิตเราด้วยกันทั้งนั้น ผู้ที่รับบาปแทนการกระทำของเทวโลกที่อาศัย ก็คือ มนุษย์ และเป็นบริวารของอาทิตย์และจันทร์เอง นิทานชุดนี้ฝังสมองเรากันมาแต่เด็กๆ ตั้งแต่เรื่องราวของโหราศาสตร์ยัง ไม่เยี่ยมกรายความรู้สึกของคนมากเท่านี้

ราหูเป็นโลกที่เราอาศัยให้ความสุขสำราญและขมขื่นไว้เป็นกิเลศให้มานะต่อสู้ ค าว่า”โลก” ถ้าไม่ยุ่งก็ไม่สนุกนัก ให้กลางคืนที่น่าใฝ่ฝันน่ารักอบอวลไปด้วยความมืดทั้งสูงต่ าดีเลว ชีวิตกลางคืนนั้นง่ายแสนง่ายต่อการพักผ่อน คนเรา หลงรักกลางคืน แม้แต่จะทุกข์ร้อนก็ต้องการกลางคืน เพื่อหลับใหล หนีความทุกข์ได้ชั่วคราว หากเราต้องการความ ส าราญก็เหมาะกับกลางคืนอีก เพราะกลางคืนเยือกเย็นสดชื่น กิจกรรมเลวร้ายก็เหมาะกลางคืน “อาห์ ... ราหู จอมมาร ผู้เหนือมาร ...”

ที่มา : https://sunwasa.files.wordpress.com
 
 


#Byคุณยายกลิ่นโสม
#อ่านดวงสไตล์คุณยายกลิ่นฯ
#เรียนดวงไทยฟรีที่บ้านคุณยายกลิ่นโส
#เรียนโหราศาสตร์ไทยด้วยตนเอง >> ได้ที่ baankhunyai.com



Visitors: 172,300