กาลกรรณี กับ สิริ
กาลกรรณีย่อมไม่ร่วมกับสิริ
ครั้งนั้น มีมาณพคนหนึ่ง ชื่อปิงคุตตระเป็นชาวมิถิลา ไปกรุงตักกศิลาเรียนศิลปะในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เรียนได้รวดเร็ว มาณพนั้นให้ทรัพย์เครื่องตอบคุณอาจารย์แล้วจึงลากลับบ้าน ก็ธรรมเนียมมีอยู่ว่า ถ้าธิดาในสกุลนั้นเป็นผู้เจริญวัย อาจารย์ต้องยกให้แก่ศิษย์ผู้ใหญ่ อาจารย์นั้นมีธิดาอยู่คนหนึ่ง มีรูปงามเปรียบด้วยเทพอัปสร ลำดับนั้น อาจารย์กล่าวกะปิงคุตตรมาณพนั้นว่า เราให้ธิดาแก่เจ้า เจ้าจงพาไปด้วย
แต่มาณพนั้นไม่ใช่ผู้มีบุญ เป็นคนกาลกรรณี ส่วนนางกุมาริกาเป็นผู้มีบุญมาก จิตของปิงคุตตรมาณพมิได้ปฏิพัทธ์เพราะเห็นนางกุมาริกานั้น มาณพนั้น แม้ไม่ปรารถนานางกุมาริกาก็ต้องรับด้วยคิดว่า เราจักไม่ทำลายคำของอาจารย์
พราหมณ์ทิศาปาโมกข์ได้ให้ธิดาแก่มาณพนั้น มาณพนั้นนอน ณ ที่นอนอันมีสิริที่ตกแต่งแล้วในเวลาราตรี ให้ละอายใจเนื่องเพราะนางกุมารีนั้นมาขึ้นนอนด้วย ก็ลงจากที่นอน มานอนที่พื้น ฝ่ายนางกุมาริกาก็ลงมานอนใกล้ ๆ มาณพนั้น มาณพก็ลุกขึ้นไปบนที่นอน นางกุมาริกานั้นก็ขึ้นไปยังที่นอนอีก พอนางกุมาริกาขึ้นไปมาณพก็ลงจากที่นอน นอนที่พื้นอีก
ชื่อว่ากาลกรรณีย่อมไม่ร่วมกับสิริ
นางกุมาริกานอนที่ที่นอน มาณพนั้นนอนที่ภาคพื้น มาณพนั้นยังกาลให้ล่วงไปอย่างนี้สิ้นสัปดาห์หนึ่ง ก็พานางกุมาริกานั้นไหว้อาจารย์ออกจากพระนครตักกศิลา ในระหว่างทางมิได้พูดจาปราศรัยกันเลย ชนทั้งสองมิได้มีความปรารถนากัน
เมื่อได้มาถึงกรุงมิถิลาปิงคุตตรมาณพถูกความหิวเบียดเบียน เห็นต้นมะเดื่อต้นหนึ่งเต็มไปด้วยผลในที่ใกล้พระนคร ก็ขึ้นต้นไม้นั้น เคี้ยวกินผลมะเดื่อ ฝ่ายนางกุมาริกานั้นก็หิวโหยเช่นกัน จึงไปที่โคนต้นไม้กล่าวว่า ข้าแต่นาย จงทิ้งผลลงมาให้ข้าพเจ้าบ้าง
มาณพนั้นตอบว่า มือตีนของเจ้าไม่มีหรือเจ้าจงขึ้นมาเก็บกินเอง
นางก็ขึ้นไปเก็บเคี้ยวกิน มาณพเมื่อเห็นนางขึ้นมา ก็ได้โอกาส รีบลงล้อมสะต้นมะเดื่อด้วยหนามแล้วกล่าวว่า เราได้พ้นจากหญิงกาลกรรณีแล้ว แล้วก็หนีไป นางกุมาริกานั้นเมื่อไม่อาจลงจากต้นมะเดื่อ ก็นั่งอยู่บนนั้นนั่นเอง
วันนั้น พระเจ้าวิเทหราชเสด็จประพาสพระราชอุทยาน ทรงเล่นอยู่ในพระราชอุทยานนั้นแล้วเมื่อประทับนั่งบนคอช้างเสด็จเข้าพระนครในเวลาเย็น ได้ทอดพระเนตรเห็นนางกุมาริกานั้น มีพระหฤทัยปฏิพัทธ์ในนาง จึงตรัสสั่งให้ถามว่า นางมีผู้หวงแหนหรือหาไม่
นางแจ้งว่า สามีของนางที่สกุลตบแต่งให้นั้นมีอยู่ แต่เขาให้ข้าพเจ้านั่งบนต้นไม้นี้ แล้วทิ้งข้าพเจ้าหนีไปเสีย
อำมาตย์กราบทูลความนั้นแด่พระราชา พระราชาทรงดำริว่า ภัณฑะไม่มีเจ้าของ ตกเป็นของหลวง จึงให้รับนางลงแล้วให้ขึ้นคอช้างนำไปราชนิเวศน์ อภิเษกสถาปนาไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี พระนางเป็นที่รัก เป็นที่ชอบพระหฤทัยแห่งพระราชา ชนทั้งหลายกำหนดรู้พระนามของพระนางว่า อุทุมพรเทวี เพราะพระราชาได้พระนางมาแต่อุทุมพรพฤกษ์
อยู่มาวันหนึ่ง เจ้าหน้าที่จ้างชาวบ้านใกล้ประตูเมืองให้แผ้วถางทางเพื่อประโยชน์ในการเสด็จพระราชดำเนินสู่สวนหลวง ปิงคุตตรมาณพเมื่อทำการจ้าง โจงกระเบนมั่นถางทางด้วยจอบ เมื่อทางยังไม่แล้ว พระราชาประทับบนรถที่นั่งกับด้วยพระนางอุทุมพรเทวีเสด็จออกจากพระนคร
พระนางอุทุมพรเทวีได้ทอดพระเนตรเห็นปิงคุตตรมาณพผู้กาลกรรณีนั้นแผ้วถางอยู่ เมื่อทอดพระเนตรมาณพนั้น ด้วยนึกในพระหฤทัยว่า บุรุษกาลกรรณีนี้ไม่สามารถจะทรงสิริเห็นปานดังนี้ไว้ ก็ทรงพระสรวล พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระนางทรงพระสรวลก็กริ้ว ตรัสถามว่า หัวเราะอะไร
พระนางกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ บุรุษผู้ถางทางนี้เป็นสามีคนเก่าของข้าพระบาท ยังข้าพระบาทให้ขึ้นต้นมะเดื่อแล้วเอาหนามสะวงไว้แล้วหนีไป ข้าพระบาทแลดูเขาแล้วคิดว่า บุรุษกาลกรรณีนี้ไม่สามารถจะทรงสิริเห็นปานดังนี้ไว้ จึงหัวเราะ พระราชาตรัสว่าเธอกล่าวมุสา เธอเห็นอะไรอื่น เราจักฆ่าเธอ ตรัสฉะนี้แล้วทรงจับพระแสงดาบ
พระนางมีความเกรงกลัวพระราชอาญา จึงกราบทูลว่า ขอพระองค์ตรัสถามบัณฑิตทั้งหลายก่อน
พระราชาจึงตรัสถามอำมาตย์ว่า ท่านเชื่อหรือ
อำมาตย์ทูลว่า ข้าพระองค์ไม่เชื่อ ชายอะไรจะละสตรีดังเช่นพระเทวีนี้ไป พระเจ้าข้า
พระนางอุทุมพรได้ทรงสดับคำของอำมาตย์ยิ่งกลัวพระราชอาญาเหลือเกิน ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า อำมาตย์จะรู้อะไร เราจักถามมโหสถโพธิสัตว์ จึงตรัสถามมโหสถโพธิสัตว์ว่า
ดูก่อนมโหสถบัณฑิต สตรีผู้รูปงาม และนางนั้นสมบูรณ์ด้วยอาจารมารยาท จะมีบุรุษที่ไม่ปรารถนาสตรีนั้น เจ้าเชื่อเรื่องนี้หรือมโหสถบัณฑิตได้ฟังกระแสพระราชดำรัสนั้น จึงกล่าวว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์เชื่อ บุรุษผู้หาบุญมิได้นั้นย่อมมีในโลกนี้ สิริและกาลกรรณีย่อมร่วมกันไม่ได้ ไม่ว่าในกาลไหน ๆ
พระราชาทรงทราบเหตุการณ์นั้นตามคำของมโหสถก็ทรงหายกริ้ว ทรงยินดีต่อมโหสถ ตรัสว่า
แน่ะเจ้าบัณฑิต ถ้าไม่ได้เจ้า วันนี้ข้าจักเสื่อมจากสตรีแก้วเช่นนี้ ด้วยถ้อยคำของอำมาตย์ผู้โฉดเขลา ข้าได้นางนี้ไว้เพราะอาศัยเจ้า ตรัสชมฉะนี้แล้ว พระราชทานกหาปณะแสนหนึ่งบูชามโหสถโพธิสัตว์
.....................................................
ขอน้อม กาย วาจา จิต บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในกาลทุกเมื่อ
ในทุกทุกขณะจิต ไม่ว่าจะระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณังคัจฉามิ
https://www.facebook.com/Dhammalungta
ครั้งนั้น มีมาณพคนหนึ่ง ชื่อปิงคุตตระเป็นชาวมิถิลา ไปกรุงตักกศิลาเรียนศิลปะในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ เรียนได้รวดเร็ว มาณพนั้นให้ทรัพย์เครื่องตอบคุณอาจารย์แล้วจึงลากลับบ้าน ก็ธรรมเนียมมีอยู่ว่า ถ้าธิดาในสกุลนั้นเป็นผู้เจริญวัย อาจารย์ต้องยกให้แก่ศิษย์ผู้ใหญ่ อาจารย์นั้นมีธิดาอยู่คนหนึ่ง มีรูปงามเปรียบด้วยเทพอัปสร ลำดับนั้น อาจารย์กล่าวกะปิงคุตตรมาณพนั้นว่า เราให้ธิดาแก่เจ้า เจ้าจงพาไปด้วย
แต่มาณพนั้นไม่ใช่ผู้มีบุญ เป็นคนกาลกรรณี ส่วนนางกุมาริกาเป็นผู้มีบุญมาก จิตของปิงคุตตรมาณพมิได้ปฏิพัทธ์เพราะเห็นนางกุมาริกานั้น มาณพนั้น แม้ไม่ปรารถนานางกุมาริกาก็ต้องรับด้วยคิดว่า เราจักไม่ทำลายคำของอาจารย์
พราหมณ์ทิศาปาโมกข์ได้ให้ธิดาแก่มาณพนั้น มาณพนั้นนอน ณ ที่นอนอันมีสิริที่ตกแต่งแล้วในเวลาราตรี ให้ละอายใจเนื่องเพราะนางกุมารีนั้นมาขึ้นนอนด้วย ก็ลงจากที่นอน มานอนที่พื้น ฝ่ายนางกุมาริกาก็ลงมานอนใกล้ ๆ มาณพนั้น มาณพก็ลุกขึ้นไปบนที่นอน นางกุมาริกานั้นก็ขึ้นไปยังที่นอนอีก พอนางกุมาริกาขึ้นไปมาณพก็ลงจากที่นอน นอนที่พื้นอีก
ชื่อว่ากาลกรรณีย่อมไม่ร่วมกับสิริ
นางกุมาริกานอนที่ที่นอน มาณพนั้นนอนที่ภาคพื้น มาณพนั้นยังกาลให้ล่วงไปอย่างนี้สิ้นสัปดาห์หนึ่ง ก็พานางกุมาริกานั้นไหว้อาจารย์ออกจากพระนครตักกศิลา ในระหว่างทางมิได้พูดจาปราศรัยกันเลย ชนทั้งสองมิได้มีความปรารถนากัน
เมื่อได้มาถึงกรุงมิถิลาปิงคุตตรมาณพถูกความหิวเบียดเบียน เห็นต้นมะเดื่อต้นหนึ่งเต็มไปด้วยผลในที่ใกล้พระนคร ก็ขึ้นต้นไม้นั้น เคี้ยวกินผลมะเดื่อ ฝ่ายนางกุมาริกานั้นก็หิวโหยเช่นกัน จึงไปที่โคนต้นไม้กล่าวว่า ข้าแต่นาย จงทิ้งผลลงมาให้ข้าพเจ้าบ้าง
มาณพนั้นตอบว่า มือตีนของเจ้าไม่มีหรือเจ้าจงขึ้นมาเก็บกินเอง
นางก็ขึ้นไปเก็บเคี้ยวกิน มาณพเมื่อเห็นนางขึ้นมา ก็ได้โอกาส รีบลงล้อมสะต้นมะเดื่อด้วยหนามแล้วกล่าวว่า เราได้พ้นจากหญิงกาลกรรณีแล้ว แล้วก็หนีไป นางกุมาริกานั้นเมื่อไม่อาจลงจากต้นมะเดื่อ ก็นั่งอยู่บนนั้นนั่นเอง
วันนั้น พระเจ้าวิเทหราชเสด็จประพาสพระราชอุทยาน ทรงเล่นอยู่ในพระราชอุทยานนั้นแล้วเมื่อประทับนั่งบนคอช้างเสด็จเข้าพระนครในเวลาเย็น ได้ทอดพระเนตรเห็นนางกุมาริกานั้น มีพระหฤทัยปฏิพัทธ์ในนาง จึงตรัสสั่งให้ถามว่า นางมีผู้หวงแหนหรือหาไม่
นางแจ้งว่า สามีของนางที่สกุลตบแต่งให้นั้นมีอยู่ แต่เขาให้ข้าพเจ้านั่งบนต้นไม้นี้ แล้วทิ้งข้าพเจ้าหนีไปเสีย
อำมาตย์กราบทูลความนั้นแด่พระราชา พระราชาทรงดำริว่า ภัณฑะไม่มีเจ้าของ ตกเป็นของหลวง จึงให้รับนางลงแล้วให้ขึ้นคอช้างนำไปราชนิเวศน์ อภิเษกสถาปนาไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี พระนางเป็นที่รัก เป็นที่ชอบพระหฤทัยแห่งพระราชา ชนทั้งหลายกำหนดรู้พระนามของพระนางว่า อุทุมพรเทวี เพราะพระราชาได้พระนางมาแต่อุทุมพรพฤกษ์
อยู่มาวันหนึ่ง เจ้าหน้าที่จ้างชาวบ้านใกล้ประตูเมืองให้แผ้วถางทางเพื่อประโยชน์ในการเสด็จพระราชดำเนินสู่สวนหลวง ปิงคุตตรมาณพเมื่อทำการจ้าง โจงกระเบนมั่นถางทางด้วยจอบ เมื่อทางยังไม่แล้ว พระราชาประทับบนรถที่นั่งกับด้วยพระนางอุทุมพรเทวีเสด็จออกจากพระนคร
พระนางอุทุมพรเทวีได้ทอดพระเนตรเห็นปิงคุตตรมาณพผู้กาลกรรณีนั้นแผ้วถางอยู่ เมื่อทอดพระเนตรมาณพนั้น ด้วยนึกในพระหฤทัยว่า บุรุษกาลกรรณีนี้ไม่สามารถจะทรงสิริเห็นปานดังนี้ไว้ ก็ทรงพระสรวล พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระนางทรงพระสรวลก็กริ้ว ตรัสถามว่า หัวเราะอะไร
พระนางกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ บุรุษผู้ถางทางนี้เป็นสามีคนเก่าของข้าพระบาท ยังข้าพระบาทให้ขึ้นต้นมะเดื่อแล้วเอาหนามสะวงไว้แล้วหนีไป ข้าพระบาทแลดูเขาแล้วคิดว่า บุรุษกาลกรรณีนี้ไม่สามารถจะทรงสิริเห็นปานดังนี้ไว้ จึงหัวเราะ พระราชาตรัสว่าเธอกล่าวมุสา เธอเห็นอะไรอื่น เราจักฆ่าเธอ ตรัสฉะนี้แล้วทรงจับพระแสงดาบ
พระนางมีความเกรงกลัวพระราชอาญา จึงกราบทูลว่า ขอพระองค์ตรัสถามบัณฑิตทั้งหลายก่อน
พระราชาจึงตรัสถามอำมาตย์ว่า ท่านเชื่อหรือ
อำมาตย์ทูลว่า ข้าพระองค์ไม่เชื่อ ชายอะไรจะละสตรีดังเช่นพระเทวีนี้ไป พระเจ้าข้า
พระนางอุทุมพรได้ทรงสดับคำของอำมาตย์ยิ่งกลัวพระราชอาญาเหลือเกิน ลำดับนั้น พระราชาทรงดำริว่า อำมาตย์จะรู้อะไร เราจักถามมโหสถโพธิสัตว์ จึงตรัสถามมโหสถโพธิสัตว์ว่า
ดูก่อนมโหสถบัณฑิต สตรีผู้รูปงาม และนางนั้นสมบูรณ์ด้วยอาจารมารยาท จะมีบุรุษที่ไม่ปรารถนาสตรีนั้น เจ้าเชื่อเรื่องนี้หรือมโหสถบัณฑิตได้ฟังกระแสพระราชดำรัสนั้น จึงกล่าวว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์เชื่อ บุรุษผู้หาบุญมิได้นั้นย่อมมีในโลกนี้ สิริและกาลกรรณีย่อมร่วมกันไม่ได้ ไม่ว่าในกาลไหน ๆ
พระราชาทรงทราบเหตุการณ์นั้นตามคำของมโหสถก็ทรงหายกริ้ว ทรงยินดีต่อมโหสถ ตรัสว่า
แน่ะเจ้าบัณฑิต ถ้าไม่ได้เจ้า วันนี้ข้าจักเสื่อมจากสตรีแก้วเช่นนี้ ด้วยถ้อยคำของอำมาตย์ผู้โฉดเขลา ข้าได้นางนี้ไว้เพราะอาศัยเจ้า ตรัสชมฉะนี้แล้ว พระราชทานกหาปณะแสนหนึ่งบูชามโหสถโพธิสัตว์
.....................................................
ขอน้อม กาย วาจา จิต บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ในกาลทุกเมื่อ
ในทุกทุกขณะจิต ไม่ว่าจะระลึกได้ก็ดี ระลึกไม่ได้ก็ดี พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณังคัจฉามิ
https://www.facebook.com/Dhammalungta
กรุณากรอกข้อความ...