กาลี ศัพท์และความเป็นมา
หนึ่ง-ศัพท์และความเป็นมา
โดย บ.ร. วรรณวิจิตร์
กาลกรรณี ปฐมศัพท์ความเบ็นมาแท้จริงไม่ทราบชัด ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแปลว่า โชคร้ายหรือเสนียด
1.กาลกรรณี เขียนแบบสันสกฤต แปลว่า ความทุกข์ ความวิบัติ ที่มาก็คือ เป็นนามกรนามหนึ่งของพระศรีหรือลักษมี พระแม่เจ้าแห่งโชค ชายาของพระวิษณุ เจ้าในคำสนาพราหมณ์ แต่ศรีหรือสิรินั้นในวรรณคดีบาลี ว่าเป็นธิดาเอกของท้าวธตรฐ ผู้เป็นจตุโลกบาลประจำทิศตะวันออก (อ่านนิทานสิริ-กาลกัณณีของวิจอม ปริดา)
นอกจากที่ขนานนามว่ากาลกรรณีแล้ว ยังมีฉายานามหนึ่งว่า "จัญจลา" แปลว่าโลเลไม่แน่นอน หรือการเปลี่ยนแปลงแห่งโชค ซึ่งจะกล่าวใน โอกาสหลัง ท่านผู้อ่านบางท่านคงสงสัยบ้างว่า ทำไมไปซ้ำกับพระนามพระแม่อุมาและก็น่าฉงนที่พระแม่เจ้าแห่งโชคลาภ เหตุไรจึงกลายเป็นกาลกรรณีไป ทำไมความหมายตรงกันข้ามเช่นนี้ ผู้เขียนสันนิษฐานว่า คงเพราะเหตุท่านไม่ประทานโชคคนเสมอไปนั้นเอง จึงใช้คำเรียกตามความโกรธว่า จัญจลา หนักเข้าก็ปรักปรำให้เป็นกาลกรรณีไปเสียเลย ทั้งในเวลานั้นพราหมณ์ก็กำลังแข่งข้นกันด้วย ล้ทธินิกายคำสนาสนาฮินดูอยู่ เมื่อพ่ายแพ้เเก่เจตนาของประชามติ ก็วางนโยบายรับมา เป็นของตนเสีย ถึงกับยอมลดพระเกียรติคุณของพระลักษมีซึ่งบริสุทธิ์หมดจด มีเมตตาจิตต่อมวลมนุษย์ มาคลุกคลีกับหญิงอารมณ์ร้ายดุดันชื่อว่าเจ้าแม่กาลี ซึ่งเป็นเทวีรูปที่สร้างขึ้นด้วยความกลัวของชาวบ้านที่ยังไร้ความเจริญเพราะเชื่อกันว่าโรคภัยใช้เจ็บร้ายแรงที่เกิดขึ้นนั้น เกิดจากอิทธิฤทธิ์ของเจ้าแม่กาลี จึงช่วยกันยกระดับเยินยอ จนถึงพระอุมา
อีกประการหนึ่ง พระนารายณ์ปางอวตารนั้นก็มีสีพระวรกายดำนิล ไม่ประหลาดไม่ไช่หรือ ที่ลักษมีชายาจะมีพระวรโฉมดำนิลเช่นองค์ท่าน ในครั้งนั้นสีดาก็ทุกข์ระทมหม่นไหม้ เมื่อรูปอวตารไปได้รับความทุกขภัยเดือดร้อน องค์ลักษมีองค์เเท้ก็ย่อมพลอยทุกข์ระทมด้วย องค์ท่านคงพะวงด้วยรูปอวตารเหมือนได้ห่วงบุตรธิดาเป็นแน่แท้
2.กาลกัณณี เขียนตามแบบบบาลี แปลว่าโชคร้ายหรือลางร้าย การอัปโชค แปลดามอักษรว่า หูดำด้วยเหตุการดูลักษณะอย่างหนึ่งของคนโบราณชาติอินเดียโดยเฉพาะพรานป่าเชื่อกันนักหนาว่า ถ้าเห็นหูของตนหรือผู้ใกล้ชิดมีสีมัวดำ ก็คิดว่าตนจะต้องโชคร้ายออกล่าสัตว์มิได้ และอาจได้รับอันตรายด้วย ส่วนความรู้สึกชาวบ้านทั่วไป ก็ถือว่าเป็นลางแห่งความวิบัติของเจ้าตัว และ อาจลุกลามถึงผู้อื่นได้ด้วย
ผู้เขียนคิดว่า คนเราเมื่อถูกเกลียดหรือเกลียดผู้อื่น มีผลร้ายเท่ากัน เช่นเรื่องของกาลกัณณี สมมุติว่าเรา "ต้อง กาลกัณณี " คนอื่นก็มองเราด้วยความเกลียดกลัว เพราะถือว่าเราโชคร้าย และอาจนำโชคร้าย หรือโชคร้ายมาสู่พวกเขาด้วยได้ อาจเป็นจำพวกโรคติดต่อกันในไนไม่ช้า เช่น กาฬโรค ไข้ทรพิษ ผีดาษ อหิวาต์ เราอาจเป็นคนที่กฎหมายต้องการตัว ที่จะทำให้พวกเขาได้รับภัยทางกฎหมายทางใดทางหนึ่ง หรือต้องเป็นพยานเพราะเป็นพวกเดียวกัน จึงต้องคิดนออกห่าง จริงหรือมิจริงก็แล้วแต่ เราก็ตั้งต้นเป็นทุกข์ เพราะเราถูกสังคมต้ออกจากหมู่คณะ และถ้าเราเกลียดพวกเขา ไม่ว่าคนใดคนหนึ่ง เราก็ถูกไฟโมหะแผดเผา จนทุรนทุรายสิ้นความสุข
ท่านอย่าพึ่งคิดว่า การเล่าเรื่องของผู้เขียนนั้นไม่เกี่ยวกับกาลกรรณี และยังเเซกซ้อนคติบางคำปนเปด้วยผู้เขียนมองเห็นประโยชน์ทางใจอยู่บ้าง จึงขอคัดกลอนคติ มาพอได้ระงับอารมณ์สำหรับไว้ต่อสู้กับกาลกรรณีเมื่อถูกมันรุกรานคราวไหน แต่กลอนใครแต่งจำไม่ไม่ใช้เสียเเล้ว เพราะอ่านแต่สมัยยังเด็กๆ อยู่ จำได้แต่ว่าอยู่ในเรื่องมาลัยทอง ท่านผู้ใดเป็นเจ้าของ ก็กราบขออนุญาตเผยเเพร่เป็นคติสอนใจรั้งสติผู้ที่จักนิยมไว้ในที่นี้ด้วย
"อันโมหะพาให้ได้ลำบาก
เหมือนไฟราครุมจิตต์ผิดวิสัย
มิพ้นห่วงบ่วงพาลมารประลัย
จะทำให้เวียนวงเหมือนกงเกวียน
เมื่อสิ้นรักโกรธหลงพะวงจิตติ์
อัมหิตติดกายเหมือนลายเขียน
จะชักนำทำใจให้วนเวียน
จะเบียดเบียนเสี้ยนศึกมินึกเกรง
เพราะโทษาพาให้ใจกระสัน
เหมือนหนึ่งขวันเชือกเหนียวเกลียวเขม็ง
ไม่ทันผูกก็จะพลาดขาดลงเอง
ฉกรรจ์เก่งก่อกรรมรำคาญเคือง"
ปะติดปะต่อได้แค่นี้ พอได้ใจความคงไม่สมบูรณ์ทีเดียว เป็นอันว่า เราจะเกลียดเขาหรือเขาเกลียดเรา ก็หาความสุขไม่ได้ทั้งสองอย่างเราเริ่มผิด กฎศีลธรรม หมดความยุติธรรม เราหาเหตุผลดีกว่านี้ไม่ได้ นอกจากหาความวิบัติทางใดหนึ่งให้กับคนที่เราเกลียด ถ้าทำเขามิได้เราก็จะทำตนเอง
ที่นี้เมื่อเรามีความทุกข์ หน้าตาเราจะหมองคล้ำมากขึ้น พวกที่ตั้งข้อหาไว้แต่แรก ว่าเราเป็นตัวซวยก็จะซวยสมคำเขา เพราะเห็นแล้วนี้ว่าไม่ได้ดำเเต่หู ซวยชัดๆเลย ถ้าเราไม่หนักแน่นสืบความเบ็นมาเหล่านี้ให้แก่ตนเอง หรือไม่รู้จักยกระดับจิตใจให้อภัยแก่ผู้ที่ "พลอย" ทำตนเบ็นศัตรูกับเราโดยไม่มีต้นสายปลายเหตุ ก็เห็นจะต้องฆ่าตัวตายเป็นแน่เเท้ ที่นี้เลยซวยไม่กระดิก ชาดกทางบาลีกล่าวว่า กาลกัณณีนั้นเป็นธิดาเอกของท้าววิรุฬปักษ์ผู้เป็นจัตุโลกบาลประจำทิศตะวันตก
3.กาลกิณี เขียนแบบนี้น่าจะเป็นการเขียนอ่านเสียงเพี้ยนเป็นแน่ ถ้าขึ้นผู้เรียนแปลตามศัพท์ทีละตัว ท่านผู้อ่านคงวิงเวียนไปอีกนาน
4. กาลี คำนี้เขามศัพท์แปลเฉพาะว่า ชั่วร้าย เลวทราม ต่ำ อัปลักษณ์ มีฝอยอออกมาอีกหน่อยหนึ่งว่าหญิงดำ ชรอยจะถอดความมาจากเทวีรูปกาลองค์นั้น (นามพระอุมา)นั่นเองนอกจากนั้นยังหมายถึงมีวรรณะต่ำ เป็นความมืด ตลอดถึงสิ่งหยาบคายต่างๆ ผู้เขียนคิดว่าถึงอย่างไร เจ้าแม่กาลีก็ยังใจดี ตรงกับความรู้สึกชาวบ้านที่นับถือ เพราะขอสิ่งใดมักประทานให้ ไม่ว่าผิดหรือถูก ไม่ต้องสั่งสอนสืบสวนกันให้วุ่นวายเอากับผู้ขอที่เต็มไปด้วยกิเลสร้อยเเปด มักได้ไคร่ดีเต็มไปด้วยกิจกรรมชั่วร้าย เช่นโจรภัย หรือกิจกรรมของแพศยาและอื่นๆ อีกเหลือจะกล่าวได้หมด
ท่านคงคิดว่า คนที่ไปขออะไรต่อมีอะไรนั้น คงรักบูชาท่านด้วยจริงใจ จึงสู้บันดาลบันคลให้ตามอิทธิฤทธิ์จะพิ่งมี ชรอยเหตุนี้กระมัง ความใจดีผิดกาละเทศะ ประทานต่อมนุษย์นั้นก็เป็นไปแต่เรื่องบาป เลยเป็นกรรมอันหนึ่ง เท่ากับต้องสาปพระผู้เบ็นเจ้าไม่ดลจิตดลใจให้ใครคิดเปลี่ยนส่วนกายจากสีดำเป็นสอนบ้างเลย ทั้งที่กาลเวลากล่วงเลยมานานช้า ยังจะติดใจดว่าท่านยังทำร้ายอะไร หรือว่าถ้าให้คงรูปอยู่อย่างนั้น จะได้ขอสบายๆมนุษย์ยังรักฝั่งเสียดายความชั่วอยู่อย่างนี้ แล้วจะนั่งหนีกาลีทำไม ออกจะเอาเปรียบกาลีเกินไป ไม่คุ้มกับการเสียสละเลย น่าเห็นใจท่านที่ต้องทรงเสียสละเพราะเห็นแก่เครื่องเส้นวักตั๊กเเดนเล็กๆ น้อยๆ แต่สิ่งที่ประทานให้นั้นยิ่งใหญ่สมปรารถนาผู้รับ หรือว่า..ความกาลีชั่วร้าย เป็นเครื่องจรรโลงโลก และความดีของมนุษย์ ให้เด่นชิ้นมาหนอ !
ผู้เขียนโทษว่า นี่เองคำสาปเเช่งสมัยใหม่จึงไม่ศักดิ์สิทธิ์สิทธิ์เท่าควร เพราะเมื่อศักดิ์ศรีของพระแม่อุมา ซึ่งเป็นเจ้าของคำสาปแช่งที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในสวรรค์ หรือใครต้องสาปก็ประทานพรให้หายได้ ยังเป็นต้องเสื่อมลง ก็เทวีรูปเป็นเพียงสิ่งจำลอง จะไม่เสื่อมหรือ? และบาปที่ได้ช่วยคนบาป พระเทวีรูปจึงคู่ควรแก่คนชั้นต่ำที่มักแต่ได้เท่านั้น เอาเปรียบท่านทั้งรู้และไม่รู้ นี่ไงล่ะ ที่ปัญญาชนชั้นปราชญ์ของพราหมณ์ จึงต้องสร้างพระลักษมีให้ลักษณะคล้ายกันเพื่อเอาใจในการร่วมคำสนากับประชามติ ไว้บูชาสำหรับบัณฑิตว่า จัญจลา คือกฎของการเปลี่ยนแปลง ทางออก ของปราชญ์ท่านเป็นอย่างนี้
ขอบคุุณที่มา : หนังสือบทความ"กาลีกับโลก"ของอาจารย์ วิ.จอม ปรีดา , บ.ร. วรรณวิจิตร์

#อ่านดวงไทยสบายสบาย ตามสไตล์คุณยายกลิ่นโสม
#เรียนโหราศาสร์ไทยฟรีด้วยตนเองได้ที่เวปบ้านคุณยายกลิ่นโสม



:: https://www.baankhunyai.com
