ดาวกาลีกับโลก

มุขแถลง
การจัดทำหนังสือแนะแนววิชาโหราศาสตร์ชนิดอ่านเบาๆ ในชุด "อุปเทศโหราศาสตร์" บรรยาย ดาวกาลีกับโลก นี้ผู้เขียนมิได้มีเจตนาอื่นใดไปมากกว่าตั้งใจจะส่งเสริมเกียรติคุณอันสูงส่งของตำราแม่บททักษาพยากรณ์ และช่วยกันทำความเข้าใจในเรื่องของดาวกาลกรรณีเเก่นักศึกษาที่นิยมโหราศาสตร์ด้วยกัน แต่การเขียนในหนังสือเล่มนี้บางตอนอาจมีลักษณะคล้ายๆ กับจะแย้งกับมติดั้งเดิมของนักนิยมโหราศาสตร์ทั้งหลาย นั่นก็มิใช่อวดดีกระไรเลย

เพียงแต่หวังและฝัน ที่จะให้ชาวสังคมทักษาพยากรณ์ ได้มองโลกในจุดของดาวกาลกรรณีอย่างเที่ยงตรง ปราศจากความลำเอียง แล้วการพิจารณาแต่ละครั้ง คงจะทำความลังเลต่างๆ น้อยลงไปหน่อย

อันการพิจารณาแบบทักษาพยากรณ์นั้น ก็ยุ่งยากพอการทีเดียว เพราะมีทักษากําเนิดอยู่หลายหัวข้อ อาทิเช่น ชาติทักษาวันเกิด นามทักษา ทักษาเรือนใน ทักษาเรือนนอก ทักษาจร (ประวัติทักษา) และยังต้องพิจารณา"กาลโยค" ว่าต้องด้วยโทษหรือคุณของกระบวนดาวประจำปี เช่น จะเป็นอธิบดี หรือโลกาวินาศ ฯลฯ ดูวุ่นวายต่อการพิจารณาและทั้งซับซ้อนชวนฉงนต่อการปักใจทำนายยิ่งนัก เมื่อค้นข้อมูลเบื้องต้นได้แล้ว ก็ยังเข้าอันดับพยากรณ์ไม่ได้ มาเป็นห่วงดาวพระเคราะห์กุมลัคนาเข้าอีก ยุ่งยากเหลือจะปักใจพยากรณ์อย่างไรดี


ทั้งนี้มิได้หมายความว่า เท่าที่กล่าวมาแล้วนั้น จะใช้ทำนายมิได้เสียที่เดียว คงมีคุณค่ามากเเน่นอน และใช้ได้ดีสำหรับหาพื้นดวงกำเนิด ความเป็นมาตลอดชีวิต ว่าจะเริ่มวิบัติเพราะอะไร สุขสบายเพราะอะไร แม้นจะจับการพยากรณ์จรแล้วชักจะเฝือจะฝืดอีก

หากผู้เล่นไม่ตัดสินใจแบ่งหมวดดาวพระเคราะห์เป็นส่วนๆ และตัดออกทิ้งเสียบ้าง มัวห่วงเดช ศรี มนตรี บาปเคราะห์ ศุภเคราะห์อื่น ๆ และคู่มิตรคู่ธาตุ ซึ่งทำให้ปะปนยุ่งเหยิง เหมือนการเข้าประชุมกัน เมื่อจะแถลงข้อเท็จจริง ก็เห็นแก่หน้าท่านผู้นั้นผู้นี้ คำนึงถึงศักดิ์ศรีบ้าง ความเป็นมิตรกันบ้าง เป็นผู้น้อยบ้าง เลยมิอาจที่จะเสนอหรือสนองได้

เช่นกันกับเรื่องของทักษาพยากรณ์ เมื่อท่านไม่นิยมในกาลกรรณ์ถึงจะประจักษ์มาแก่ตนเองแล้วว่า เราเคยได้ประสพการณ์ที่ดาวกาลกรรณีและดาวบาปเคราะห์ก็เคยให้คุณมาโดยไม่ต้องค้าฝืนกินหลวง หรือต้องจี้ปล้นอะไรเลย ถ้าบาปเคราะห์เหล่านั้นเบ็นผู้เป็นคน ก็ดูประหนึ่งว่า เจ้าหน้าที่ผู้รักษากฎหมายรับสินบนเข้าไปแล้วพูดไม่ออกกรอกตาแล จะคิดค้าน หรือเป็นพวกของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้ ช่างยากเย็นใจจริง ไหนจะเสียดาย มิตรภาพส่วนตัว ไหนจะหวังด้วยลาภยศเครื่องบรรณาการเหตุเพราะมนุษย์เรามินิสัยมักคล้อยตามทัศนะนิยมมากกว่า จะเป็นเอกามติ

สันนิษฐานว่าการที่โบราณ "นิยมทักษานาม" นั่นเป็นความประณีตรอบคอบของท่านในสมัยนั้น ท่านเกรงว่าบุตรหลานของท่านจะไร้รักสามัคคีกัน จะแก่งแย่งริษยาซึ่งกันแลกัน จึงตั้งอันดับเกิดไว้ตามความหมายของดาวพระเคราะห์ เพื่อจะได้สำรวจตรวจตราว่า เจ้าคนไหนจะอาภัพ คนไหนจะไม่ถูกกับคนไหน คนที่เท่าไหร่จะมีความสุข ใครจะเป็นผู้นำความอัปมงคลหรือหายนะ มาสู่วงศ์ญาติและครอบครัว แล้วพยายามใช้อักษรที่มีความหมายเป็น เดช ศรี มนตรี เข้าช่วยเป็นเคล็ดแก้ไข (ท่านองตัดไม้ข่มนาม) ข้อนี้แน่นอนเหลือเกินที่ท่านจะต้องตัดกาลกรรณีออกเพื่อความเป็น สิริมงคลตามความหมาย และนี่ก็ชี้ให้เห็นว่าตามความเป็นจริงแล้ว เพียงต้องการกล่าวขานนาม ประหนึ่งให้พรบุตรธิดาท่าน เท่านั้น เอง... บางรายมีบุตรธิดาเกินกว่าจะนับตามอันดับดาวพระเคราะห์ ก็จัดแบ่งพวกเป็นเพศชายเพศหญิง เป็นวิธีหันเหบ่ายเบี่ยงเพราะความห่วงใยของท่านเอง ความรักทำให้มนุษย์ละเมิดกฏอยู่เสมอ

กฎของท่านก็ตั้งไปเปลี่ยนไปมิได้หยุด เทวดารักษากฎก็ต้องถูกสั่งย้ายไม่เป็นขบวน ที่ผู้เขียนกล่าวไปถึงเทวดาก็อย่าหาว่าผู้เขียนทะเล้นทะลึ่งเลย ธรรมดาตำรับคัมภีร์ทุกเล่มได้ถูกบูชาเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ ถึงเดือนถึงปีก็ต้องมียกเครื่องสำหรับสังเวยพลีกรรมต่างๆ บ่นท่องคาถาเรียกร้อง เพื่อมิให้ท่านเบื่อหน่ายหายหนี (น่าสงสารเทวดา) ที่เคยประจำตำแเหน่งนี้อยู่หยกๆ กลับต้องย้ายไปโน่นมานี่อาจมีบางองค์ท่านคงถือมังสะวิรัติ คุ้นเคยกลับกล้วยอ้อย พอเปลี่ยนตำเเหน่งก็ต้องแหวกทางกุศลไปเสวยเบ็ดไก่ปูปลา ซึ่งเป็นของดาว ไม่เสวยก็อด หากมีองค์ใดองค์หนึ่งไม่ยอมรับเครื่องสังเวย เพราะเกรงทางบุญจะเสีย คงเสด็จหนีหายไปบ้าง ความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์ก็เป็นอันเสื้อมลงอีก

ความอ่อนโยนประณีตของคนโบราณยังมีอีก พอจะชักตัวอย่างให้ฟังได้เล็กน้อย เช่นกรณีของพราหมณ์ชูชก แกเกิดวันเสาร์เบ็นบุตรคนที่5 ชื่อโหงวหรืองัว คือ 5 นั่นเอง เมื่อเฉลิมดวงเรียบร้อยแล้ว ดาวเสาร์ซึ่งเป็นบริวารวันเกิด กลับมาเป็นกาลกรรณีนามกุม ลัคนาร่วมราหู เดชเดิมของวันมาเป็นอายุของนาม (หาดวงดูได้ในอธิบายลิลิตทักษาพยากรณ์ ของหลวงอรรถวาทิธรรมปริวรรต หรือในเล่มหนึ่งเล่มใดที่พอมีตัวอย่าง)

ในฐานะที่ชูชกได้ถือกำเนิดในตระกูลพราหมณ์ เวลาเกิดก็จะต้องมีพิธีแบบอย่างของพราหมณ์ ใช่ว่าเกิดเป็นพราหมณ์นั้นจะมีความรู้เท่ากันหมด เมื่อเกิดชูชกก็จะต้องมีการประชุมพราหมณ์ที่มีความรู้เหนือกว่ามาเป็นประธาน และได้มีการให้ศีลให้พรตามประเพณี ซึ่งในการนี้ต้องมีการพยากรณ์ชาตากรรมเป็นธรรมดา ในวาระนั้นพราหมณ์ทั้งหลายต่างลงความเห็นว่า อายุของชูชกไม่เกิน ๒๐ ปีต้องตาย (บางตำรับว่า ๑๐ ปี) เพราะเสาร์เป็น
กาลกรรณีนามกุมลักนา อสุราก็เกาะกุมลัคน์รุมร้ายนัก( หมายถึงราหู )

อีกเหตุหนึ่งพี่ของชูชกทั้ง 4 คนก็ตายไปหมด (ตามศาสนาพราหมณ์ผู้ใดไร้บุตร หรือเลี้ยงบุตรมิรอดถือเป็นบาป) จำเป็นอยู่เองที่พ่อแม่เหล่ากอของตะแกจะต้องดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อการอยู่รอด จะดีเลวย่อมไม่คำนึงถึง จึงพร้อมใจกันทำพิธีผลัดเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ จากโหงว-งัว หรือห้า เป็น ชูชก ดังที่คำร่ายว่า

"เมื่อนั้น พราหมณ์ทั้งหลายเห็นเหตุ ในทักษาเวทแท้ถนัด มาจึงตัดนามให้ ใส่ชื่อใหม่ว่าชูชก ล้างลามกบาป ด้วยบุญลาภอันหนึ่ง จึงปลูกเสาร์ขึ้นเป็นศรี บมิยายีลัคนา ให้อายุยืน สามคูณคืนขึ้นหก สิบซินะ นามอันตกกรรมโสด คือทุกข์โทษอุบาทว์ อาจให้ฉิบหายตายสลัด ชื่ออันผลัดหมายไซร้ ย่อมทำให้วุฒิ อำรุงศรีสิบไป"

ตามความหมายของร่าย ท่านก็เห็นแล้วว่า ก็ผสมคำสวดอ้อนวอนเพื่อให้ศักดิ์สิทธิ์ตามนั้น ได้กล่าวแล้วว่าจะดีเลวไม่มีใครคำนึงถึง ขอให้อยู่รอดก็แล้วกัน แล้วมันก็พ้นกาลกรรณีเสียเมื่อไหร่ เพราะตะแกก็ต้องอยู่อย่างเลวอยู่อย่างเบียดเบียนเพื่อนมนุษย์ตลอดเวลาตามความหมายของกาลกรรณีกุมลัคนาอยู่นั่นแหละ เพราะบริวารวันกลับเบ็นกาลกรรณีนาม ร่วมเดชของวัน แล้วกลับเป็นอายุของนามกุมลัคนา สองดวงนี้ทายตามอัติโนมัติได้เลยว่าลูกเมียคนในปกครองมักทำให้ร้อนใจ ขาดความเคารพเกรงใจเเละข่มขู่ตลอดเวลา ตลอดชีวิตไม่ว่าทางตรงหรืออ้อม 

และตนเองก็ใช้อำนาจผิดๆ ไม่เกรงใจผู้อื่น และกาลกรรณีกลับเป็นศรี ก็ยิ่งทุเรศใหญ่ทั้งขึ้นทั้งล่อง คำที่เหมาะสมกับตะแก ก็คือตื้อ-ครองโลก เพราะชูชกประพฤติให้น่าสงสาร เที่ยวขอทานความเมตตาจากเพื่อนมนุษย์ เอามาสะสมจนร่ำรวย บุคคลที่ตะแกไปขอนั้น ก็ยากจนกว่าแกอีก เดชเดิมเป็นอายุนาม ร่วมกาลกรรณี ทำให้มินิสัยคาดคั้นเบียดเบียนมากขึ้น จนผิดกาละเทศะ เดชกลับมาเบ็นอุตสาหะ ก็หมายถึงความพยายามเเบบผิดธรรมตา จนดูดื้อด้าน และเต็มไปด้วยพละการ เป็นดาวอายุในตัวด้วย เลยทำให้โลภและเลวดลออดชีวิต ถึงชูชกจะร่ำรวยประหนึ่งมหาเศรษฐี แต่ตะแกก็หาได้อยู่เย็นเป็นสุขสมความร่ำรวยไม่ คนอื่นก็ช่วยใช้ช่วยทำให้ลำบาก มีสิ่งที่ทดแทนที่บริวารเป็นศรี ก็ได้เมียสาวมาขัดหนี้เท่านั้น และเมียสาวนี่เอง เป็นผู้นำความเดือดร้อนมาสู่ตัวชูชกเอง และพระมหาศาสดาแสนประเสริฐพระองค์นั้น

ชูชกอยู่อย่างไม่เคยทำประโยชน์ต่อมนุษย์ร่วมโลก นอกจากผู้ที่มาทำลายตะแกอีกที ตะแกมีหน้าที่เบียดเบียดเพียงประการเดียว ฉวยโอกาสอันคมเค็มของตะแก ขอกระทั่งลูกเมียช้างม้า เบียดเบียนแม้แต่พระสงฆ์องค์เจ้าอันเป็นที่รักเคารพสูงสุดของประชาชนพลเมือง เป็นมนุษย์คนแรกของโลกที่มักได้และบ้าขออย่างมโหฬาร

เคยฉงนเกี่ยวกับอักษร-ช ที่มากลายเป็นศรี ไม่เห็นเกี่ยวกับนามจันทร์สักหน่อย มิอาจารย์บางท่านอธิบายว่า ไทยข้างเหนือของเรามิภาษาคล้ายจีน เรียกย้อนว่า"โกชะชู" เราเรียกว่า "ชูชะโก" เลยถึงบางอ้อ

แต่อีกอย่างปฐมเรื่องราวของเฒ่าชูชกมาแต่ไหนกันแน่ คำว่าโหงวหรือง้องัว (งั่ว) ผู้รู้ท่านว่าเป็นคำไทยข้างเหนือนั่นเอง ที่ใช้อักษรตัวหลังเบ็นสำคัญนั้น มาจากตำราพิธีพิไชยสงคราม

ความจริงหากจะว่าไปอีกทีหนึ่งในมุมกลับ ความดีก็เหมือนพืชบางชนิดที่ปลูกให้งามได้ยากเย็น จำต้องอาศัยสิ่งปฏิกูลมาเป็นปุ๋ยหล่อเลี้ยง จึงงอกงามเติบโตตกดอกออกผลบ้างฉะนี้ ความชั่วอันหนึ่งของชูชก ซึ่งเกิดจากนิสัยโลภมากอยากได้เบ็นเหตุ ก็ได้ส่งผลสะท้อนถึงน้ำพระทัยอันยิ่งใหญ่ สูงส่ง ยากที่มนุษย์ผู้ใดจะพึงปฎิบัติได้ เช่นองค์พระมหาคำสดายอดเคารพของมวลชนหลายสิบล้านคน

มีเรื่องที่จะกล่าวในตอนท้ายนี้เกี่ยวกับภาพราหูกับเกตุอยู่อีกหน่อยหนึ่งคือ ภาพหน้าปกเป็นรูปของราหูตามคติของอินเดียขั้นสูงพวกหนึ่ง ว่าเป็นหัวองแทตย์หรืออสูรคู่กับภาพหน้า (๖) นี้เป็นพระเกตุตำราเดียวกัน สร้างภาพพระเกตุให้มีหาง แต่ประหลาดที่ไม่ใช่นาคหรืองู ตามที่เราทราบกันเป็นส่วนมาก ได้มาจากในหนังสือคัมภีร์โหราศาสตร์อินเดียเล่มหนึ่ง ตามเค้ารูปเดิมนั้นส่วนบนเป็นคน ไม่มีคอ ส่วนล่างเป็นปลาราวกับตระกูลเงือก ชาวภารตะ ผู้หนึ่งได้กรุณาอธิบายว่า เป็นเรื่องของเทวนิยาย ได้เมื่อพระเกตุถูกศรของบุตรเลย คือพระศิวะเจ้า เมื่อตัวขาดส่วนล่างตกลงไปในทะเล มีนางปลาชื่อสตีช่วยไว้ และอธิบายแถมว่านางปลานี้คือ พระนางสตีที่เคยเป็นบุตรสาวในชาติก่อนของพระเกตุเอง และว่ากันว่าเป็นทะเลราศีมินเสียด้วย ฟังแล้วผู้เรียนมั่นไปนาน ที่พระเกตุกลายเป็นพระทักษะไปอีก ไม่ทราบว่าผู้เเต่งนิยายและบันทึกคัมภีร์เอานิทานกี่ตอนมาเบ็นตอนเดียวกัน

แม้ว่าผู้เขียน จะอุปมาอุปมัยจนยืดยาว ก็หวังว่าผู้อ่านที่ฉลาดเหนือกว่าผู้เขียน คงไม่รีบเบื่อที่ผู้เขียนเองขาดความจัดเจน ไม่สามารถทำให้การเรียบเรียงข้อความสั้นกระทัดรัดกว่านี้ได้ (ขอสารภาพว่า) ความรู้สึกของผู้เขียนนั้น เหมือนน้ำน้ำที่ล้นเขื่อนทำนบ สุดที่จะบี่ตป้องอำนาจล้นเจิ่งของทะเลอารมณ์ของผู้เขียนได้อาจเป็นข้อนี้กระมัง จึงมิรู้ส่วนขาดส่วนเกิน ไหนหลัง

หวังความกรุณาอภัย จากผู้รอบรู้ทั้งหลาย ณที่นี้ด้วย .
บ.ร. วรรณวิจิตร์
๒๒ กันยายน ๒๕๑๑


ขอบคุุณที่มา : หนังสือบทความ"กาลีกับโลก"ของอาจารย์ วิ.จอม ปรีดา , บ.ร. วรรณวิจิตร์


By คุณยายกลิ่นโสม:: 141
#อ่านดวงไทยสบายสบาย ตามสไตล์คุณยายกลิ่นโสม
#เรียนโหราศาสร์ไทยฟรีด้วยตนเองได้ที่เวปบ้านคุณยายกลิ่นโสม 102 100450
:: 
https://www.baankhunyai.com
   --------------------
Visitors: 218,170