ทำไมเรียก ดาวมฤตยู
- ทำไมเรียกดาวมฤตยู
อรุณศักดิ์ กิ่งมณี นักวิชาการแห่งกรมศิลปากร อธิบายไว้ในหนังสือเรื่อง "เทพฮินดูผู้พิทักษ์พุทธสถาน" ว่า จากการศึกษาภาพทวารบาลของวัดสำคัญในกรุงรัตนโกสินทร์ทำให้พบว่า ภาพเทพทวารบาลส่วนใหญ่มาจากศาสนาฮินดู และมีเทพอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังคงเป็นปริศนา ไม่รู้ที่มา และมีรูปแบบแปลกๆ เช่น ภาพเทพทวารบาลที่วัดราชนัดดาภาพหนึ่ง วาดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 มีชื่อระบุไว้ใต้ภาพชัดเจนว่า “พระมฤตยู”
แต่เมื่อสืบค้นแล้ว ไม่พบต้นแบบของเทพองค์นี้ในตำราภาพโบราณ จากหนังสือเล่มดังกล่าว ระบุเพิ่มว่า พระมฤตยูอาจเป็น “เทพองค์ใหม่” ซึ่งเพิ่งเกิดขึ้น หลังจากที่ได้มีการค้นพบ “ดาวมฤตยู” ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ดวงใหม่ที่มนุษย์เพิ่งค้นพบในราวสมัยรัชกาลที่ 4 และต่อมาถูกนำมาใช้ในการพยากรณ์ของไทย
- ดาวมฤตยู และอิทพลของดวงดาว
แม้ว่าในทางโหราศาสตร์ มีการจำกัดความถึง ดาวยูเรนัส ว่าเป็น ดาวมฤตยู (เทพเจ้าแห่งความตาย) แต่การสังเกตที่แท้จริง คือการดูตามตำแหน่งสัมพัทธ์ของเทห์ฟากฟ้า หลายตำราทางโหราศาสตร์ สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลิกภาพ มนุษย์ ความสัมพันธ์และเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์ สำหรับดาวมฤตยู มีการระบุบุคลิกภาพเอาไว้ดังนี้
เป็นชาวธาตุ อากาศธาตุ หรือธาตุลม มีบุคลิกภาพ รูปร่างประหลาด อาจสูงโย่ง หรืออ้วนกลมลงพุง ลำตัวเท่ากัน อุปนิสัย รักอิสระ ชอบสันโดษ ไม่ชอบอยู่ใต้บังคับบัญชาของใคร มีสติปัญญาว่องไว ชอบเข้าสังคม ใจคอกว้างขวาง อิสระรักการท่องเที่ยวเดินทาง เป็นนักค้นคว้าชอบพิสูจน์ ชอบทดลอง ไม่ชอบความจำเจ มักเป็นตัวแทนของ นักวิทยาศาสตร์ นักท่องเที่ยว มนุษย์อวกาศ นักสำรวจ โจร นักบุกเบิก ผู้เดินทางมาจากถิ่นไกล สีประจำตัว ไม่มีสีสัน (บ้างว่าเป็นสีแห่งความตาย มีสีม่วง สีดำ) ตัวแทนสัตว์ นกอินทรีย์ เหยี่ยว นกนางแอ่น
ขอบคุณที่มา : https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C%E0%B8%AA%E0%B9%84%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B9%8C/192166