(ต้อง)ตัดเวลาท้องถิ่น(หรือไม่) 1.
ปัญหาโหร : เรื่อง (ต้อง)ตัดเวลาท้องถิ่น(หรือไม่)
อรุณ ลำเพ็ญ
ปัญหาโหร : เรื่อง (ต้อง)ตัดเวลาท้องถิ่น(หรือไม่)
อรุณ ลำเพ็ญ
เรียน ท่านบรรณาธิการพยากรณ์สารที่นับถือ
ผมเป็นนักโหราศาสตร์ต่างจังหวัด ห่างไกลผู้รู้และครูบาอาจารย์ อาศัยความรุ้จากตำหรับตำราบ้าง พอผูกดวงพยากรณ์พื้นๆได้
ตลอดเวลาที่เรียนรุ้มาเกิดปัญหามาตลอดเวลา คือเรื่องเวลาเกิดจะต้องตัดหรือไม่ เพราะอาจารย์บางท่านก็ว่าต้องตัด บางท่านเหตุผลที่ยกมาอ้างเป็นความเห็นส่วนตัวและเป็นความเห็นที่ดีทั้งหลายฝ่าย ผมตัดสินใจไม่ถูก
โปรดแนะนำให้ผมกระจ่างแจ้งสักครั้ง จะเป็นพระคุณยิ่ง
เรื่องเกี่ยวกับเวลามาตราฐาน และ เวลาท้องถิ่นนี้เป็นปัญหาแก่นักโหราศาสตร์ตลอดมาหลายปี ผมถูกถามและตอบมาเป็นส่วนตัวไปมากราย และการตอบในครั้งนี้ด้วยเหตุผลส่วนตัว ท่านก็คงจะยังเคลือบแคลงไม่แน่ใจอีก
จึงขอนำเอาคำชี้แจง ของท่านเจ้ากรมอุทกศาสตร์ทหารเรือในสมัยนั้น คือหลวงสำรวจวิถีสมุทร ซึ่งท่านได้ชี้เหตุและผล ของการแก้เวลาในสมัยนั้น และได้นะพระบรมราชโองการในพระบรมสมเด็จพระเจ้าอยู่รัชกาลที่ ๖ ประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกามาลงไว้โดยละเอียด
แต่เดิมมาปัญหาในเรื่องเวลาก็ไม่มีใครสนใจอะไรกันนัก ต่างก็คอยฟังเสียงเป็นเที่ยงเป็นสัญญาณ จนมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ ทางราชการประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นต้นไป ประเทศสยามจะใช้เวลาซึ่งเร็วกว่าเวลาของเมืองกรีนิช ในประเทศอังกฤษ ๗ ชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าเวลาที่อยู่ก่อนประกาศนี้ ๑๘ นาที ดังนั้นมาความฉงนสนเท่ห์ก็เกิดกับผู้สนใจทั้งหลาย เพราะไม่เข้าใจข้อความที่ประกาศนั้น
เรื่องเวลาเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนกันอยู่แล้วแต่ลักษณะของการที่จะใช้ ถ้าจะใช้กันตามธรรมดาไม่ต้องการความละเอียดถี่ถ้วน แล้วก็ใช้เวลาตามที่เป้นอยู่ได้ แต่ถ้าใช้อย่างละเอียดถี่ถ้วนจริงๆ เช่น ในการหาฤกษ์ ยามหรือ ผูกดวงชะตา ตามทางโหราศาสตร์ แล้วที่ปรากฎตามนาฬิกาก็ไม่ถูก ข้าพเจ้าไม่เคยมีความรู้ทางโหราศาสตร์ แต่ตามที่เข้าใจทางโหราศาสตร์ ต้องการเวลาทีถูกจริงเป็นสำคัญ ถ้าไม่ได้เวลาที่ถูกจริงแล้ว พยากรณ์ก็ย่อมคลาดเคลื่อน อันเวลาที่จะได้แน่แท้นั้นต้องนับจากดวงอาทิตย์ และต้องเกี่ยวกับตำบลที่ ถ้าหลักโหราศาสตร์เป็น เช่นนี้แล้ว การที่นักโหราศาสตร์ ได้รับคำบอกเล่าจากผู้มาขอให้ผูกดวงชะตา ก็ย่อมไม่ได้เวลา ที่ถูกจริง เพราะผู้เกิดมาหากกว่าจะได้มีการจดจำเวลาเกิดไว้แน่นอน ส่วนมากก็คงจดจากนาฬิกาที่ใช้อยู่ ข้าพเจ้าได้เคยเห็นเจ้านายสมัยก่อน เวลาใก้ลที่พระโอรสหรือพระธิดาจะประสูติ เคยมายืมนาฬิกาโครนอมิเตอร์ไปจากอุทกศาสตร์ก็มี แต่จะได้เวลาที่ถูกต้องหรือไม่ข้าพเจ้าไม่ทราบ
เพราะสมัยนั้นข้าพเจ้ายังเป็นผู้น้อยอยู่ ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าทางโหราศาสตร์จะยอมให้ผิดอย่างมากเท่าใด เพราะเวลาทั้งหลายที่ใช้กันอยู่ก่อนหรือในสมัยนี้ หาได้คิดมาจากดวงอาทิตย์จริงไม่ และจะผิดมากน้อยเท่าใดนั้นไม่คงที่ ผิดได้ทั้งเร็วและช้า ตามที่ประกาศว่าเวลาที่ใช้อยู่นี้เร็วกว่าแต่ก่อน ๑๘นาทีนั้นจริง แต่ขอให้เข้าใจเป็นเวลาที่ไม่ได้คำนวณจากดวงอาทิตย์จริง เพราะฉะนั้นถ้าจะนับจากดวงอาทิตย์จริงตามหลักของโหราศาสตร์แล้วก็จะไม่เร้วกว่า ๑๘ นาที อยู่เสมอไป สิ่งเหล่านี้สัมพันธ์อยู่กับตำบลที่และฤดูกาล
หรือถ้าจะพูดถึงฝ่ายศาสนา เช่นเวลา " วิกาล" ตามหลักปฎิบัติสงฆ์ เวลานี้นับเอาเวลาเที่ยงเป็นที่สุดของการขบฉัน ภายหลังเที่ยงไปถือว่าเป็นวิกาล แต่การที่สงฆ์ถือว่าเมื่อนั่นเมื่อนี่เป็นเวลาเที่ยงไปถือว่ามาจากไหน ส่วนมากก็คงมาจากนาฬิกาอันได้ไปจากกรมอุทกศาสตร์นั่นเอง หรือจะมีบางแห่งใช้นาฬิกาแดดบ้าง ถ้ามีวิธีตั้งที่ถูกต้องก็อาจจะเป็นการใก้ลเคียงดีกว่านาฬิกา แต่ถ้าเอานาฬิกาเป็นสำคัญแล้วอาจจะผิดได้มากๆ บางตำบลนาฬิกาอาจจะเที่ยง ภายหลังเวลาเที่ยงจริงจริงตั้ง ๔๐ นาทีก็ได้ หรือเวลาเที่ยงจริง อาจจะเที่ยงก่อนาฬิกาก็ได้ แต่ดูเหมือนจะมีอภัยกันว่า ถ้าไม่เจตนาแล้วก็ไม่ปรับรับผิดคำว่า " วิกาล" ตามพุทธบัญญัติ เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก
ก่อนที่ข้าพเจ้าจะรวบรวมเรื่องนี้ได้เคยไต่ถามจากท่านผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของพระพุทธศาสนาคือเจ้าคุณพระศาสนโสภณ (แจ่ม จตฺตสลฺล) อดีตเจ้าอาวาสวัดมกุฎกษัตริยาราม ท่านก็บอกว่า " ไม่ปรากฎว่าพระพุทธเจ้า ทรงกำหนดไว้อย่างไร เป็นแต่รับสั่งไว้กว้างๆ บางแห่งบอกชัดว่าเวลาวิกาลเป็นกลางคืนก็มี และตามที่ท่านผู้ทรงภูมิรู้สูงๆ เข้าใจหรือเชื่อกันก็ขยับจะเชื่อว่า วิกาลนับเฉพาะกลางคืน "
และการที่สงฆ์ทั้งหลายในลัทธิเถรวาทในประเทศไทยปฎิบัติกันอยู่นับ จากเที่ยงไปแล้วจนถึงรุ่งอรุณเป็นเวลาวิกาลนั้น แต่เดิมจะเป็นพระสาวกหมู่หนึ่งพร้อมใจกันกำหนดลงไปเอง หรือพระพุทธเจ้าจะได้ทรงปฎิบัติมาเช่นนั้นก็ทราบไม่ได้ แล้วก็เลยปฎิบัติสืบเนื่องมาจนบัดนี้ ถึงแม้จะมีผู้เห็นกันบ้างว่าวิกาลนั้นเป็นเวลาเฉพาะกลางคืน ก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพราะเป็นเรื่องซึ่งฝังจิตใจประชาชนจนแน่นเฟ้นเสียแล้ว ถ้าขืนไปเปลี่ยนเข้าก็น่าจะถูกนินทาว่าพระหาเรื่องฉันข้าวเย็น
ความมุ่งหมายข้อใหญ่ของเรื่องนี้ ก็คือ แสดงให้ทราบถึงเหตุแห่งความช้าเร็วของเวลาจริง ที่ใช้อยู่ในขณะนี้ ผิดกันอยู่อย่างไร และจะทำให้ถูกได้อย่างไร
อรุณ ลำเพ็ญ
หน้าปัญหาโหรนี้ จะเปิดเป็นประจำทุกเล่มเพื่อเป็นการอนุเคราะห์แก่บรรดานักโหราศาสตร์ ริเริ่ม และกำลังเรียนรู้ในโหราศาสตร์ มักเกิดปัญหาขัดข้องในการเรียน การอ่าน ตำรับตำราทั้งหลายขึ้น แล้วมักไม่รู้จะถามใคร ถ้าท่านเกิดปัญหาในการเรียนโหราศาสตร์นี้ โปรดจดหมายถามมาที่บรรณาธิการ พยากรณ์สาร และโปรดส่งซองจ่าหน้าถึงตัวท่านด้วย เพราะการจะตอบปัญหาทุกปัญหาในหน้าพยากรณ์สาร อาจไม่สะดวกจะได้ตอบเป็นส่วนตัวให้ท่าน ปัญหาใดที่น่าสนใจและประโยชน์แก่ส่วนรวมก็จะตอบในหน้าพยากรณ์สาร ผู้ตอบมิได้คิดจะตั้งตนเป็นสัพพัญญูอยู่ในโหราศาสตร์ เพียงปราถนาดีที่จะเป็นเพื่อนและพี่เลี้ยงให้นักโหราศาสตร์ที่เพิ่งเข้ามาสู่วงการโหราศาสตร์จะได้แก้ปัญหาได้ ปัญหาใดที่ผมไม่รู้ก็จะพยายามไถ่ถามผู้รู้หาคำตอบมาให้ แต่ถ้าปัญหาใดสูงสุดเกินสติปัญญาก็จนใจตอบไม่ได้ |
ปัญหาโหร : เรื่อง (ต้อง)ตัดเวลาท้องถิ่น(หรือไม่)
อรุณ ลำเพ็ญ
เรียน ท่านบรรณาธิการพยากรณ์สารที่นับถือ
ผมเป็นนักโหราศาสตร์ต่างจังหวัด ห่างไกลผู้รู้และครูบาอาจารย์ อาศัยความรุ้จากตำหรับตำราบ้าง พอผูกดวงพยากรณ์พื้นๆได้
ตลอดเวลาที่เรียนรุ้มาเกิดปัญหามาตลอดเวลา คือเรื่องเวลาเกิดจะต้องตัดหรือไม่ เพราะอาจารย์บางท่านก็ว่าต้องตัด บางท่านเหตุผลที่ยกมาอ้างเป็นความเห็นส่วนตัวและเป็นความเห็นที่ดีทั้งหลายฝ่าย ผมตัดสินใจไม่ถูก
โปรดแนะนำให้ผมกระจ่างแจ้งสักครั้ง จะเป็นพระคุณยิ่ง
วิรัตน์
.........
.........
เรื่องเกี่ยวกับเวลามาตราฐาน และ เวลาท้องถิ่นนี้เป็นปัญหาแก่นักโหราศาสตร์ตลอดมาหลายปี ผมถูกถามและตอบมาเป็นส่วนตัวไปมากราย และการตอบในครั้งนี้ด้วยเหตุผลส่วนตัว ท่านก็คงจะยังเคลือบแคลงไม่แน่ใจอีก
จึงขอนำเอาคำชี้แจง ของท่านเจ้ากรมอุทกศาสตร์ทหารเรือในสมัยนั้น คือหลวงสำรวจวิถีสมุทร ซึ่งท่านได้ชี้เหตุและผล ของการแก้เวลาในสมัยนั้น และได้นะพระบรมราชโองการในพระบรมสมเด็จพระเจ้าอยู่รัชกาลที่ ๖ ประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกามาลงไว้โดยละเอียด
เวลา
ความสงสัยได้เกิดขึ้นแกชนส่วนมากในเรื่องเวลา ที่ว่าเราใช้เร็วไปกว่าความจริง ๑๘ นาทีเพราะส่วนมาก ไม่ทราบต้นสายปลายเหตุ นอกจากบรรดาผุ้ซึ่งเคยศึกษาวิชาดาราศาสตร์มาแล้วเท่านั้นที่จะเข้าใจ เรื่องของเวลาย่อมเกี่ยวข้อง อยู่กับประชาชนทั่โลก ความสสัยสนเท่ห์ ย่อมมีอยู่ทั่วไป จึงเห็นว่าเป็นการสมควรที่จะทำความเข้าใจกันไว้บ้าง ถึงแม้วาในเรื่องนี้จะเป็นวิทยาการชั้นสูง ซึ่งเกี่ยวกับวิชาดาราศาสตร์ อันเป็นการยากที่จะทำความเข้าใจโดยง่าย แต่ถ้าท่านอ่านโดยพินิจพิเคราะห์แล้วก็คงไม่เหลือวิสัยที่จะเข้าใจ แต่เดิมมาปัญหาในเรื่องเวลาก็ไม่มีใครสนใจอะไรกันนัก ต่างก็คอยฟังเสียงเป็นเที่ยงเป็นสัญญาณ จนมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ ทางราชการประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๖๓ เป็นต้นไป ประเทศสยามจะใช้เวลาซึ่งเร็วกว่าเวลาของเมืองกรีนิช ในประเทศอังกฤษ ๗ ชั่วโมง ซึ่งเร็วกว่าเวลาที่อยู่ก่อนประกาศนี้ ๑๘ นาที ดังนั้นมาความฉงนสนเท่ห์ก็เกิดกับผู้สนใจทั้งหลาย เพราะไม่เข้าใจข้อความที่ประกาศนั้น
เรื่องเวลาเป็นเรื่องที่สลับซับซ้อนกันอยู่แล้วแต่ลักษณะของการที่จะใช้ ถ้าจะใช้กันตามธรรมดาไม่ต้องการความละเอียดถี่ถ้วน แล้วก็ใช้เวลาตามที่เป้นอยู่ได้ แต่ถ้าใช้อย่างละเอียดถี่ถ้วนจริงๆ เช่น ในการหาฤกษ์ ยามหรือ ผูกดวงชะตา ตามทางโหราศาสตร์ แล้วที่ปรากฎตามนาฬิกาก็ไม่ถูก ข้าพเจ้าไม่เคยมีความรู้ทางโหราศาสตร์ แต่ตามที่เข้าใจทางโหราศาสตร์ ต้องการเวลาทีถูกจริงเป็นสำคัญ ถ้าไม่ได้เวลาที่ถูกจริงแล้ว พยากรณ์ก็ย่อมคลาดเคลื่อน อันเวลาที่จะได้แน่แท้นั้นต้องนับจากดวงอาทิตย์ และต้องเกี่ยวกับตำบลที่ ถ้าหลักโหราศาสตร์เป็น เช่นนี้แล้ว การที่นักโหราศาสตร์ ได้รับคำบอกเล่าจากผู้มาขอให้ผูกดวงชะตา ก็ย่อมไม่ได้เวลา ที่ถูกจริง เพราะผู้เกิดมาหากกว่าจะได้มีการจดจำเวลาเกิดไว้แน่นอน ส่วนมากก็คงจดจากนาฬิกาที่ใช้อยู่ ข้าพเจ้าได้เคยเห็นเจ้านายสมัยก่อน เวลาใก้ลที่พระโอรสหรือพระธิดาจะประสูติ เคยมายืมนาฬิกาโครนอมิเตอร์ไปจากอุทกศาสตร์ก็มี แต่จะได้เวลาที่ถูกต้องหรือไม่ข้าพเจ้าไม่ทราบ
เพราะสมัยนั้นข้าพเจ้ายังเป็นผู้น้อยอยู่ ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าทางโหราศาสตร์จะยอมให้ผิดอย่างมากเท่าใด เพราะเวลาทั้งหลายที่ใช้กันอยู่ก่อนหรือในสมัยนี้ หาได้คิดมาจากดวงอาทิตย์จริงไม่ และจะผิดมากน้อยเท่าใดนั้นไม่คงที่ ผิดได้ทั้งเร็วและช้า ตามที่ประกาศว่าเวลาที่ใช้อยู่นี้เร็วกว่าแต่ก่อน ๑๘นาทีนั้นจริง แต่ขอให้เข้าใจเป็นเวลาที่ไม่ได้คำนวณจากดวงอาทิตย์จริง เพราะฉะนั้นถ้าจะนับจากดวงอาทิตย์จริงตามหลักของโหราศาสตร์แล้วก็จะไม่เร้วกว่า ๑๘ นาที อยู่เสมอไป สิ่งเหล่านี้สัมพันธ์อยู่กับตำบลที่และฤดูกาล
หรือถ้าจะพูดถึงฝ่ายศาสนา เช่นเวลา " วิกาล" ตามหลักปฎิบัติสงฆ์ เวลานี้นับเอาเวลาเที่ยงเป็นที่สุดของการขบฉัน ภายหลังเที่ยงไปถือว่าเป็นวิกาล แต่การที่สงฆ์ถือว่าเมื่อนั่นเมื่อนี่เป็นเวลาเที่ยงไปถือว่ามาจากไหน ส่วนมากก็คงมาจากนาฬิกาอันได้ไปจากกรมอุทกศาสตร์นั่นเอง หรือจะมีบางแห่งใช้นาฬิกาแดดบ้าง ถ้ามีวิธีตั้งที่ถูกต้องก็อาจจะเป็นการใก้ลเคียงดีกว่านาฬิกา แต่ถ้าเอานาฬิกาเป็นสำคัญแล้วอาจจะผิดได้มากๆ บางตำบลนาฬิกาอาจจะเที่ยง ภายหลังเวลาเที่ยงจริงจริงตั้ง ๔๐ นาทีก็ได้ หรือเวลาเที่ยงจริง อาจจะเที่ยงก่อนาฬิกาก็ได้ แต่ดูเหมือนจะมีอภัยกันว่า ถ้าไม่เจตนาแล้วก็ไม่ปรับรับผิดคำว่า " วิกาล" ตามพุทธบัญญัติ เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก
ก่อนที่ข้าพเจ้าจะรวบรวมเรื่องนี้ได้เคยไต่ถามจากท่านผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของพระพุทธศาสนาคือเจ้าคุณพระศาสนโสภณ (แจ่ม จตฺตสลฺล) อดีตเจ้าอาวาสวัดมกุฎกษัตริยาราม ท่านก็บอกว่า " ไม่ปรากฎว่าพระพุทธเจ้า ทรงกำหนดไว้อย่างไร เป็นแต่รับสั่งไว้กว้างๆ บางแห่งบอกชัดว่าเวลาวิกาลเป็นกลางคืนก็มี และตามที่ท่านผู้ทรงภูมิรู้สูงๆ เข้าใจหรือเชื่อกันก็ขยับจะเชื่อว่า วิกาลนับเฉพาะกลางคืน "
และการที่สงฆ์ทั้งหลายในลัทธิเถรวาทในประเทศไทยปฎิบัติกันอยู่นับ จากเที่ยงไปแล้วจนถึงรุ่งอรุณเป็นเวลาวิกาลนั้น แต่เดิมจะเป็นพระสาวกหมู่หนึ่งพร้อมใจกันกำหนดลงไปเอง หรือพระพุทธเจ้าจะได้ทรงปฎิบัติมาเช่นนั้นก็ทราบไม่ได้ แล้วก็เลยปฎิบัติสืบเนื่องมาจนบัดนี้ ถึงแม้จะมีผู้เห็นกันบ้างว่าวิกาลนั้นเป็นเวลาเฉพาะกลางคืน ก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไข เพราะเป็นเรื่องซึ่งฝังจิตใจประชาชนจนแน่นเฟ้นเสียแล้ว ถ้าขืนไปเปลี่ยนเข้าก็น่าจะถูกนินทาว่าพระหาเรื่องฉันข้าวเย็น
ความมุ่งหมายข้อใหญ่ของเรื่องนี้ ก็คือ แสดงให้ทราบถึงเหตุแห่งความช้าเร็วของเวลาจริง ที่ใช้อยู่ในขณะนี้ ผิดกันอยู่อย่างไร และจะทำให้ถูกได้อย่างไร
#By_คุณยายกลิ่นโสม 

#อ่านดวงไทยสบายสบายตามสไตล์คุณยายกลิ่นโสม

#ฟรี!!เรียนดูดวงฟรี!!เรียนโหราศาสตร์ไทยฟรีที่บ้านคุณยายกลิ่นโสม
#โหราศาสตร์ไทยเรียนด้วยตนเองฉบับคุณยายกลิ่นโสม ได้ที่ #htthttp://www.baankhunyai.com 



------------------------------------
สนใจดูดวงติดต่อ: baankunyai





