ดาวเจ้าฤกษ์
ดาวเจ้าฤกษ์ โดย.. ประทีป อัครา
(บรรยายที่สมาคมโหรแห่งประเทศไทยเมื่อวันที่ ๑๕ มินาคม ๒๕๑๒)
เรื่องฤกษ์นั้นเป็นเรื่องที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป เพราะเป็นหลักเกณฑ์ที่มีบทบาทอยู่ในธุรกิจและประจำวันของคนเราอยู่มากนับตั้งแต่เกิดมาทีเดียว โดยเฉพาะในสถานที่อันเป็นสถาบันโหรแห่งนี้ เชื่อได้ว่ามีผู้รู้เรื่องฤกษ์ชั้นดีอยู่ไม่น้อย และคงมีอยู่หลายท่านที่มาฟังจะเป็นผู้มีความรอบรู้ในเรื่องดีกว่าผู้บรรยายเสียด้วยซ้ำไป
อย่างไรก็ตาม โดยที่วิชาโหราศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีความละเอียดลึกซึ้งงและชับซ้อนอยู่มากและเป็นศาสตร์ที่เรียนกันไม่รู้จบ จึงมีเงื่อนแง่ให้คิดให้ค้นและให้ติดตามอยู่เสมอ
เรื่อง"ดาวฤกษ์" นี้ก็เป็นเงื่อนแง่ประการหนึ่ง "ฤกษ์" ซึ่งยังไม่สู้เป็นที่รู้กันแพร่หลายนัก จึงหวังไว้ว่าผมจะไม่ทำให้เวลาของบรรดาท่านที่กรุณาให้เกรียติมาฟังเสียไปโดยเปล่าประโยชน์เสียทีเดียว
ก่อนที่จะกล่าวถึง "ดาวเจ้าฤกษ์" ผมใคร่จะกล่าวถึงความหมายของฤกษ์ในคัมภีร์นี้เสียก่อน เพราะมีความแตกต่างกับที่ปรากฎในหนังสือตำราทั่วๆ ไปอยู่บ้างดังนี้
ความหมายของฤกษ์ ๙ หมวด
ทฤทโธ หมายถึง ขอ ติดต่อ เจรจา
มหัทธโน " เงิน ผลประโยชน์ ทรัพย์สิน
โจโร " แข่งขัน ชิงชัย ภยันตรายอันมนุษย์เป็นผู้ก่อ
ภูมิปาโล " การสร้างสรรให้ถาวร การปกครอง การสร้างบ้าน สร้างเมือง
เทสาตรี " เดินทาง โยกย้าย
เทวี " นางพญา หญิงสูงสักดิ์
เพชรฆาต " อุบัติการแห่งธรรมชาติ ภยันตรายอันเทพยดาฟ้าดินเป็นผู้บันดาล
ราชา " พระราชา ชายสูงศักดิ์
สมโณ " ความสงบ ความสุขอย่างมีสันติ
ท่านอาจจะแปลกไม่คุ้นกับความหมายเหล่านี้มาก่อน และอาจจะสงสยว่า"ทฤทโธ" ทำไมไม่แปลว่า "ขอทาน" หรือทำไมจึงใช้คำว่า "เพชรฆาต" ไม่ใช้ว่า "เพบรราด" เหมือนกับตำราอื่นๆเขา ข้อนี้รับรองว่าไม่ได้เกิดเพราะความอุตริวิตถารของผมโดยไป"แผลง" หรือ "แปลง"ตำราแต่อย่างใตเลย ได้ถ่ายทอดมาตาม "คัมภีร์ดาวเจ้าฤกษ์" ทุกประการ
การที่ตำราส่วนมากใช้คำว่า "เพชรฆาต" แทนที่จะใช้คำว่า "เพชรฆาต" นั้นสันนิษฐานว่า ในสมัยก่อนนั้นการศึกษาวิชามักจะศึกษาจากปากจากคำของครูกันเป็นพื้น เมื่อจะจดจะบันทึกก็ต้องจดตามคำบอก คำว่า "เพชรฆาด" สั่งไม่ออกเสียงตัว "ร" เช่นเดียวกับคำว่า "เพชรบุรี จึงถูกจดกันเป็น "เพฌชฆาต" ไปเพราะเป็นคำที่คุ้นหูกันมากกว่า "เพชรฆาต" ซึ่งรู้และใช้กันนเฉพาะในวงการโหร ทั้งนี้เป็นเพียงความคิดเห็นของผมที่นำมาเสนอสู่กันฟัง ส่วนท่านจะวินิจฉัยเลือกใช้คำใดก็สุดแต่อัธยาศัย
อาจารย์ผู้กรุณาสอนวิชา "ดาวเจ้าฤกษ์" นี้ให้ ได้อธิบายให้พ้งว่า
ความหมายของฤกษ์ทุกฤกษ์ในคัมภีร์นี้ได้กล่าวไว้เป็นกลาง ๆ ทั้งสิ้น ส่วนที่เอนเอียงไปในทางใดทางหนึ่ง จะชั่วก็ตามหรือดีก็ตาม ขึ้นอยู่ที่ฤกษ์นั้นให้โทษหรือให้คุณเป็นสำคัญ
เพื่อให้ท่านเข้าใจความหมายของฤกษ์ทั้ง ๙ หมวดนี้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผมขอถ่ายทอดคำอธิบายของอาจารย์มาบรรยายให้ฟังดังนี้
ทฤทโธ
ถ้าให้คุณ จะทำให้ประสบผลดีในการติดต่อเจรจา, หรือการทุต และถ้าเป็นฤกษ์ กำเนิดให้คุณ จะทำให้เจ้าชะดาเบ็นผู้มีความโอบอ้อมอารี มีความเสียสละสูง ใจกว้าง ถ้าขอก็จะขออย่างมีเกิยรติคือขอให้เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม ไม่ใช่เพื่อส่วนตัว และมักจะเบ็น "ผู้ถูกขอ" มากกว่าจะเป็น "ผู้ขอ"
ถ้าให้โทษ จะทำให้เป็นคนใจแคบ เอารัดเอาเปรียบเพื่อนเห็นแก่ได้และเป็น "คนขี้ขอ" อย่างปราศจากความละอาย ผู้หญิงที่ถือกำเนิดเกิดมาใต้ฤกษ์'" ทฤทโธให้โทษ" มักจะเป็นคนที่เพื่อนบ้านเอือมระอาในความเป็นคนขี้ขอของเธอ ขอพริก ขอกระเทียม ฯลฯ จิปาถะ นี่เองเป็นเหตุให้ฤกษ์ทฤทโธ ถูกแปลว่า"คนขอทาน" เพราะผู้บันทึกตำราเผอิญไปพบทฤทโธประเภทให้โทษเข้า
มหัทธโน
ถ้าให้คุณ จะทำให้เกิดผลประโยชน์ อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง
ถ้าให้โทษ จะทำให้เกิดความอัตคัตขาดแคลน - และร้อนเงินอยู่ตลอดเวลา
ถ้าให้คุณ จะได้ครอบครองทรัพย์สินถาวร สามารถสร้างหลักฐานได้สำเร็จ
เทวี
ถ้าให้คุณ จะทำให้เบ็นผู้แคล้วคลาดจากพิบัติภัยต่าง ๆ
ราชา





