ตำราโหรไทย

      ตำราโหรไทย  โดย... ประทีป อัครา
     นักโหราศาสดร์ที่ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองโดยอาศัยหนังสือและตำราเกือบทุกท่าน เมื่อศึกษาๆไปแล้วมักจะหนีไม่พ้นจากการมาถึงจุดบันจบจุดหนึ่งซึ่งจะต้องรำพึงรำพรรณ์เป็นความ ทำนองเดียวกันว่า "ยิ่งเรียนทำไมยิ่งโง่"

     และแล้ววิชาโหราศาสตร์ก็ได้กลายเบื้นวิชาประหลาดที่ "ความรู้" กับ "ความสามารถ"มักจะแยกตัวจากกันอยู่เสมอ เหมือนน้ำกับน้ำมันที่ไม่มีวันจะรวมกันได้สนิท

      ผู้ศึกษาที่ได้อ่านตำราเล่มแรกพอเข้าใจควานหมายของดาวและภพบ้างแล้ว ส่วนมากจะสามารถนำเอาความเข้าใจนั้นไปใช้พยากรณ์ได้โดยสะดวกใจ  ไม่สับสน ถึงแม้จะผิดบ้างก็ไม่ใคร่จะถือเบิ๋นเรื่องสำคัญนัก เพราะคิดเสียว่าเพิ่งจะเริ่มเรียนเริ่มรู้ แต่ถ้าไปพยากรณ์ถูกต้องเข้าก็เกิดความยินดีปรีดาปลื้มอกปลื้มใจทำให้กระตือรือร้นที่จะขวนขวายหาความรู้ให้กว้างขวาง เพื่อจะใด้พยากรณ์ได้ถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้นต่อไป

     เมื่อศึกษาตำราเล่มที่๒ เล่มที่๓  เพิ่มขึ้น เวลาพยากรณ์ก็จะต้องระมัดระวังพิจารณาหลักเกณฑ์ที่ได้เรียนรู้ใหม่ โดยใช้ความรอบคอบเพิ่มขึ้นด้วยไม่ง่ายเหมือนตอนแรกที่รู้ตำราแค่เล่มเดียวและมีกฎยึดถือเพียงกฎเดียว เมื่อยิ่งศึกษาตารามากขึ้นเป็น ๕เล่ม ๑๐เล่ม หลักเกณฑ์ในการพยากรณ์ก็เพิ่มขึ้นเป็น ๕หลัก ๑๐หลัก ทำให้เกิดความสับสนจนในที่สุดเลยไม่กล้าพยากรณ์เพราะเหตุที่ในตำราไม่ใด้ให้กฎแบ่งแยกไว้ว่าหลักไว้ไหนว่า หลักไหนสำคัญกว่าหลักไหน ควรใช้หรือไม่ควรใช่ข้อไหนในที่เช่นไรและเมื่อไร

     ผลจากการศึกษาในทำนองนี้ทำให้เป็นที่ประจักษ์กันในวงการโหราศาสตร์ทั่วๆ ไปว่าแม้จะศึกษาตำราเดียวหรือครูเดียวกันก็ตาม จะอาศัยได้เพียงเอาไว้หารือกันเท่านั้น ถ้านำดวงๆเดียวกันแยกกันไปพยากรณ์ หวังได้ยากเหลือเกินที่จะได้คำพยากรณ์เหมือนกัน คนหนึ่งจะว่าไปอย่างหนึ่ง อีกคนจะว่าไปอิกอย่างหนึ่ง แม้แต่ครูกับศิษย์พยากรณ์ดวงๆ เดียวกัน ถ้าให้แยกกันไปพยากรณ์แล้วก็ยังมักจะพยากรณ์ไปเสียคนละเรื่องอีกเหมือนกัน

     ต่างก็สงสัยว่าเพราะเหตุไร จึงเป็นเช่นนั้นไปได้ในที่สุดก็ได้คำตอบว่า อันที่จริงความรู้ ที่เรียนกันมาจนท่องได้ คล่องปากจำได้ขึ้นใจนั้นล้วนแต่เป็น "หลักวิชา" อันเป็นเรื่องของความหมายต่างๆ ที่ใช้กันในวิชาโหราศาสตร์เท่านั้น ยังหาได้เรียน "กฎ" สำหรับจะนำเอาหลักวิชาที่เรียนมาไปใช้ให้เป็นที่แน่นอนไม่ เมื่อไม่มี "กฎ" บังคับจุดพยากรณ์ว่าเมื่อไรต้องพยากรณ์กัน ที่ตรงไหนหรือต่องพยากรณ์กันเรื่องอะไร ครูและศิษย์ซึ่งเป็นคนละคนต่างจิตต่างใจ ก็มีเเสรีเต็มที่ในการเลือกฝจุดพยากรณ์และเรื่องพยากรณ์เอาตามใจชอบ ตามรสนิยมและนิสัยของตนบ้าง ตามอิทธิพลแห่งเหตุการณ์และสิ่งแวดล้อมในขณะนั้นบ้าง เช่นตัวเองมีความขวักไขว่สนใจในเรื่องคู่ หรือเหตุการณ์ หรือสิ่งแวดล้อมในขณะนั้นมักเกี่ยวกับเรื่องคู่ ก็มักจะไปสนใจหาจุดพยากรณ์เฉพาะเรื่องคู่ เป็นต้น 

     วิชาโหราศาสตร์นั้นมีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนไม่ต่างจากศาสตร์อื่นๆ เพราะฉะนั้นเมื่อนักโหราศาสตร์ได้เรียนกฎเกณฑ์มาด้วยกันแล้ว จะเป็นเพื่อนกับเพื่อนหรือศิษย์กับครูก็จะต้องรู้เท่ากัน และต้องพยากร์ดวงเดียวกันในจุดเดียวกัน เช่นเดียวกับผู้ี่เรียนวิชาเลขคณิตมาด้วยกัน การทำเลขโจทย์เดียวกัน จะต้องทำวิธีเดียวกันและต้องได้คำตอบเหมือนกันทั้งเพื่อนทั้งครูและศิษย์จะแตกต่างกันไปไม่ได้ 

     เช่นโจทย์เลขให้มาว่ามีเงินอยู่ ๒ บาท เก็บได้อีก ๕ บาทดังนี้ ทุกคนก็จะต้องทำเลขข้อนี้ ด้วยวิธีบวก และจะต้องได้ผลตรงกันว่าจะมีเงินรวมกัน ๗ บาท
 
     หรือตั้งโจทย์ว่าซื้อสมุดราคาเล่มละ ๒ บาท มาจำนวน ๕ เล่ม ทุคนก็จะต้องทำเลขข้อนี้ ด้วยวิธีคูณเหมือนกัน  และต้องได้คำตอบตรงกันว่าราคาสมุดทั้งหมดนั้นเป็นเงิน ๑๐ บาทเป็นต้น

    มีปัญหาถามกันอยู่เสมอว่า " เพราะอะไรเมื่อเรียนรู้และเข้าใจ ตำราและหลักวิชาทุกอย่างดีตลอดแล้ว จึงยังพยากรณ์กันไม่ใคร่ได้" 

ท่านผู้ใหญ่ในวงการโหรได้เคยอธิบายให้ฟังว่า "เพราะรู้ตลอดไม่จริง วิชาโหรษสาสตร์นั้นท่านได้แยกไว้เป็น ๒ ภาค เป๋น " ภาคตำรา" ภาคหนึ่ง และเป็น"ภาคมุขปาฐ" ภาคหนึ่ง

     การแยกตำรานี้ท่านได้ยอกให้ทราบเป็นทำนองบอกใบ้ไว้ในนิทานเรื่องราหู ซึ่งรู้กันแพร่หลายแม้ผู้ที่ไม่มีความเข้าใจในวิชาโหราศาสตร์เลยก็ยังรู้
 
     เรื่องของราหูมักจะมีสอดแทรกอยู่ในวรรณคดีเกือบทุกเรื่อง ในลักษณะของอสูรผู้มีแต่ร่างกายท่อนบนอยู่เพียงครึ่งเดียวเนื่องจากถูกจักร์ของพระอินทร์เข้าที่กลางลำตัวทำให้ร่างกายขาดออกเป็น ๒ ท่อน แต่โดยที่ราหูได้ดื่มน้ำอมฤตเข้าไปก่อนทำให้ร่างกายกลายเป็นทิพย์จึงยังไม่ตาย

     ปริศนาที่บูรพาจารย์แฝงไว้ให้คิดในเรื่องราหูก็คือ ร่างกายของราหูอีกท่อนหนึ่งซึ่งเป็นทิพย์ไม่เน่าเบื่อยเหมือมกันไปอยู่เสียที่ไหน?

     ราหูนั้นก็คือ "ตำราโหราศาสตร์" นั่นเอง ราหูท่อนบนเทียบได้กับตำราที่เห็นกันได้ทั่วๆไป ความรู้ที่มีอยู่ในตำราจึงเท่ากับความรู้เพียงครึ่งเดียวเท่านั้น การรู้และเข้าใจนพียงตำรา จึงจะว่าเป็นการรู้และเข้าใจวิชาโหราศาสตร์ตลอดแล้วยังไม่ได้ ต้องหาความรู้อีกครึ่งหนึ่งมาให้ครบตัวจึงจะเรียกได้ว่ารู้ตำราตลอดหรือรู้ครบคัมภีร์

     ตำรา "ภาคมุขปาฐ" เป็นสิ่งอยู่ลับหูลับตาห่างไกลจากการรู้เห็นของคนทั่วไปไม่ต่างกับร่างกายท่อนล่างของราหูซึ่งไม่ใคร่มีใครรู้ว่าอยู่ที่ไหน เพราะโหรโบราณท่านถือเป็นจารีตปฏิบัติ สืบต่อกันมาในการที่จะไม่บันทึกวิชานี้ไว้เป็นหลักฐาน  ผู้ศึกษาจะต้องไปต่อวิชาด้วยการมีฝึกกับครูจนกระทั่งเข้าใจและชำนาญ ซึ่งเป็นการบันทึกอีกแบบหนึ่งคือบันทึกเอาไว้ในสมองเลยที่เดียว

    ที่ท่านถือปฏิบัติกันเช่นนั้นก็เนื่องมาจากเหตุว่า ในสมัยก่อนนั้นถือกันว่าวิชานมีความสำคัญต่อชาติบ้านเมืองเสมือนกับหัวใจหรือความลับสุดยอดกันทีเดยว เพราะการกำหนดการหรือแผนงานต่างๆ แม้แต่แผนการรบในสงครามก็ล้วนแต่อาศัยวิชาโหราศาสตร์เป็นหลักสำคัญทั้งสิ้น ผู้ที่จะมีโอกาสได้รู้วิชานี้จึงต้องเป็นผู้ที่ได้รับความรักใคร่ไว้วางใจจริงๆ เท่านั้นและเพื่อเป็นหลักประกันว่าวิชานี้จะไม่รั่วไหลไปยังผู้อื่น โดยเฉพาะฝ่ายตรงข้าม จึงมีจารีตบังคับกันไว้ด้วย การให้มาศึกษาวิชากันด้วยวิธีต่อปากต่อคำซึ่งเรียกว่า "มุขปาฐ"

    ในการศึกษาวิชาโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาเก่าแก่ทำให้ผมสนใจอาจารย์เก่าๆ และแก่ๆมากเป็นพิเศษ ทำให้มีโอกาสได้ความรู้ "ภาคมุขปาฐ" จากท่านเหล่านั้นมาบ้าง แต่ความที่เป็นคนในยุคใหม่สมัยใหม่ที่เห็นว่ากาลเวลาได้ล่วงมาจนพ้นจากการที่มนุษย์เราจะใช้วิชานี้มาเช่น ฆ่าทำลายกันแล้ว เมื่อรู้มาแล้วจึงอดไม่ได้ที่จะนำมาแย้มหรือขยายสู่กันฟัง

     จากการได้ศึกษาค้นคว้ามาพอสมควร ผมได้พบว่าหลักวิชาโหราศาสตร์เกือบทุกตอนมีอยู่ ๒ ท่อน แต่ขาดหายไปเสียหนึ่งท่อน มีบันทึกไว้ให้เรียนให้รู้กันในตำราเพียงท่อนเดียว จริงๆ

     เพื่อเป็นการพิสูจน์ให้ท่านเห็นจริงในข้อนี้ จะขอนำเรื่อง "ทักษา" ซึ่งเป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมาแยกแยะให้ดูสักอย่างว่ามีอยู่ ๒ ท่อนอย่างไร ?
     อันหลักพยากรณ์ทั้งหลายประดาที่มิอยู่ในตำราโหราศาสตร์ไทยนั้น ท่านถือว่าหลักเรื่อง"พระเคราะห์คู่" " เป็นหลักที่สำคัญมากหลักหนึ่ง โดยโดยเฉพาะ "พระเคราะห์คู่ธาตุ" กับ "พระเคราะห์คู่สมพล" นั้นถือว่าเป็นพระเคราะห์คู่ที่สำคัญที่สุดทีเดียว

     เมื่อพิจารณาความสำคัญของดวงดาวในหลักของ "พระเคราะห์คู่" ก็จะต้องพิจารณา พระเคราะห์คู่กันเพียง ๘ ดวง ซึ่งเรียกกันว่า "อัฐเคราะห์"

     เมื่อเอาดาวพระเคราะห์ทั้ง ๘ ดวงมาเขียนเรียงลำดับกันเป็น 6 แถว แล้วจับเป็นคู่ๆ ในทางทะแยง ดังนี้


ถ้าเปลี่ยนการลำดับพระเคราะห์ในแถวล่างเสียใหม่ โดยเรียงพระเคราะห์ย้อนกลับ ดังนี้


      แล้วจับเป็นคู่ๆ ในทางทะแยงแบบเดียวกับวิธีข้างต้น
จะได้คู่ธาตุ ๒ คู่ คือ ๑ กับ ๗ และ ๔ กับ ๖
และได้คู่สมพล  ๒คู่ คือ ๒ กับ ๘ และ ๓ กับ ๕

จากการลำดับพระเคระห์ดังกล่าวแล้วจับคู่ จะได้พระเคราะห์คู่ธาตุ ๔ คู่  และพระเคราะห์คู่สมพล ๔ คู่ คือ 


      เมื่อนำพระเคราะห์มาเรียงกันเป็น ๒ แถว โดยจัดให้แถวบนและแถวล่างได้คู่กันเป็นคู่ๆ 


      เมื่อนำลำดับพระเคราะห์แถวล่างคือ  ๗  ๕  ๘  ๖ มาเรียงใหม่ในทางย้อนกลับ ดังนี้
                                   
     จะเห็นได้ว่าพระเคราะห์แถวล่างและแถวบน เมื่อจับคู่กันแล้ว จะได้คุ่สมพลกันพอดีทุกคู่
จากการลำดับพระเคราะห์ดังกล่าวข้างต้น ท่านได้นำเอาพระเคราะห์คู่ธาตุมาบรรจุเข้าไว้ในแผนภูมิซึ่งเป็นที่รู้จักแพร่หลายว่า " ทักษา" ดังนี้


     แต่การลำดับพระเคราะฆ์ดังได้แสดงให้ดูเป็นชั้นๆมานั้น ท่านคงจะเห็นแล้วว่าได้ก่อให้เกิดพระเคราะห์คู่ " แฝด" กันมา ๒ คู่ คือ "พระเคราะห์คู่ธาตุ" กับ " พระเคราะห์คู่สมพล"

ท่านคิดว่าน่าสงสัยหรือไม่ว่า เพราเหตุไร เมื่อนำมาบรรจุเข้าแผนภูมิ "ทักษา" จึงปรากฎ "พระเคราะห์คู่ธาตุ" เพียงอย่างเดียว " พระเคราะห์คู่สมพล" ซึ่งเป็นคู่ฝาแฝดไปไหน น่าที่จะมีแผนภูมิทักษาอีกแบบหนึ่ง คือ 
      นี่เองเป็นคำไขปริศนาของโบราณ เรื่องร่างกายของราหูที่ถูกจักร์ขาดออกเป็น ๒ ท่อน และเป็นสิ่งอ้างอิงข้อที่ผมได้เรียนให้ทราบข้างต้นว่า "ตำราโทรไทย" นั้นมีอยู่ ๒ ท่อน แต่ขาดหายไปเสียหนึ่งท่อน มีบันทึกไว้ให้เรียนให้รู้กันในตำราเพียงท่อนเดียวจริงๆ

      ความจริงแผนภูมิ "ทักษาคู่สมพล " นั้นมีอยู่และยังใช้กันอยู่ เพียงแต่ว่าใช้กันในวงแคบๆ ไม่แพร่หลายทั่วไปเหมือนกับ "ทักษาคู่ธาตุ"

     "ทักษาคู่สมพล" นับได้ว่าเป็นเรื่องของโหรโดยเฉพาะ เพราะจะต้องมีความรู้ในวิชาโหราศสตร์และเข้าใจในการอ่านดวงชะดามาก่อนจึงจะใช้ได้ ไม่ง่ายเหมือนกับ "ทักษาคู่ธาตุ" ซึ่งเพียงแต่รู้วันเกิดอย่างเดียวก็สามารถใช้พยากรณ์ใต้หลายแบบหลายวิธี

     " ทักษาคู่สมพล " นี้นอกจากจะรู้และใช้กันในวงแคบๆ จนดูเสมือนจะเป็นความลับแล้วยังได้กำความลับในวิชาโหราศาสตร์ไว้อีกหลายประการด้วย เช่น เพราะอะไรบางคนเมื่อชีวิตรุ่งเรืองขึ้นมาแล้ว จึงสามารถดำรงสภาวะนั้นได้อย่างราบรื่นติดต่อกันไปเป็นระยะยาวนานนับสิบปี บางคนทำไมจึงตกอับอยู่นานๆ นับเป็นสิบๆ มีโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งๆที่ในช่วงระยะเวลาเช่นนั้นพระเคราะห์ต่างๆ  ได้เปลี่ยนคุณสมบัติทางทักษาครบหมด ตั้งแต่เป็นบริวารจนถึงกาลกรรณีครบทุกองค์?  ระยะไหนที่ชะตาจะถึงจุดรุ่งโรจน์ที่สุดในชีวิต และเมื่อไรที่จะตกอับยับเยินที่สุดในชีวิต ? ความหมายของพระเคราะห์ต่าง ๆ เช่นพุธหมายถึงการเรียน ศุกร์หมายถึงความรัก อังคารหมายถึงการต่อสู้ ฯลฯ มีเหตุผลที่มาอย่างไร ? เป็นต้น

     วิธีการใช้ "ทักษาคู่สมพล" มีข้อมูลละเอียดหลายประการที่จะต้องอธิบายประกอบกับดวงชะดาทุกตอนจึงจะเป็นที่เข้าใจใด้ ซึ่งจะต้องใช้เวลาและหน้ากระดาษมาก จึงขอเพียงแนะนำตัว "ทักษาคู่สมพล" ซึ่งเป็นอีกท่อนหนึ่งของทักษาซึ่งเปรียบเสมือนร่างกายอีกท่อนหนึ่งของราหูให้เป็นที่รู้จักกันก่อนว่ายังไม่สูญ เพียงแต่หายไปจากการรู้เห็นโดยทั่วๆ ไปเท่านั้น ในครั้งนี้จะขอกล่าวถึงหลักพิจารณา "ทักษาคู่ธาตุ" บางประการก่อน เพื่อเป็นการตอบคำถามของคุณ "กิ่งแก้ว" ในคอลัมน์ "ปัญหาโหร" ในโอกาสเดียวกันด้วย

     " ทักษาคู่ธาตุ " เป็นที่เกิดของหลักพยากรณ์ที่สำคัญหลายประการด้วยกัน เช่นหลักพยากรณ์คุณสมบัติของพระเคราะห์คู่สมพลเป็นต้น
ถ้าท่านสังเกตตำแหน่งของพระเคราะห์คู่สมพลในแผนภูมิ "ทักษาคู่ธาตุ" แล้วจะเห็นว่า
มีคู่สมพลที่ เป็นกาลกรรณีต่อกัน อยู่ ๒ คู่ คือ ๑ กับ ๖ และ ๔ กับ ๗
และมีคู่สมพลที่ เป็นศรีแก่กัน อยู่ ๒ คู่ คือ ๒ กัม ๘ และ ๓ กับ ๕
คู่สมพลทั้ง ๒ แบบนั้นมีความหมายและคุณสมบัติแตกต่างกัน ดังนี้

คู่กาลกรรณี เป็นคู่ที่แสดงถึงความตระหนี่มัธยัส
๑ กับ ๖ เป็นความมัธยัสและตระหนี่กับตัวเอง อดออมและเก็บหอมรอมริบโดยยอมอดๆ อยากๆ แต่ต้องรั่วไหลหมดไปกับคนอื่นด้วยการต้องให้คน  โน้นช่วยเหลือคนนี้
๔ กับ ๗ เป็นความตระหนี่ถี่เหนียวกับผู้อื่นแบบอุจจาระยังไม่ยอมให้สุนัขรับประทาน โน้มเอียงไปทางใจแคบและเห็นแก่ตัว

คู่ศรี เป็นคู่แสดงถึงการช่วยเหลือ เกื้อกูล
๓ กับ ๘ เป็นการช่วยเหลือแบบหวังผลประโยชน์ตอบแทน เช่นช่วยเหลือผู้เดือดร้อนเงินด้วยการให้กู้ หรือรับจำนำ จำนอง โดยคิดผลประโยชน์เป็นดอกเบี้ยเป็นต้น
๓ กับ ๕ เป็นการเกื้อกูลแบบหวังบุญหวังกุศล เช่นอุปการะช่วยเหล่อคนตกทุกข์ได้ยาก ช่วยกิจการสาธารณะด้วยแรงหรือด้วยเงินโดยไม่หวังผลประโยชน์ตอบแทน ต้องการแต่ความสุขและอิ่มใจเป็นต้น

ในตำราทั่วไปก็ใด้กล่าวถึงคุณสมบัติของคู่สมพลนี้อยู่ " เพียงแต่ไม่ได้ลำดับข้นตอนและไม่ได้อธิบายเหตุผลที่มาไว้ให้ทราบเท่านั้น
เช่นในหนังสือโลกธาตุใด้กล่าวถึงคู่สมพล ๑ กับ ๖ ไว้ว่า "ตระหนี่ถี่เหนียว ดายอคตายอยาก คนอื่นเอาไปกินหมด"

ในตำราทั่วๆ ไปกล่าวถึงคู่สมพล ๒ กับ ๘ ว่าเป็นคู่หนี้สิน เช่นในนิทานชาติเวรกล่าว ถึงเรื่องราหูให้พระจันทร์กู้เงินในคราวตกยากเป็นต้น
ัวิชาโหราศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีเหตุมีผล และมีหลักเกณฑ์ที่สามารถจะอธิบายและพิสูจน์ได้ มีกฎเกณฑ์อนแน่นอนที่จะยึดถือปฏิบัดีได้เช่นเดียวกับศาสดร์อื่น ๆ แต่แม้กระนั้นก็ยังมีสาเหตุสำคัญบางประการที่เป็นเสมือนกำแพงมหึมากันใว้ไม่ให้ศาสตร์นี้ก้าวหน้าไปเทียมบ่าเทียมไหล่กับศาสตร์อื่น ๆ ได้โดยสมบูรณ์
 
ประการแรก "ตำราโหรไทย" ไม่อยู่ในสภาพสมบูรณ์ เพราะถูกแบ่งแยกออกเป็นสองท่อนสองตอนตามคติที่นิยมปฏิบัติสืบต่อกันมาจนกลายเป็นจารีตประเพณี
ประการที่สอง ยังมีผู้ศึกษาเป็นจำนวนมากที่ยึดมั่นในตำรากันด้วยทิษฐิ ยึดถือตำราเสมือนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่ยอมให้ผู้ใดละเมิด ทำให้ผู้ค้นคว้าไม่อาจจะเสนอผลงานได้สะดวก เพราะเลี้ยงต่อการจะต้องเป็นแกะดำในวงการโหร
ประการที่สาม ศาสตร์นี้ถูกนำไปแขวนไว้กับโชคชะตาโดยนักโหราศาสตร์เองด้วยความเข้าใจและพยายามที่จะทำให้ผู้อื่นเข้าใจว่า วิชาโหราศาสตร์นี้จะพยากรณ์ได้แม่นยำได้ก็ต่อเมื่อดวงชะตาของผู้พยากรณ์ดี ถ้าดวงชะตาของผู้พยากรณ์ไม่ดีแล้วจะพยากรณ์กันไม่ค่อยถูก และมักจะผิดเสียเป็นส่วนมาก ซึ่งเท่ากับพยายามแปลงสภาพของวิชาโหราศาสตร์ให้เป็นวิชาเฮงซวยศาสตร์ที่ไม่ควรจะยึดถือและเชื่อถือ

     ศาสตร์ทกชนิดยังมีความบกพร่องอันอาจจะก่อให้เกิดความผิดพลาดได้ ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ เเพทย์ศาสตร์ ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบคำสตร์นั้นจะต้องพยายามหาสาเหตุและข้อมูลเพื่อแก้ไช้ให้เกิดความถูกต้องสมบูรณ์ขึ้นต่อไป ไม่ใช่โยนความผิดพลาดนั้นไปให้กับโชคดี หรือโชคร้ายดวงดีหรือไม่ดี
 
     บางท่านพยวยามให้ผู้อื่นเข้าใจว่าวิชาโหราศาสตร์นี้ ผู้ที่มี "พรสวรรค์" เท่านั้นที่จะพยากรณ์ได้ดีและพยากรณ์ได้แม่นยำ เพราะฉะนั้นถึงแม้ครูบาอาจารย์จะให้วิชาจนหมดใช้หมดพุง ก็ไม่แน่ว่าศิษย์จะมีความสามารถพยากรณ์ได้เหมือนครู

    ข้าพเจ้าได้แต่หวังไว้ว่า ปัญญาชนที่สนใจในวิชาโหราศาสตร์จะสามารถก้าวข้ามสาเหตุ สำคัญ ๓ ประการอันเป็นจุดอับเฉานี้ไปได้
ข้าพเจ้าเชื่อมั่นจากการที่ได้พิสูจน์แล้วว่า วิชาโหราศาสตร์นี้มีหลักเกณฑ์ในการเรียนและในการปฏิบัดีที่ถ่ายทอดกันแล้วศิษย์กับครูจะมีความรู้เท่ากันได้เช่นเดียวกับศาสตร์อื่น และไม่ต่างกับอักษรศาสคร์ที่เมื่อเรียนแล้วลูกศิษย์จะต้องอ่านหนังสือเล่มเดียวกับครู รู้เรื่องเหมือนกับที่ครูอ่านแล้วรู้ และเรียนหนังสือได้เหมือนกับที่ครูเขียน จะด่างกันก็เฉพาะในส่วนปลีกย่อยเช่นสำนวนโวหารอันเป็นคุณลักษณะประจำตัวเท่านั้น

วิชาโหราศาสตร์ถ้าได้เรียนรู้หลักเกณฑ์และกฎพยากรณ์อันแน่นอนแล้ว ศิษย์กับครูจะต้องพยากรณ์ในจุดเดียวและเรื่องเดียวกันเสมอโดยไม่ต้องนัดแนะกัน เช่นเดียวกับวิชาคณิตศาสตร์ที่เมื่อทำเลขข้อเดียวกัน ศิษย์กับครูจะต้องทำวิธีเดียวกันและจะต้องได้คำตอบเหมือนกัน

หลักความจริงข้อนี้แหละที่ทำให้วิชาโหราศาสตร์ยืนยงคงทนได้รับความสนใจและสืบทอดโดยปัญญาชนมานับเวลาได้เป็นพันๆ ปี.
       By_คุณยายกลิ่นโสม 100
         ---------------------
  สนใจดูดวงติดต่อ: baankunyai 102 100450
     
Visitors: 216,750