ตอบปัญหาโหรศาสตร์

       ตอบปัญหาโหราศาสตร์ บันทึกโดย ประทีป  อัครา

     เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๑๑ อันเป็นวันอภิปรายและตอบวิชาโหราศาสตร์ และการพยากรณ์ ได้มีผู้ถามปัญหาต่างๆ รวม ๙ ข้อ

๑.การพยากรณ์ "ทิศ"ใช้หลักอะไร?
   อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เป็นผู้บรรยาย

๒.เจ้าชาตาจำเวลาเกิดไม่ได้ หรือจำได้ไม่แน่นอน จะมีวิธีสอบและวางลัคนาให้ถูกต้องได้อย่างไร
   อาจารย์สง่า เตมีย์พันธุ์ เป็นผู้บรรยาย
 
๓.ขอให้แนะนำวิธีพยากรณ์ที่ได้ผล
   อาจารย์ พอ.ประพิษ สุทธบุตร เป็นผู้อธิบาย

๔.เครื่องหมายบนฝ่ามือ(ผู้ถามถ่ายภาพฝ่ามือมาให้พิจารณาด้วย)
   อาจารย์เล็ก กรเณศ และอาจารย์ทองดี นิรมล ร่วมอธิบาย

๕.ดวงพิชัยสงครามคืออะไร
๖.พระเคราะห์เสวยอายุแบบไทย กับแบบวิมโสตตรี วิธีไหนได้ผลดีกว่ากัน
   อาจารย์ศิระ นามะสนธิ เป็นผู้อธิบาย และอาจารย์ รท.วิจอม ปรีดานุชาต ได้อธิบาย ที่มาของคำและวิธีใช้คำที่ถูกต้องของ ทศา ทักษา อัสโตตรี วิมโสตตรี

๗.เมื่อไรผู้รู้เห็นแก่ความเจริญของการศึกษา เลิก "หวงวิชา" กันเสียที

๘.ปฎิทินโหรทำไมจึงขัดแย้งกัน?

   ในฐานะที่ทำหน้าที่เป็นพิธีของการอภิปรายในวันนั้น ผมได้มีส่วนร่วมในการตอบปัญหาบางข้อ จึงได้รวบรวมมาลงไว้

คำตอบปัญหาที่นำมารวมไว้ที่นี้ เฉพาะที่ผมเป็นผู้ตอบ ส่วนคำตอบของอาจารย์แต่ละท่าน ผมคิดว่าถ้าท่านบันทึกและอธิบายมาเอง จะได้ความสมบรูณ์กว่า จึงขอละไว้ให้เป็นหน้าที่ของท่านที่จะบันทึกส่งมา 
 
     ๑.ถาม การพยากรณ์ "ทิศ" ใช้หลักอะไร
        ตอบ นอกจากหลักเกณฑ์การพยากรณ์ "ทิศ" ที่อาจารย์เทพย์ได้อธิบายให้ฟังมาแล้ว ยังมีวิธีการพยากรณ์อีกแบบหนึ่งที่ใช้เฉพาะกับ "ดวงเมือง" จะขอถือโอกาสนำมาฝากไว้ เพราะยังไม่ปรากฎว่าเคยมีผุ้นำมาเผยแพร่ไว้ก่อนเลย
 
      "ทิศ" นั้นเราถือภูมิทักษาเป็นหลักใหญ่ ซึ่งท่านและพรเคราะห์ครองทิศไว้ดังนี้ 
      
      ตามแผนภูมิทักษานี้ ทิศตะวันออกไว้ด้านบน แต่หลักการดูแผนที่นิยมเอาทิศเหนือประกอบกัแผนที่ไว้ด้านบน ฉะนั้นเมื่อจะใช้ภูมิประเทศ ประกอบกับแผนที่จึงต้องปรับแผนภูมิทักษาเสียใหม่ ดังนี้
     
     ในการวางฤกษ์ "ดวงเมือง" นั้น นอกจากท่านจะได้คำนึงถึงกฎเกณฑ์ตามคัมภีร์ฤกษ์ต่างๆแล้ว ยังได้คำนึงถึงเรื่องภูมิศาสตร์และประวัติศสตร์อีกด้วย ถ้าท่านจะดูแผนที่ประกอบคำอธิบายต่อไปนี้จะเห็นภาพและเข้าใจดีขึ้น

     เหนือ ๖ (ศุกร์)
ตามภูมิศาสตร์ เป็นที่ตั้งของประเทศจีน ตามประวัติศาสตร์ คนจีนเป็นชาติขยันขันแข็งจริงจังในการทำมาหากิน และมักจะเป็นชาติที่มีอิทธิพลทางด้านเศรษฐกิจการค้าอยู่เสมอ

     ตะวันออกเฉียงเหนือ ๑ (อาทิตย์)
     ตามภูมิศาสตร์ เป็นที่ตั้งของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในสมัยที่สร้างเมืองรัตนโกสินทร์นั้น ถือได้ว่าเป็นประเทศที่อยู่ไกลมาก เพราะสมัยนั้นยังไม่มีเหล็กลอยน้ำและเหล์กลอยฟ้า เหมือนในสมัยนี้

     ตามประวัติศาสตร์ เรารู้จักแต่ชาวญี่ปุ่นที่เข้ามารับราชการจนปรากฎความดีความชอบได้เป็น "ออกญาเสนาภิมุข" คือท่าน "ยามาดา" ไม่เคยขับเคี่ยวในการสงครามกันมาก่อน

      ทิศตะวันออก ๒ (จันทร์)
      ตามภูมิศาสตร์ เป็นที่ตั้งของประเทศลาว
      ตามประวัติศาสตร์ แม้จะเคยมีกระทบกระทั่งกันบ้างก็ฉันท์พี่ฉันท์น้อง

      ทิศตะวันออกเฉียงใต้ " (อังคาร)
      ตามภูมิศาสตร์ เบ็นที่ตั้งของประเทศเขมร
      ตามประวัดิศาสตร์ เป็นประเทศที่มีเรื่องจุกจิกหยุมหยิมกับประเทศไทยตั้งแต่ดึกดำบรรพ์มา โดยเฉพาะในเรื่องดินแดน ทั้งในขณะที่เขมรปกครองตัวเอง และในขณะที่อยู่ความปกครองของฝรั่งเศส

      ทิศใต้ ๔ (พุธ)
      ตามภูมิศาสตร์ เป็นที่ตั้งของประเทศมาเลเซียและหมู่เกาะสุมาดรา
      ตามประวัติศาสตร์ เราไม่ได้รับความกระทบกระเทือนเสียหายจากกลุ่มประเทศทางด้านนี้มากนัก

      ทิศตะวันตกเฉียงใต้ ๗ (เสาร์)
      ตามภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศเป็นน้ำทั้งสิ้น

      ทิศตะวันตก ๕ (พฤหัสบดี)
      ตามภูมิศาสตร์ เป็นที่ตั้งของประเทศอินเดีย
      ตามประวัติศาสตร์ เป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์กันแต่ทางด้านศาสนา ภาษา วัฒนธรรมอย่างลึกซึ้ง

      ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (ราหู)
      ตามภูมิศาสตร์ เป็นที่ตั้งของประเทศพม่า
      ตามประวัติศาสตร์ เป็นประเทศคู่ศึกแบบมาราทอนของไทยมาตลอดกาลในอดีต และเป็นคู่ศึกที่มักจะโด้เปรียบไทยในการสู้รบเสมอ ๆ เสียด้วย

      จากสภาพของภูมิศาสตร์และความเป็นมาของประวัติศาสตร์ดังกล่าว ฤกษ์ยกเสาเอกหลักเมืองจึงได้ถูกกำหนดขึ้น ณ.วันอาทิตย์ ขึ้น ๑๐ค่ำ เดือน๖  ปีขาล จัตวาศก จศ. ๑๑๔๔  ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๓๒๕ เวลาย่ำรุ่งแล้ว ๙ บาท (๐๖.๕๔ น.)
    อาทิตย์ (๑) ประเทศญี่ปุ่นที่อยู่ไกลเลยเขตอันตราย ( ในสมัยนั้น ) สถิตราศีเมษในตำแหน่งมหาอุจจ์ แต่โลกเจริญเร็วเกินไป ด้วยพาหนะเหล็กที่ลอยน้ำและลอยฟ้าได้  ชาติญี่ปุ่นผู้ใช้ "พระอาทิตย์" เป็นเครื่องหมายประจำชาติ และเรียกตัวเองว่า "ลูกพระอาทิตย์"  ก็ยกแสนยานุภาพมา "อาริกาโต" กับเราและบังคับให้เป็นมหามิตรร่วมรบร่วมรุกในสงครามโลกครั้งที่๒ เมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๔๗๔
 
    เคราะห์ดีที่พระอาทิตย์ ซึ่งเผอิญพอเหมาะพอเจาะกับสัญญลักษณ์ของประเทศญี่ปุ่นเป็นพระเคราะห์ที่มีกำลังอายุน้อยที่สุดในจำนวนอัฐเคราะห์ ดังนั้นหลังจากที่ลูกระเบิดปรมาณู รอบแรกของโลกหล่นลงที่เมืองฮิโร่ชิมาและเมืองนางาซากิ เมื่อวันที่ ๖ และ ๙สิงหาคม ๒๔๘๘
 
   จันทร์ (๒ ) สถิตในราศีกรกฏ ภพพันธุ เหมือนกับจะปลูกฝังให้ประเทศศักดิ์น้องมั่นคงในความสัมพันธ์ฉันท์ญาติกันมากขึ้น
 
    อังคาร (๓) ประเทศซึ่งพิจารณาแล้วเหมือนลิ้นกับฟัน เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็เลือกวันที่ เป็น"ประ" ให้เสีย แต่ประอังคารราศีนี้อยู่ในตำแหน่งนำหน้าลัคนาภพกดุมภะ จึงทำให้ต้องมีเรื่องรำคาญใจไม่ค่อยจะรู้จบโดยเฉพาะในเรื่องเกี่ยวกับดินแดนแถมนี้ นับตั้งแต่ ร.ศ.๑๑๒ มาถึงเรื่องเขาพระวิหาร
     พุธ (๔) กลุ่มประเทศภาคนี้ แม้จะไม่เคยมีข้อพิพาทอะไรกันรุนแรง แต่ในฐานะที่พุธเป็นเจ้าภพอริ ก็ต้องเลือกวันที่พุธเป็นวินาศน์และนิจทอนกำลังกันเข้าไว้ก่อนให้หมดห่วง
 
     พฤหัส (๕)ประเทศอินเดียซึ่งในประวัติศาสตร์มีแต่ความสัมพันธ์ด้านดีต่อกันในทางศาสนาและวัฒนธรรม ดาวพฤหัสอันเป็นดาวประจำทิศและประเทศนี้จึงถูกเลือกให้เป็นเกษตรอยู่ในภพสุภะเพื่อความร่มเย็นวัฒนาถาวรสืบไป
 
     ศุกร์ (๖) ประเทศจีน เมื่อเห็นว่าเก่งในการค้า คนไทยก็ใจกว้างไม่กิดไม่กัน ให้ดาวดวงนี้สถิตในตำแหน่งอันเป็นมหาอุจจ์ แต่ในขอบเขตแห่งศาสนาและศีลธรรมอันดีงาม ตามอิทธิพลแห่งดาวพฤหัสซึ่งเป็นเจ้าเรือน และเฉพาะในเรื่องของการทำมาหากินค้าขาย ถ้าเหิมเกริมมากไปก็จะกลายเป็นวินาศน์ตามสภาพของภพ
     ดาวพระศุกร์เป็นมหาอุจจ์ในเรือนพฤหัสภพวินาศน์นี้ พอที่จะอุ่นใจได้อย่างหนึ่งว่า จีนนอกศาสนา ทำลายศาสนาและโหดเหี้ยมไร้ศีลธรรม จะไม่มีโอกาสมามีอิทธิพลพื้นแผ่นดินไทยนี้ได้เป็นอันขาด  เพราะจะต้องวินาศน์ไปตามสถานะของดวงดาวใน "ดวงเมือง"
 
      เสาร์ (๓) เมืองไทยเราเป็นเมือง "ในน้ำมิปลา ในนามีข้าว" พระเสาร์ซึ่งโดยความหมายของตัวเองหมายถึงแผ่นดิน โดยทิศที่ตัวครองหมายถึงท้องน้ำ พระเสาร์จึงถูกกำหนดให้สถิตในภพที่๙ คือภพสุภะร่วมกับพฤหัส แสดงถึงความสมบูรณ์พูลสุขด้านทรัพยากรของประเทศเมืองไหนจะอดอยากยากแค้น แต่เมืองไทยไม่เคยขาดแคลนอาหาร
 
      ราหู (๘) ประเทศพม่าคู่ที่ศึกคู่ซ้อมของไทยตั้งแต่สมัยอดีต รายนี้เก่งมากนัก การวางฤกษ์เมืองใหม่จึงเลือกวันให้อยู่ในภพวินาศน์ที่ปราศจากตำแหน่งเข้มแข็งใด ๆ เสียเลย
 
     จะว่าเป็นเรื่องมหัศจรรย์หรือเรื่องแปลกก็แล้วแต่ ในยุครัตนโกสินทร์นี้ พม่าก็ยังไม่ละความพยายามก่อศึกเพื่อยึดครองไทย ได้ยกกองทัพมาหลายครั้งหลายครา บางครั้งระดมพลเป็นทัพใหญ่ถึง ๙ ทัพ แต่ก็แตกยับวินาศน์ไปทุกคราว
 
     หลักเกณฑ์การพยากรณ์ทิศสำหรับใช้กับดวงเมืองนี้ อาจจะเป็นประโยชน์ในการพยากรณ์ดวงชาตาบุคคลได้บ้าง ขอให้ท่านลองนำไปค้นคว้าดูต่อไป
ถาม  พระเคราะห์เสวยอายุแบบไทย กับแบบวิมโสตตรี วิธีไหนได้ผลดีกว่ากัน ?
ตอบ นอกจากวิธีการพยากรณ์พระเคราะห์เสวยอายุทั้ง๒ แบบที่คุณศิระได้อธิบายให้ฟัง
 
     ผมอยากจะนำเอารอบการเสวยอายุของพระเคราะห์ทั้ง๒ แบบมากล่าวเพิ่มเติมไว้อีกสัก เพราะเรื่องนี้ยังไม่พบว่ามีใครเคยนำมาเผยแพร่ไว้ก่อน
 
     ผู้ที่ใช้พระเคราะห์เสวยอายุจะเป็นแบบไทยก็ดี แบบวิมโสตตรีก็ดี ต่างก็ทราบว่ารอบพระเคราะห์แบบไทยมี ๑๐๘ ปี
ส่วนรอบพระเคราะห์แบบวิมโสตตริมี ๑๒๐ ปี แต่เชื่อว่ามีอยู่อีกหลาย ท่านที่ยังไม่ทราบว่าจำนวนรอบปีที่ต่างกันนี้ ต่างกันอย่างไร? จึงขอนำมาเล่าสู่กันฟังดังนี้
(๑) การคิดวันเดือนปีที่เราใช้กันอยู่มี ๒ ระบบคือ สุริยคติ และจันทรคติ
(๒) จำนวนเดือนในรอบบีของทั้ง ๒ ระบบนั้นเท่ากันคือ ๑ ปี ๑๒ เดือน
(๓) จำนวนวันในรอบเดือนสุริยคติกับจันทรคติมีไม่เท่ากันคือ
๑. เตือนสุริยคติมี ๓๐ วัน ๑๐ ชั่วโมง ๓๑ นาที (คิด ๓๐ วัน)
๑. เดือนจันทรคติมี ๒๗ วัน ๗ ชั่วโมง ๔๓ นาที (คิด ๒๗ วัน )ทั้งนี้หมายถึงการโคจรครบรอบหนึ่งๆของพระอาทิตย์และพระจันทร์
(๔) พระเคราะห์เสวยอายุแบบไทย เป็นแบบสุริยคติ
          พระเคราะห์เสวยอายุแบบวิมโสตตรี เป็นแบบจันทรคติ
เมื่อกระจายรอบการเสวยอายุของพระเคราะห์ทั้ง ๒ แบบออกเป็นจำนวนวันแล้วจะได้เท่าดังนี้
พระเคราะห์เสวยอายุแบบไทยรอบ       ๑๐๘  ปี
กระจายเป็นเดือน = ๑๐๘ x ๑๒ ได้    ๑๒๙๖ เดือน
กระจายเป็นวัน = ๑๒๙๖ x ๓๐  ได้ ๓๘๘๘๐ วัน

พระเคราะห์เสวยอายุแบบวิมโสตตรีรอบ      ๑๒๐ ปี
กระจายเป็นเดือน = ๑๒๐ x ๑๒   ได้       ๑๔๔๐ ปี
กระจายเป็นวัน = ๑๔๔๐ x ๒๗   ได้    ๓๘๘๘๐ วัน

      ได้จากการคำนวณนี้แสดงให้เห็นว่ารอบของการเสวยอายุโดยที่จริงแล้ว ที่ต่างกันก็ตรงที่ใช้ระบบการนับวันเดือนปีต่างกันเท่านั้นเอง

      จึงขอฝากไว้เป็นข้อคิดสำหรับที่เล่นพระเคราะห์เสวยอายุแบบวิมโสตตรี ซึ่งเป็นแบบจันทรคติ ท่านได้ใช่วิธีคิดอายุถูกระบบของเขาหรือเปล่า? และถ้าหากใช้วิธีคิดอายุโดยใช้วันเดือนทางสุริยคติแทนที่จะใช้ทางจันทรคติ อาจจะทำให้เกณฑ์รอบของพระเคราะห์ทั้งพระเคราะห์เเสวยและพระเคราะห์แทรกคลาดเคลื่อนไปได้ หรือไม่?

      ขอออกตัวก่อนว่า ที่นำมากล่าวนี้ไม่มีเจตนาที่จะเป็นข้อคัดค้านหรือขัดแย้งเพียงแต่ใคร่ฝากไว้เป็นข้อคิด
  
      ๓.ถาม เมื่อไรผู้รู้แก่ความเจริญของการศึกษา เลิก "หวงวิชา"กันเสียที
      ตอบ ขอปรับความเข้าใจเสียก่อนว่า การรับหน้าที่ตอบคำถามนนี้ มิใช่โดยสำคัญตัวเองว่า  "เป็นผู้รู้คนสำคัญ"  แต่ประการใด เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นสถานีย่อยถ่ายทอดความรู้สึกของบรรดาผู้รู้และครูบาอาจารย์ ที่เคยได้ยินได้ฟังมาสู่ท่านทั้งหลายเท่านั้น 
      อันวิชาโหราศาสตร์และพยากรณ์นี้ แม้จะเป็นวิชาที่มีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับวิชาอื่นๆ แต่ก็ยังถูกอยู่ในประเภท "วิชาลี้ลับ"  การถ่ายทอดจึงยังประกอบด้วยจารีตและพิธีการอยู่เช่นสมัยเก่าๆ 

      วิชานี้พอจำแนกเป็น ๒ ประเภท เรียกให้เข้าใจง่ายก็คือ 
       ก.วิชาประเภท "ทฤษฎี" เป็นวิชาพื้นฐานซึ่งเปิดเผยทั่วๆไปในรูปของสินค้า
       ข.วิชาประเภท " ปฎิบัติ" ที่เรียกว่า "ไม้เด็ด" หรือ "เคล็บลับ" ของอาจารย์หรือสำหรับชื่อเสียง ซึ่งจะหา "ศิษย์ศึกษาเอาเอง" จากหนังสือหรือตำราประเภทสินค้า

       การถ่ายทอดวิชาประเภทนี้ อาจารย์ทั้งหลายมีจารีตประเพณีเหมือนกันอยู่ข้อหนึ่งคือ "ต้องถ่านกลิ่นธูปควันเทียน" หมายถึงต้องมีพิธีการคารวะครูบาอาจารย์กันเสียก่อนเสมอ 

       ตามที่ได้รับความรู้ประเภท ข.นี้มาจึงเหมือนกันกับคนมีลูกสาว เมื่อจะถ่ายทอดวิชาให้ใครต่อไปก็มักจะพิถีพิถันเช่นเดียวกันกับการยกลูกสาวของตนให้ชายอื่นไปครอง คือต้องเลือกเฟ้นคนที่มีความรักจริงจัง ในคติที่ว่า "มีดพร้าขัดหลังมาเล่มเดียวก็ไม่ว่า ขอแต่ให้เป็นคนดีก็แล้วกัน" 

      ถ้าท่านอยากได้วิชาจากผู้ใด ด้วยความรู้สึกของผู้ชายที่หวังแทะดลมผู้หญิงเพียงด้วยความสนุกคะนองไม่จริงไม่จังแล้วไซร้ ก็อย่าเพิ่งไปประนามเขาว่า "หวงวิชา" เลย ไม่มีพ่อแม่ของหญิงใดหรอกที่อยากให้ลูกสาวของตัวเป็นดอกไม้ริมทางสำหรับเป็นเครื่องเล่นของผู้ชาย

     คำตอบปัญหายังมีอยู่อีกหลายข้อ ได้แก่เรื่องดวงพิชัยสงคราม ปฎิทินขัดแย้งกัน และเรื่องฤกษ์บน ฤกษ์ล่าง แต่ไม่สามารถจะนำมาลงได้หมดในคราวนี้ เพราะจะเป็นการแย่งหน้ากระดาษเรื่องนี้ที่มีคุณค่าสาระอื่นมากเกินไป จึงขอยุติไว้เพียงนี้ก่อน

     การตอบปัญหาโหราศาสตร์และการพยากรณ์ โดยผู้ทรงคุณวุฒินี้จะยังคงมีอยู่ต่อไปทุกๆเสาร์สัปดาห์สุดท้ายของเดือน ทางสมาคมเปิดโอกาสให้ผู้สนใจถามปัญหาได้ ยิ่งเขียนปัญหาส่งไปก่อนจะยิ่งดี โดยส่งไปที่เลขาธิการสมาคมฯ

      
 จะพบหรือจะติดต่อ
 ประทีป  อัครา
ได้ที่ ๓๒/๒  ถนนบุญศิริ  พระนคร

    
   By คุณยายกลิ่นโสม
   --------------------
   
Visitors: 216,708