ดวงองค์เกณฑ์-ได้เป็นพระยา
ดวงองค์เกณฑ์ - ได้เป็นพระยา โดย ประทีป อัครา
ในการอภิปรายบปํญหาโหราศาสตร์เมื่อวันเสาร์ที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๑๒
ได้มีผู้ถามบัญหาข้อหนึ่งว่า ตำราได้ยกย่องดวงชาตาที่ได้องค์เกณฑ์เอาไว้มาก ว่าจะรุ่งเรืองมียศถาบรรดาศักดิ์ปรากฎว่าถึงชั้น "ยศนั้นถึงพระยา" หรือ "ยศนั้นนาพัน" แต่ตามความเป็นจริงนั้น ปรากฎว่ากรรมกรและผู้ที่อยู่ในฐานะแร้นเค้นต้องทำงานหนัก ๆ ไม่เคยร่ำรวยหรือมียสถาบรรดาศักดิ์เลยตลอดชีวิต ก็มีดวงชาตาได้องค์เกณฑ์อยู่เป็นจำนวนมาก ที่เป็นเช่นนี้เป็นเพราะตำราผิดหรือเพราะอะไร?
เผอิญผมเคยได้รับความเมตตาจากอาจารย์ผู้หนึ่งช่วยแนะนำ "หลักในการพิจารณาดวงองค์เกณฑ์" ให้มาบ้าง จึงได้นำมาเล่าสู่กันฟังในวันอภิปรายนั้น
โดยที่เห็นว่าเป็นปัญหาน่าสนใจที่นักศึกษาอีกหลายท่าน อาจจะสงสัยและอาจจะอยากทราบเช่นเดียวกัน จึงได้นำมาลงไว้ในที่นี้อีก เผื่อจะเป็นประโยชน์ในการค้นคว้าให้กว้างขวางต่อไป.
เมื่อตอนได้ใกล้ชิดกับอาจารย์ที่กล่าวถึงนี้ ผมรู้สึกสนใจที่ท่านมักชอบย้ำเรื่องยศและตำแหน่งหน้าที่ของเจ้าชาตาเสมอ เช่น "ดวงนี้พันเอกแล้วนี่"หรือ "ดวงนี้คุณหญิงแล้วนี่"เป็นต้น และสังเกตุเห็นว่าการย้ำของท่านมักจะไม่ค่อยผิด ผมได้เคยถามว่า "อาจารย์ใช้หลักอะไรทายเรื่องนี้ "ท่านบอกว่า "ก็หลักองค์เกณฑ์อย่างไรเล่าคุณ"
เมื่อผมแย้งว่า "มีดวงองค์เกณฑ์มาให้อาจารย์ดูตั้งหลายดวง ไม่เห็นอาจารย์ทายว่าเป็นนายพัน นายพล หรือคุณหญิง คุณนายเลย แถมบางดวงอาจารย์ยังทายว่าชีวิตของเขาค่อยข้างจะแย่เสียด้วยซ้ำไป"
ท่านก็ว่า "ดวงพวกนั้นมัน องค์เกณฑ์ไม่จริง"
อันหลักพยากรณ์ต่าง ๆ นั้นมักจะประกอบด้วยข้อมูลและข้อแม้บลิกย่อยมากมาย การจะกล่าวถึงหลักใด ๆ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ในหน้ากระดาษอันจำกัดในครั้งเดียวคราวเดียวย่อมจะทำไม่ได้ จึงจำต้องนำมากล่าวเฉพาะข้อใหญ่ ๆ อันเป็นหลักสำคัญก่อน
หรือ-ดวงชาตาที่ลัคนาสถิตราศีกรกฎ มีดาวที่ไม่ตรงตามกฎบังคับอยู่ในเรือนที่๔ อันเป็นภพองค์เกณฑ์ เช่นมีอาทิตย์หรืออังคารหรือเสาร์หรือราหูเป็นต้นอยู่ในราศีตุลย์ ถ้าในดวงนั้นมีราหูหรืออังคารหรือพฤหัสหรือเสาร์อันเป็นดาวบังคับของอุดมเกณฑ์ดวงใดดวงหนึ่งสถิตอยู่ในเรือนที่๕ เรือนที่๙ ก็ให้ถือว่าดวงนั้นเป็น "องค์เกณฑ์" ได้โดยอนุโลม
หลักพยากรณ์องค์เกณฑ์อันเน้นหนักในเรื่องยศถาบรรถาศักดิ์นี้ ท่านว่าบรูพาจารย์ได้อาศัยดวงชาตาของเหล่ารุนศึกขุนพลและนักรบผู้ประสบชัยชนะจากสมรภูมิในสมัยโบราณมาเป็นเกณฑ์ของตำราเพราะฉะนั้นลีลาชีวิตเจ้าชาตาผู้เบ็นเจ้าของดวงองค์เกณฑ์ จึงไม่ค่อยจะต่างไปจากลีลาชีวิตของนักรบเท่าใดนัก คือต้องต่อสู้แข่งขันชิงชัยต้องมิภาระรับผิตชอบต่อผู้อื่นอยู่ตลอดเวลา แม้แต่ผู้หญิงถ้าดวงชาตาได้องค์เกณฑ์แล้ว เธอผู้นั้นมักจะมีชีวิตแบบแม่ทัพมากกว่าแม่บ้าน ให้มั่งมีศรีสุขเพียงไรก็อยู่เฉยๆ นั่งกินนอนกินไม่ได้ ต้องคิดนี่ทำโน่นอยู่ร่ำไป ไม่มีอะไรไปวิ่งเต้นเป็นนายหน้าก็เอาดี
ดวงชาตาที่ได้เกณฑ์บังคับครบถ้วนทั้ง ๓ ประการ เกือบจะไม่มีปัญหาในเรื่องชีวิตจะประสบความรุ่งโรจน์และราบรื่น. แต่ดวงชาตาที่ได้เกณฑ์แบบอนุโลมแม้จะรุ่งโรจน์ก็ไม่สู้จะราบรื่นนัก ส่วนดวงชาตาที่ได้แก่องค์เกณฑ์อย่างเดียวที่เรียกว่าองค์เกณฑ์โทน มีโอกาสรุ่งได้เท่าๆกับโอกาสร่วงเพราะเป็นดวงที่มีลักษณะเทียบกับรถที่ล้อหรือยางไม่ค่อยจะดีนักดังที่กล่าวข้างต้น ดวงองค์เกณฑ์โทนจึงเป็นดวงที่ก่อนข้างจะมีชีวิดเสี่ยงอันตรายที่ต้องอาศัยความรอบคอบและความไม่ประมาทมากเป็นพิเศษ
เพื่อให้ท่านเข้าใจหลักเกณฑ์ที่อธิบายมานี้โดยชัดเจน จึงขอนำดวงตัวอย่างมาแสดงให้เห็นดังนี้

พุธศุกร์ชีวะวาร ส่งสร้อย
ในเรือนสี่ เก้าห้า- ท่านว่าเป็น อุดมเกณฑ์- ตามที่จัด บัญญัติมา
สามองค์เทพโสภี กุมลัคน์

ในเรือนสี่ เก้าห้าท่านว่าเป็น อุดมเกณฑ์ ดามที่จัด บัญญัติมา
ดวงชะตานี้เป็นดวงได้องค์เกณฑ์และฆตดสมบูรณ์ตามกฎ แต่ได้อุดมเกณฑ์โดยอนุโลม จึงเป็นที่ทราบกันว่า ชีวิตของท่านผู้นี้รุ่งโรจน์โดดเด่น แต่เบ็นไปในสภาพใจสู้ คือรถที่มีแชสซีดี มีเครื่องยนต์ที่กำลังดี แต่ตัวถังที่นั่งที่พิงไม่สู้จะเรียบร้อยสมบูรณ์ทำให้นั่งได้ไม่ค่อยสบายนัก
ที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้เบ็นหลักพิจารณาว่า "ดวงองค์เกณฑ์"เช่นไรที่พอจะเชื่อได้ว่าจะส่งผสให้เจ้าราคาประสบความรุ่งเรื่องและถาวรสมดังที่ดำรากล่าวไว้ ไม่ได้หมายความดวงชาตาที่ได้องค์เกณฑ์เท่านั้นจึงจะมียศถาบรรดาศักดิ์รุ่งเรืองได้ เพราะดวงที่ไม่มีองค์เกณฑ์หรืออุดมเกณฑ์เลยก็เป็นใหญ่โตได้ เพียงแต่ใช้หลักในการพิจารณาต่างกันออกไปเท่านั้น
ตำราโหราศาสตร์ส่วนมากนั้น มุ่งในการให้ "ความรู้" กันอย่างกว้างขวางและละเอียดพิสดาร เหมือนกับการพยายามสร้างกองทหารประกอบด้วยกำลังพลมากมายเต็มอัตราไว้ให้ แต่ลืมให้หลักแบ่งชั้นไว้ว่า คนไหนเป็นนายพัน นายร้อย นายสิบหรือพลทหาร เลยไม่รู้ว่าใครสำคัญกว่าใคร ใครจะบังคับบัญชาใคร
ข้อเปรียบเทียบนี้จะเห็นได้จากนักศึกษาด้วยตนเองจากตำราส่วนมาก แม้จะมีความรู้ความเข้าใจตำราเป็นอย่างดีแล้วก็ตาม ก็ยังอดพรั่นพรึงและลังเลในการพยากรณ์ไม่ได้ เพราะไม่ทราบว่ากฎเกณฑ์พยากรณ์ที่มีอยู่มากมายนั้นอะไรสำคัญกว่าอะไรและควรจะใช้กฎข้อไหนก่อนหรือหลัง หรือข้อไหนควรใช้หรือไม่ควรใช้ในที่เช่นไร
แต่การหา "หลัก" นั้นทำได้ยากกว่าการหา "ความรู้" เพราะเป็นสิ่งตกหล่นอยู่นอกตำรา และต้องใช้เวลาในการไปศึกษากับผู้รู้เป็นส่วนตัว ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่สามารถจะทำได้ทุกคน การเสนอบทความเกี่ยวกับหลักวิชาที่ดูเสมือน "แผลงตำารา" หรือ "นอกครู" ของผม เท่าที่ทำมา ก็ด้วยเจตนาที่จะอำนวยความสะดวกแก่นักศึกษาและผู้สนใจเพื่อให้ได้ทราบ "หลัก" ที่จะยึดถือในการพยากรณ์ได้ดังกล่าวข้างต้น และตั้งใจว่านำมาเสนอต่อไปเรื่อยๆ เท่าที่โอกาสและหน้ากระดาษจะอำนวย




