คราส

              คราส

ที่ดับดวงอาทิตย์และดับชีวิตพระมหากษัตริย์องค์หนึ่งของไทย โดย: ประทีป อัครา

  บทความเรื่องนี้ เป็นการสนองต่อการที่ผู้อ่านจดหมายขอร้องมาดามที่ได้นำลงพิมพ์ไว้ในหน้าจดหมาย เปิดผนึกในพยากรณสารฉบับประจำเดือนกรกฏาคม ๒๕๑๔

เนื่องจากการคำนวณบอกการโคจรของดวงดาวโดยละเอียดเบ็นรายวันเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก ทั้งยังต้องใช้เวลามากอีกด้วยเป็นสาเหตุประการหนึ่ง และที่ยากยิ่งขึ้นไป คือการหาผู้รู้ที่สามารถทำงานนได้และยอม รับทำงานนี้ให้เป็นสาเหตุอีกประการหนึ่ง ที่ทำให้การเสนอเรื่องนี้ต้องล่าช้ามาจนถึงฉบับนี้

อย่างไรก็ตาม การไม่ละความขวนขวายจนได้เรื่องที่ท่านประสงค์มาลงให้อ่านกันจนได้นี้ทำให้เราได้รับอภัยในการทำให้ท่านต้องรอคอยบ้าง.
                                    บรรณาธิการ

   

    ในรอบศตวรรษหนึ่งๆ จะมีคราสอยู่ประมาณ ๔๐๐ ครั้งทั้งสุริยคราสและจันทรคราสรวมกัน โดยเฉพาะสุริยคราส ถ้านับตั้งแต่ที่คนไทยเริ่มรู้จักคราสเป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ก็มีคราสปรากฏให้เห็นมาแล้วนับเป็นพันครั้งด้วยกัน แต่ไม่เคยมีคราสครั้งไหนเลยที่จะมีความสำคัญให้เป็นที่สนใจจำกันมากเท่ากับคราสครั้งที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ ๑๘ สิงหาคม ๒๕๑๑ ทั้งนี้เพราะเหตุที่คราสครั้งนั้นไม่เพียงแต่จะดับดวงอาทิตย์ให้มืดมิดไปเท่านั้น แต่ยังใดดับชีวิตพระมหากษัตริย์องค์หนึ่งของไทยไปด้วย

    จากหลักฐานที่ค้นคว้าหาใต้ พอจะประมวลความสำคัญของคราสครั้งนั้นมาได้ ดังนี้
    ๑)คราสครั้งนั้นเป็นบูรณคราส คือเป็นคราสชนิดที่ดับมืดมิดหมดดวง (Total Eclipse)ซึ่งไม่เคยปรากฎให้เห็นในประเทศไทยมาก่อน
    ๒)พระมหากษัตริย์เป็นผู้คำนวณบอกเวลาและสถานที่ที่จะเห็นคราสครั้งนั้นเอง ทั้งยังประกาศให้ทราบกันล่วงหน้า และเสด็จไปทอดพระเนตรเพื่อพิสูจน์ด้วยพระองค์เองโดยไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก ปรากฎผลเป็นที่ถูกต้องตามที่ทรงคำนวณไว้ ทำให้พวกโหรซึ่งไม่ยอมเชื่อกันในตอนแรก เพราะความที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ต้องยอมรับในพระปรีชาสามารถทางด้านวิชาดาราศาสตร์ของพระองค์ และแม้แต่นักปราชญ์ทางดาราศาสตร์ชาวต่างประเทศก็ยังพากันยกย่องสรรเสริญ

   ๓)การเสด็จไปทอดพระเนตรคราสครั้งนั้น เป็นเหตุให้ทรงพระประชวรด้วยไข้ป่าและสวรรคตไปในที่สุด ในชั่วเวลาเพียง ๔๔ วันเท่านั้นหลังจากวันคราส

  เพื่อให้ท่านได้ทราบเรื่องของคราสครั้งนั้นโดยละเอียด จึงรอนำบันทึกที่ปรากฎเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาเสนอไว้ พร้อมด้วยรายละเอียดการโคจรของดาวพระเคราะห์ต่างๆ ทั้งทางสุริยยาตร์และทางดาราศาสตร์ สำหรับจะได้ใช้สอบหลักเกณฑ์การพยากรณ์ทางด้านโหราศาสตร์เทียบกันดู
 

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
เสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาที่หว้ากอ
         (ตามจดหมายเหตุของเจ้าพระยาทิพากรวงศ์)

   ในเดือน ๙ นั้น ทรงพระราชดำริถึงการสุริยุปราคางจะมีในเดือน ๑๐ ขึ้น ๑ ค่ำ ได้ทรงคำนวณไว้แค่ปีขาล อัฐศกว่า ในปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๒๓๐ จะมีสุริยุปราคาจับ... ดวง ซึ่งยากนักที่จะได้เห็นในพระราชอาณาจักร  ด้วยวิธีโหราศาสตร์ได้ทรงสะสม มานานตามสารัม ไทยสารัมภ์มอญ แต่ตำราอเมริกันฉบับเก่าและตำราอังกฤษเป็นหลายฉบับ ได้ทรงคำนวณสอบถามต้องกัน  ได้ทรงกะการตามในแผนที่ว่าจะมีเป็นแน่ ทวีปขิยอุดรองศา(๑๑ องศา) = ๔๑ลิปดา ๔๐พิลิป เป็นตะวันตก กรุงเทพมหานครเพียง ๕๐ลิปดา เวลากับในกรุงเทพมหานครเพียง ๓ นาทีกับ ๒๐ วินาที ไล้ทรงพิจารณาละเอียคถ้วนถี่แล้วว่าพระอาทิตย์จะจับหมดดวง และเห็นบนแผ่นดินไปไกลถึง ๑๓๐ลิปดา ต่อ ๑๔๐ลิปดา ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ ตรงท่ามกลางที่มืดหมดควง ขึ้นมาข้างบนถึงเมืองปราณบุรี ลงไปข้างใต้ถึงเมืองชุมพร ได้ทราบการเป็นแน่ดังนี้แล้ว จึงมีพระบรมราชโองการดำรัส พณ.หัวเจ้าท่าน สมุหพระกลาโหม ให้จัดการจ้างคนในหัวเมืองเพชรบุรี เมืองประจวบคีรีขันธ์ เมื่อกำเนิดนพคุณ เมืองประทิว และนายงานหลายนายให้จัดการทำค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ ที่ตำบลหว้ากอตรงเกาะจานเข้าไป ใต้คลองวานลงไปทาง ๒๔ เส้น แล้วโปรดให้แต่งคำประตีพิมพ์แจกให้ทราบหัวกัน
 
   ในครั้งนี้พวกนักปราชญ์ฝรั่งเคสได้ทราบว่าสุริยุปราคาจะมีในพระราชอาณาจักรแผ่นดิน จึงมีหนังสือมาถึงกงสุลฝรั่งเศสที่อยู่ในพระนครนี้ ให้กราบทูลขอพระราชทานอนุญาตที่จะเข้า
    ครั้น ณ.วันศุกร์ เดือน ๙ แรม ๔ ค่ำ เวลาเช้า ๔ โมง ๕๐ นาทีเสด็จพระราชดำเนิน โดยเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชออกจากท่านิเวน์วรดิตถ์ ใช้จักรไปถึงเมืองสมุทรปราการ เวลาย่ำเที่ยงแล้ว ๑๕ นาที ทอดสมออยู่ ๓ ชั่วโมงเศษ เวลาบ่าย ๔ โมง ๑๕ นาที ใช้จักรออกจากที่ทอดสมอแล้วข้ามสันดอน ฯลฯ
 
    รุ่งขึ้น ณ วันเสาร์ เดือน ๙ แรม ๕ ค่ำ เวลาย่ำรุ่งแล้วถึงเขาสามร้อยยอด ใช้จักรไปเวลา ๔ โมงเช้าถึงเกาะ หลังเวลาเที่ยง ถึงที่ทอดสมอหน้าค่ายหลวงตำบลหว้า ที่ตรงนั้นน้ำลึก ๘ ศอก อยู่ใต้คลองวานเหมือเกาะจาน  แต่อากาศมืดคลุ้ม มีแต่เมฆคลุมไปทุกทิศทุกแห่งไม่เห็นแดดและเดือนดาวเลย พระอาทิตย์พระจันท์ร์เห็นบ้างราง ๆ บาทนาฬิกา ๑ บ้าง กึ่งบาทบ้าง และที่ทอดเรือหน้าค่ายหลวงที่ตรงกับตำบลหว้ากอนั้น คลื่นใหญ่เรือโคลงอยู่เสมอ เรือพระที่นั่งได้ทอดอยู่หน้าค่ายหลวงประมาณ 3 ชั่วโมง ครั้นเวลาย่ำค่ำมีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้ถอยเรือพระที่นั่งกลับไป
ทอดประทับแรมอยู่ที่อ่าวมะนาว อันเป็นที่ลับบังลมไม่มีคลื่นใหญ่ เหนือที่พลับพลาไป ทางประมาณ ๒๐๐ เส้น ทอดประทับแรมอยู่ ๑ วัน
 
    ณ.วันจันทร์ เดือน ๙ แรม ๗ ค่ำ เวลาเย็น เสด็จพระราชดำเนินขึ้นจากเรือพระที่นั่งอรรคราชวรเดชขึ้นฝั่ง ทรงม้าพระที่นั่งตั้งแต่อ่าวมะนาวลงไปถึงพลับพลาค่ายหลวงตำบลหว้ากอ เวลาย่ำค่ำ เรือพระที่นั่งก็ทอดอยู่ที่หน้าค่ายหลวง ห่างฝั่งประมาณ ๒๐ เส้นเศษ เรืออรรคเรศรรัตนาศน์ เรือสยามูปสดัมภ์และเรืออื่นๆ ก็ทอดล้อมวงอยู่ชั้นนอกพร้อมกัน
 
   รุ่งขึ้น ณ.วันอังคาร เดือน ๙ แรม ๘ ค่ำ เวลาเช้า ๓ โมงเศษ ได้พระฤกษ์ยกเสาธงและฉัตร ชักธงพระจอมเกล้าขึ้นที่พลับพลาค่ายหลวง รับสั่งให้ประโคมแล้วทรงจุดปืนใหญ่ด้วยพระหัตถ์ ฯลฯ เวลาบ่าย ๑ โมง พวกนักปราชญ์ฝรั่งเศสมาเฝ้าที่พลับพลา ๘ นาย ฯลฯ
    ดวงพระฤกษ์ยกเสาธงและฉัตร
 
ณ.วันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๑ ค่ำ เวลาเช้า กำมดัน(กัปตัน) นายเรือรบฝรั่งเศส ขอเชิญสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฬ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิดประชานาถ ให้เสด็จลงไปเที่ยวในเรือรบโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พณ หัวเจ้าท่าน เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ลงไปด้วย กำมต้นจัดการรับเสด็จเหมือนอย่างรับกษัตริย์ในประเทศยุโรปมีทหารทอดกราบและยืนเพลา แล้วยิงปืนใหญ่รับ ๒๐ นัด ทหารประจุปืนปัศต้นลุกขึ้นลากกระชากเอาแขนขาดตายคนหนึ่ง ครั้นเวลาค่อนเที่ยงวัดแดดสอบแผนที่ที่ตั้งค่ายหลวง ครั้นเวลาบ่าย ๕ โมงเศษ เสด็จพระราชดาเนินไปที่โรงนักปราช
ฝรั่งเคสมาตั้งอยู่ เวลาจวนค่ำเสด็จกลับ

ณ วันศุกร์ เดือน ๙ แรม ๑๑ ค่ำ เวลาเช้า ๓ โมงเศษ มิสเตอร์อาลบาศเตอร์ ผู้ว่าราชการแทนกงสุลอังกฤษขึ้นไปเฝ้าที่พลับพลา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ยิงปืนรับ ๗ นัด

ณ วันอาทิตย์ เดือน ๙ แรม ๑๓ ค่ำ เจ้าเมืองสิงคโปร์ (เซอร์ แฮรี่ออด) มาด้วยเรือกลไก ๓ ลำ ถึงหว้ากอเวลา ๓ โมงเช้าโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้หลวงพิเคษพจนาการเป็นข้าหลวงไปเยี่ยมเยียน

ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๙ แรม ๑๔ ค่ำ เจ้าเมืองสิงคโปร์ ขึ้นมาเฝ้าที่พลับพลาค่ายหลวงโปรดให้ยิงขึ้นสลุดรับ ๑๗ นัด ให้พระราชทานทองคำบางสะพาน ด้งแต่เจ้าเมืองสิงคโปร์และพวออฟฟิคเซอร์ขึ้นมาเฝ้าทุกคน แล้วเชิญให้ไปอยู่ที่เรือนพักซึ่งทำไว้รับเขา

รุ่งขึ้น ณ วันอังคาร เดือน ๑๐ ขึ้น ๑ ค่ำ เวลา ๒ โมงเช้า เจ้าพนักงานเตรียมกล้องให้น้อย เครื่องทรงทอดพระเนตรสุริยุปราคา เวลาเข้า ๔ โมง ๓ นาที เสด็จออกทรงกล้อง แต่ท้องฟ้าเป็นเมฆฝนคลุ้มไป ในด้านตะวันออกไม่เห็นอะไรเลย ต่อเวลา ๔ โมง ๑๖ นาที เมฆจึงจางสว่างออกไปเห็นดวงพระอาทิตย์ไรๆ แลดูพอรู้ว่าจับแล้ว จึงประโคมเสด็จสรงมุรขาภิเษก
 

ครั้นเวลา ๕ โมง ๒๐ นาที แสงแดดอ่อนลงมา ท้องฟ้าตรงดวงอาทิตย์สว่างไม่มีเลย ที่อื่นแลเห็นดาวใหญ่ด้านตะวันตกและดาวอื่นๆ มากหลายดวง เวลา ๕ โมงกับ ๓๖ นาที ๒๐ วินาทีจับสิ้นดวง
 


เวลานั้นมืดเหมือนกลางคืนเวลาพลบค่ำ คนที่นั่งใก้ลๆกัน กผ้แลดูไม่รู้จักหน้ากัน ฯลฯ

(หมายเหตุ - ตามจดหมายเหตุของ Sir Hary Ord ซึ่งหมอบรัดเล น้ำเอามาลงพิมพ์ไว้ในหนังสือบางกอกกาลันเดอร์บอกไว้ว่า สุริยุปราคาครั้งนี้จับหมลดวงอยู่เป็นเวลา ๖ นาที กับ ๔๕ วินาที)   

      ทำทัณฑกรรมโหร
   ณ วันเสาร์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๕ ค่ำ เวลาเช้า ๓ โมงเศษ เสด็จออกพระที่นั่งอนันตสมาคมมีพระบรมราชโอการรับสั่งถามพระโหราธิบดีว่า สุริยุปราคาที่กรุงเทพมหานครจับกี่ส่วน ยังเหลือกี่ส่วน พระโหราธิบดีและโหรมีชื่อกราบทูลพระกรุณาไม่ถูก ทรงพระพิโรธ ให้ไปขัดคิลาที่วังสราญรมย์อยู่วัน ๑ แล้วให้ทำทัณฑกรรมไว้ภายใต้ห่องอาลักษณ์  ลูกปะคำหอยโข่งสวมคอ กินข้าวน้ำด้วยกะลากาบหมากเป็นภาชนะใส่กับข้าวอยู่ ๘ วันจึงพ้นโทษ

   ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๗ ค่ำ เวลาเช้า ๓ โมงเศษ เลด็จออกทรงปรนนิบัติพระสงฆ์ในพระพุทธนิเวน์ รับลั่งถามพระราชาคณะด้วยเรื่องสุริยุปราคา พระราชาคณะถวายพระพรไม่ต้องกัน ทรงขัดเคือง

   ทรงพระประชวร
ครั้นเวลายามเศษ ณ วันพุธ เดือน ๑๐ ขึ้น ๙ ค่ำ เสด็จกลับประทับในพระบรมมหาราชวังให้ครั่นพระองค์ทรงพระประชวรไม่เสด็จออกว่าราชการ เสวยพระโอสถข้างที่ ณ วันอาทิตย์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๓ ค่ำ เวลาทุ่มเศษ ทรงจับสั่นไปจมเวลา ๒ ยามเศษ ครั้นสร่างจับแล้ว รับสั่งให้หาพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนวรจักรธราบุภาพเข้าไปเฝ้าในที่ทรงพระประชวร จึงรับสั่งให้ไปประชุมหมอหลวงมีชื่อประกอบพระโอสถถวาย กรมขุนวรจักรธรานุภาพก็รับพระบรมราชโองการ ออกมาสั่งให้หลวงทิพจักษุประกอบพระโอสถเข้าไปตั้งถวาย

วันอังคาร เดือน ๑๐ แรม ๔ ค่ำ เวลาเช้า ๔ โมงเศษ พระอาการกำเริบมากขึ้น ในทรงเชื่อม กระหายน้ำ พระกระยาเสวยถอยลง พระอาการแปรไปข้างอุจจาระธาตุ พระวงศามุวงท่านเสนาบดี ปรึกษาพร้อมกันเห็นว่า หลวงทิพจักษุถวายพระโอสถมาก็หลายวันแล้ว พระอาการหาคลายไม่ จึงให้ประชุมหมอหลวงว่า ผู้ใดจะรับฉลองพระเดชพระคุณได้ หมอทั้งปวงก็นิ่งอยู่ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท จึงรับฉลองพระเดชพระคุณ ตั้งพระโอสถเข้าไปถวายหลายเวลา พระอาการก็ไม่ถอย

ณ วันจันทร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๕ ค่ำ เวลาย่ำเที่ยงแล้ว พระอาการกำเริบขึ้นอีก ทรงพระอาเจียนพระโลหิตตกเป็นลิ่มเหลวบ้าง ทรงรับด้วยพระภูษาชับพระโอษฐ์ ให้ป่วนพระนาภี จึงรับให้พระยาบุรุษรัตนราชพัลลภ พระประเสริฐศาสตร์ดำรงเข้าไปเฝั้าในที่ จึงรับสั่งว่าพระโรคมากแล้ว ถ้าเห็นพระอาการเหลือปัญญาแพทย์หมอก็ให้กราบบังคมทูล อย่าให้ปิดบังไว้ จะได้จัดแจง

   ทรงขอขมาพระบรมวงศานุวงศ์และท่านเสนาบดี
ครั้น ณ วันพฤหัสบดี เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลาเช้า ๓ โมงเศษ รับสั่งให้หาพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท กรมขุนวรจักรธรานุภาพ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอกรมขุนบำราบปรษักษ์ เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ที่สมุทพระกลาโหม! เจ้าพระยาภูมธราภัย เข้าไปเฝ้าในที่ทรงพระประชรร จึงรับสั่งว่าวันนี้เบ็นวันพระจ้นทร์เต็มดวง นักปราชญ์ทั้งหลายก็ถึงความดับเบ็นอันมากในวันเพ็ญดังนี้ ควรพระชนมายุจะหมดจะดับในวันนี้เป็นแน่แล้ว ซึ่งขัดเคืองว่ากล่าวแก่ท่านทั้งหลายทั้งปวงมาแต่ก่อนนั้น ขออโหสิกรรมกันเสียเถิดอย่าให้เป็นเวรกันต่อไป
ขอฝากแต่พระเจ้าลูกยาเธอและพระเจ้าลูกเธอด้วย ถ้าจะมีความผิดสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นข้อใหญ่ ขอแต่ชีวิตไว้ให้เป็นแต่โทษเนรเทศ

ครั้นเวลาย่ำค่ำแล้ว รับสั่งให้หาพระยาบุรุษรัตนราชพัลลภเข้าไปเฝ้า ให้พยุงพระองค์พลิกพระเศียรทับพระพาหาเหมือนอย่างพระไสยาสน์ จึงตรัสว่าเขาตายกันดังนี้


รับสั่งให้พระยาบุรุษ ฯ จุดเทียนชัยและห้ามมิให้ถวายพระหนทางแล้วก็ทรงเจริญพระกรรมฐานสมาธิภาวนานิ่ง ศีรษะสู่ทิศอุดร ผันพระพักตรต่อประจิมทิศ พอย่ำค่ำประถมยามแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสู่สวรรคด ด้งแต่วันทรงพระประชวรมาจนสวรรคตได้ ๓๗ วัน อยู่ในราชสมบัติได้ ๑๘ พระพรรษา สิริพระชนม์ได้ ๖๕ พระพรรษา

พระบรมฉายาลักษณ์ของพระมหากษัตริย์ ผู้ทรงได้รับยกย่องว่าเป็นพระบิดาแห่งวิชาโหราศาสตร์พระองค์นี้ ประดิษฐานอยู่ในห้องประชุมของสมาคมโหรๆ ให้นักโหราศาสตร์ได้ถวายสักการะอยู่เป็นประจำ ถ้าย้อนนึกถึงสภาพภูมิประเทศของบ้านเมืองและสมรรถภาพของยวดยานที่ใช้ในการคมนาคมเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๑๑ คือเมื่อ ๑๐๐ ปีเศษมาแล้ว ก็จะเห็นได้ชดว่า การ

พระราชดำเนินไปยังตำบลหว้ากอของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งนั้นเป็นไปด้วยความยากลำบากมิใช่น้อยที่เดียว และนอกเหนือไปจากนั้น พื้นภูมิประเทศที่ทรงกำหนดเป็นที่ประทับแรมก็เป็นถิ่นที่ชุกชุมด้วยไข้ป่า ถ้ามองกันอย่างพื้นผิวๆ ก็คงอดคิดไม่ได้ว่า ไม่น่าจะทรงฝ่าอันตรายไปเพียงเพื่อจะได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเท่านั้น

แต่ถ้าได้พิจารณาเรื่องราวที่ปรากฎเป็นหลักฐานโดยละเอียดแล้ว ก็จะเห็นบรรดาอารยะประเทศอื่นๆ ที่รุ่งเรืองทางวิทยาการ เช่นนักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส และเจ้าเมืองสิงคโปร์ชาวอังกฤษเป็นต้น ต่างก็ได้ให้ความสนใจในเรื่องนี้มิได้น้อยไปกว่าเลยถึงกับยกกันไปเป็นขบวนเรือพร้อมด้วยผู้คนเป็นจำนวนมาก

ข้อความในประวัติศาสตร์ตอนนี้ เชื่อว่าจะมีประโยชน์แก่ผู้อ่านที่สนใจในวิชาโหราศาสตร์อยู่บ้าง อย่างน้อยก็เป็นบทเรียนด้วยของจริงที่จะใช้เป็นข้อมูลสำหรับค้นคว้าหาหลักเกณฑ์กันว่า เพราะอะไร หรือดาวดวงไหนที่มีพลังอิทธิพลหนักหนา ถึงผลักดันให้คนชั้นพระมหากษัตริย์ ยอมละพระราชฐานอันแสนจะสำราญสะดวกสบายตรากตรำเสี่ยงอันตราย จนในที่สุดต้องสูญพระชนม์ชีพไปเพราะพิษไข้ป่าได้เช่นนั้น

รายละเอียดการโคจรของดาวพระเคราะห์ต่างๆ ทั้งทางคัมภีร์สุริยยาตร์ซึ่งอาจารย์ทองเจือ อ่างแก้ว เอื้อเฟื้อเป็นผู้คำนวณให้ และทางดาราศาสตร์ซึ่งข้าพเจ้าเป็นผู้คำนวณเสนอไว้ท้ายเรื่องนี้ คงจะช่วยท่านได้เป็นอย่างดี สำหรับใช้ประกอบการพิจารณาหาผลในหลักวิชาโหราศาสตร์

โดยที่ "พยากรณสาร" ในยุคบรรณาธิการใหม่นี้มินักวิชาการและนักพยากรณ์ดีๆ มาออกสนามร่วมงานด้วยอย่างคึกคักมากมายหลายท่าน จึงขอฝากข้อมูลนี้ไว้ให้กรุณาวิจารณ์หรือขยายหลักเกณฑ์เผื่อแผ่มาสู่กันเป็นวิทยาทานบ้าง.
 
#By_คุณยายกลิ่นโสม 100
        ---------------------
  สนใจดูดวงติดต่อ: baankunyai 102 100450
     
Visitors: 216,750