ศัพท์ใช้ทางโหราศาสตร์
นิยามศัพท์ที่ใช้ในทางโหราศาสตร์ (Definition)
ตารางที่ 1 คำนิยามศัพท์ที่ใช้ในทางโหราศาสตร์ (เรียงตามตัวอักษรไทย) |
||
คำศัพท์ |
ภาษาอังกฤษ |
นิยามศัพท์หรือความหมาย |
กมุทเกณฑ์
|
|
หมายถึงมีจุดปฏิสนธิหรือลัคนา (ลั) ดวงฤกษ์กุมดาวพฤหัสบดี เนปจูน มฤตยู (ล + ๕ + น + ๐ )มีความหมายถึง ความมีปัญญาเป็นที่ตั้งเข้าใจง่าย ๆ ก็คือการที่มีลัคนากุมพฤหัสบดี เนปจูน มฤตยู |
กุม |
Conjunction |
มุม 0 องศา (กุม)คือดาวสถิตอยู่ราศีเดียวกันหมายถึงการรวมพลังของดาวเคราะห์ที่มากุมกันดาวจะส่งกำลังให้แก่กันถึง 100% และดาวจะเป็นดวงเดียวหรือหลายดวงก็ตามเมื่อสถิตร่วมราศีเดียวกันแล้ว เรียกว่า ดาวกุมลัคนา หรือดาวร่วมลัคนา ส่งผลให้ลัคนา 50% |
เกณฑ์ |
|
มุม 90 และ 270 องศา (เกณฑ์)หมายถึง ความขัดแย้ง ความท้าทาย คือ กฎการส่งกำลังของดาวเคราะห์หมายถึงดาวเคราะห์ดวงหนึ่งสามารถส่งกำลังถึงดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งได้กี่เปอร์เซ็นต์เช่น 25 % , 50 % , 75 % หรือ 100 % ทั้งนี้ การนับเกณฑ์เรานับจากราศี เช่น นับไป 3 ราศีก็เป็นเกณฑ์ 3 นับไป 10ราศีก็เป็นเกณฑ์ 10 ฯลฯผลของเกณฑ์จะดีหรือร้ายขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ของดาวที่เป็นเกณฑ์แก่กัน เช่น เป็นศุภเคราะห์หรือบาปเคราะห์เป็นประหรือนิจฯ |
จักรราศี |
Zodiac sign |
หมายถึง วงล้อหรือวงกลมของกลุ่มดาวรูปต่างๆ ซึ่งแบ่งออกเป็น 12 ส่วนส่วนละ 30 องศา เรียกเป็น 12 ราศีแทนด้วยสัตว์จริงหรือสัตว์สมมุติจุดเริ่มต้นของจักรราศีคือจุดที่เวลากลางวันเท่ากับเวลากลางคืนในฤดูใบไม้ผลิ เรียกว่า วสันตวิษุวัต จุดนี้คือ 0 องศาราศีเมษ |
โชคชะตา |
Destiny |
หมายถึงชะตากรรม, เคราะห์กรรม หรือพรหมลิขิต ของมนุษย์เรา |
ดาวเคราะห์ |
Planets |
ดาวเคราะห์ในมุมของโหราศาสตร์ ที่เราใช้มีทั้งหมด 10 ดวง ได้แก่จันทร์ พุธ ศุกร์ อาทิตย์ อังคาร พฤหัส เสาร์ ราหู เกตุ และมฤตยู เรียงลำดับตามอัตราการโคจรจากเร็วที่สุดไปช้าที่สุด /ราหู และเกตุ ไม่ใช่ดาวแต่เป็นจุดคราสในสุริยุปราคาและจันทรุปราคา |
ดาวฤกษ์ |
Fixed stars |
ดาวฤกษ์ คือดาวที่อยู่กับที่และมีแสงสว่างในตัวเอง ในทางโหราศาสตร์ดาวฤกษ์หมายถึงกลุ่มดาวที่นำมาใช้เป็นชื่อฤกษ์ต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่ 27 กลุ่มและจัดเป็น 9 หมวดหรือ 9 ฤกษ์ ได้แก่ สมโณฤกษ์, ราชาฤกษ์,มหัทธโณฤกษ์, ทริทโธฤกษ์, ภูมิปาโลฤกษ์, เทศาตรีฤกษ์,โจโรฤกษ์, เพชฌฆาตฤกษ์และเทวีฤกษ์ |
ดิถี |
Lunar phase |
คือการแบ่งวันเป็น 29 - 30 วัน นับตามข้างขึ้นข้างแรม จากขึ้น1 ค่ำ ไปถึง 15 ค่ำ โดยเดือนไทย 2, 4, 6, 8, 10 และ 12 มีถึงแรม 15 ค่ำ |
ดวงชะตา |
Horoscope |
หมายถึงรูปดวงหรือแผนภาพการผูกดวงทางโหราศาสตร์ |
ตรีโกณ |
Trine |
มุม 120 และ 240 องศา (ตรีโกณ)หมายถึง การเสริมพลังซึ่งกันละกันคือ นับจากดาวดวงหนึ่งไปหาดวงหนึ่งได้ 5 ราศี เราเรียกว่าดาวนั้นเป็นตรีโกณแก่กัน หรือเรียกว่าดาวร่วมธาตุราศีกัน ดาวที่อยู่ในลักษณะเช่นนี้ย่อมส่งกำลังให้แก่กัน 50% ถ้านับจากลัคนาไป 5-9 ราศี พบดาวใด เราเรียกดาวนั้นว่าเป็นตรีโกณแก่ลัคนา หรือร่วมธาตุแก่ลัคนา ส่งผลให้แก่ลัคนา 75% |
ตรียางค์ |
Navamsa
|
1 ราศี มี 30 องศา เท่ากับ 3 ตรียางค์ / |
ทักษา |
|
คือ สิ่งที่ใช้บอกหน้าที่ของดวงดาวทั้ง 10 ดวง ที่มีต่อบุคคลใด ๆ โดยกำหนดจากวันที่บุคคลคนนั้นเกิด (จากวันเกิด) |
ธาตุ |
Element |
ในไทยแบ่งออกเป็น 4 ธาตุ คือ ไฟ ดิน ลม น้ำ โดยธาตุไฟ-น้ำ และ ลม-ดินเป็นศัตรูแก่กัน |
นักษัตร |
Stars |
คือดาวฤกษ์ในระบบสุริยะจักรวาล มีหมู่ดาวรวม 27 หมู่ ซึ่งดวงจันทร์จะโคจรผ่านเข้าไปในหมู่นักษัตรเหล่านี้ครบทั้ง 27 นักษัตร จึงได้ 1 รอบวงจรหรือ หมายถึง 1 เดือนจันทรคติ |
นิจ |
|
คือ ดาวเคราะห์อยู่เรือนที่ตนเองตกต่ำหรือภพต่ำมีกำลังน้อย ให้โทษกับดวงชะตา ได้แก่ดาวที่อยู่ในราศีตรงข้าม อุจ และมหาอุจ นั่นเอง |
ปทุมเกณฑ์ |
|
หมายถึง จันทร์ เป็น ๑๑ (ลาภะ) แก่ ลัคน์ เรียกว่ามีปทุมเกณฑ์ มีเสน่ห์ดีเป็นที่รักชอบของคนทั้งหลาย ทั้งปวงใครมีปทุมเกณฑ์ก็จะมีเสน่ห์มาก ๆ ในแบบดาวนั้น ๆ เป็นเกณฑ์อันเกิดจากดาวพฤหัส ดาวศุกร์ และดาวจันทร์ |
พักร |
Retrograde Motion |
หมายถึงการโคจรย้อนจักรราศี หรือย้อนการโคจรตามธรรมชาติของดาวพระเคราะห์นั้น ดาวพระเคราะห์ใด โคจรพักร ย่อมหมายถึงการขาดตอน ความจำกัดและความเสื่อมถอยอันเนื่องมาจากการที่ต้อง เอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อบรรลุผลในสิ่งตามความหมายของดาวพระเคราะห์นั้น สำหรับทางด้านจิตวิทยาจะหมายถึงพัฒนาการและการแสดงออกที่ ถูกจำกัด ไม่มั่นคงของขีดความสามารถที่ตรงกับธรรมชาติ ของดาวพระเคราะห์นั้น ดาวพระเคราะห์ที่โคจรพักรไว้ใจไม่ได้ จะให้ความไม่แน่นอน ทั้งด้านดี และด้านร้ายและโบราณถือว่าดาวพระเคราะห์ที่โคจรพักรนี้ มีคุณภาพไม่ดีนักสำหรับการดูแบบเรือนชะตา |
ภพหรือ เรือนชะตา |
Houses |
ภพ เรียกตามไทยว่า เรือนชะตา มีอยู่ 12 เรือน หรือ 12 ภพ เมื่อคำนวณดวงชะตา วางลัคนาเรียบร้อยแล้ว ให้ถือเอาภพที่ลัคนาสถิต เป็นภพที่ ๑ แล้วนับเวียนซ้ายทวนเข็มนาฬิกาเรียงลำดับกันไป |
มนท์ |
Slow in motion |
เรียกว่าโคจรช้าดาวพระเคราะห์ใดก็ตาม ถ้าโคจรช้า หรือมีอัตราการโคจรน้อยกว่าอัตราการโคจรโดยเฉลี่ย จะมีผลทำให้สิ่งตามความหมายของดาวพระเคราะห์ดวงนั้น พัฒนาการช้า และบรรลุผลช้า ทางด้านจิตวิทยาจะหมายถึงการแสดงออก และมีกริยาที่เชื่องช้า และสำหรับในด้านชองชะตาชีวิตหมายถึงโอกาสช้า หรือมีธรรมชาติเฉื่อยชานั่นเอง อย่างไรก็ดีความช้าก็คือความมั่นคง |
มุมสัมพันธ์ |
Aspect |
เนื่องจากจักรราศีเป็นทางวงกลม ดาวเคราะห์โคจรไปเป็นวงกลม ทำให้ดาวแต่ละดวงอาจจะมีความสัมพันธ์กันเชิงมุม หรือทำมุมต่อกันได้ ดาวที่ทำมุมกัน จะมีปฏิสัมพันธ์กัน เหมือนตัวละครที่มีบทบาทร่วมกัน มีอยู่ด้วยกัน 5 มุม ได้แก่ กุม, โยค, เกณฑ์, ตรีโกณ และ เล็ง |
มหาจักร |
|
คือดาวที่ให้คุณแน่นอนที่สุด หมายถึง ความเจริญดีงามอย่างใหญ่หลวง ส่งผลในทางลาภยศ สรรเสริญ และอำนาจวาสนา |
ยาม |
|
คือการแบ่งเวลา กลางวันและกลางคืน โดยแต่ละเวลาแยกออกเป็น 8 ส่วนๆละ 1 ชม.ครึ่ง (อัฐกาล) |
โยค |
Sextile |
มุม 60 และ 300 องศา (โยค)คือ นับจากดาวดวงหนึ่งไปหาอีกดวงหนึ่งได้ 3 ราศี เราเรียกว่าดาวนั้นเป็นโยคแก่กันหมายถึง การเปิดโอกาสสู่มุมมองใหม่ การสนับสนุนส่งเสริมดาวที่อยู่ในลัคนาเช่นนี้ย่อมส่งกำลังแก่กันได้ 25% และคำว่าดาวโยคลัคนา คือนับจากลัคนาไป 3 ราศี คือเรือนสหัชชะ พบดาวดวงใด เรียกว่าดาวโยคหน้าแก่ลัคนา และนับจากลัคนาไป 11 ราศี คือเรือนลาภะ พบดาวใด เรียกว่า ดาวโยคหลังแก่ลัคนา ดาวที่โยคหน้าและโยคหลัง ส่งผลให้แก่ลัคนา 100% ถ้าดาวโยคหน้าดีในวัยหนุ่มสาว ถ้าโยคหลังดีในวัยกลางคนและวัยชรา |
ราศี |
Sign |
คือส่วนแบ่งของจักรราศีบนทรงกลมท้องฟ้ามี 12 ส่วน ความกว้างส่วนละ 30 องศา เรียกว่า 12 ราศี รวมเป็น 1 จักราศี เท่ากับ 360 องศา/ราศีต้นหรือราศีที่ 1 เรียกว่าราศีเมษ (นับทวนเข็มนาฬิกา) |
ลัคนา |
Ascendant |
ลัคนาก็คือจุดตัดของเส้นรวิมรรคหรือเส้นสุริยะวิถีที่พระอาทิตย์โคจร (Ecliptic) กับแกนขอบฟ้าของโลกทางทิศตะวันออกที่เรียกว่า Horizon ในขณะที่พระอาทิตย์กำลังขึ้นสู่ขอบฟ้า เช่นในเดือนเมษายน พระอาทิตย์ขึ้นที่จุดตัดที่ว่านี้ตรงกลุ่มดาวราศีเมษพอดีในตอนเช้า/ในโหราศาสตร์หมายถึงจุดปฏิสนธิหรือจุดเริ่มต้นของบุคคล |
เล็ง |
Opposition |
มุม 180 องศา (เล็ง)หมายถึง การเผชิญหน้า ความตึงเครียดที่ต้องปรับสมดุลคือ ดาวที่สถิตอยู่ในราศีตรงข้ามกัน คือ เป็น ๗ (ปัตนิ / ตรงข้าม) แก่กัน เราเรียกว่าดาวเล็งกัน ดาวที่อยู่ในลักษณะเช่นนี้ย่อมส่งกำลังให้แก่กันถึง 100% และคำว่าดาวเล็งลัคนา คือดวงดาวซึ่งอยู่ตรงกันข้ามกับลัคนาในเรือนปัตนิ หากนับหนึ่งจากลัคนา จะเป็น ๗แก่ลัคนา ดาวนั้นจะส่งผลให้ลัคนา 75% |
วิกลคติ |
|
ดวงดาวโคจรผิดปกติ ได้แก่ |
สมผุส |
Geocentric |
หมายถึง การยึดโลกเป็นศูนย์กลาง และมองดวงดาวต่าง ๆ จากโลก (ถ้าดูจากดวงอาทิตย์เรียก ตำแหน่งมัธยม[Heliocentric] ) |
สุริยะจักรวาล |
Solar system |
หมายถึง ระบบสุริยะจักรวาลคือระบบดาวที่มีดาวฤกษ์เป็นศูนย์กลาง และมีดาวเคราะห์ (Planet) เป็นบริวารโคจรอยู่โดยรอบ เมื่อสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิต สิ่งมีชีวิตก็จะเกิดขึ้นบนดาวเคราะห์เหล่านั้น หรือ บริวารของดาวเคราะห์เองที่เรียกว่าดวงจันทร์ (Satellite)แต่ในทางโหราศาสตร์ถือเอาโลกเป็นศูนย์กลาง |
เสริด |
Direct motion |
การโคจรเร็วของดาว เรียกว่าเสริด ดาวพระเคราะห์ใดก็ตามถ้าโคจรเร็วหรือเสริด มีอัตราการโคจรมากกว่าอัตราการโคจรเฉลี่ย จะมีผลทำให้สิ่งตามความหมายของดาวพระเคราะห์ดวงนั้น พัฒนาการเร็ว และบรรลุผลเร็ว ทางด้านจิตวิทยาจะหมายถึงการแสดงออก และมีกริยาอย่างรวดเร็ว สำหรับในด้านของชะตาชีวิตหมายถึงโอกาสมาเร็ว อย่างไรก็ดีการมีความรวดเร็วย่อมบกพร่องทางด้านความละเอียดถี่ถ้วนเป็นของธรรมดา |
หมอดู |
Fortuneteller |
หมายถึง บุคคลผู้ที่ใช้วิชาโหราศาสตร์ ทำนายเรื่องราวต่าง ๆ โดยจะใช้วิชาใดก็ได้วิชาหนึ่งหรือหลายวิชารวมกัน |
โหร |
Astrologer |
หมายถึง ผู้ที่ใช้ตำแหน่งดวงดาวบนท้องฟ้าในการทำนาย |
โหราศาสตร์ |
Astrology |
วิชาว่าด้วยการพยากรณ์โดยอาศัยการโคจรของดวงดาวเป็นหลัก |
อุจจ์ |
Exaltation |
คือ ดาวเคราะห์อยู่เรือนที่ตนเองสูงส่งมีกำลังมากให้คุณกับดวงชะตา |
องค์เกณฑ์ |
|
หมายถึง ดวงดาวอยู่ในภพที่สลายความเลวร้ายและอาจให้คุณกับดวงชะตาได้ นอกจากนี้ยังมี อุดมเกณฑ์, ปทุมเกณฑ์ และสิงห์เกณฑ์อีกด้วย ซึ่งมีความแข็งแตกต่างหรือลดระดับลงมา (ความหมายอย่างง่าย ๆ ก็คือ ความมีวาสนา หรือมีบุญบารมีมาแต่กำเนิด) |