วัน เดือน ปี

        วัน เดือน ปี  
       
เรามาคุยคร่าวๆเรื่อง วัน เดือน ปี ตามโหราศาสตร์ กันก่อนเรียนนะจ๊ะ

  วัน
...ในสมัยโบราณ เค้าใช้การสังเกตุและจดจำ การโคจรของดวงดาว เพื่อใช้ประโยชน์แก่กาลเวลา ฤดูกาล และยังเอามากำหนดเป็นวัน เป็นเดือน เป็นปี สำหรับการนับเวลาที่ผ่านมาแล้ว และย่างก้าวไปในอนาคต ได้ถูกต้อง ฉะนั้นเค้าจะใช้สังเกตุ วัน เดือน ปี จากดาวแค่ 2 ดวงเท่านั้น นั่นก็คือ อาทิตย์ และ จันทร์ 
 
 วัน เป็นหนึ่งรอบหนึ่ง ระยะสั้นๆ ซึ่งเค้าจะใช้การดูจาก อาทิตย์ขึ้นและอาทิตย์ตกแล้วเวียนกลับมาขึ้นขอบฟ้า นี่คือหนึ่งวัน ฉะนั้นจะเห็นว่าเราเรียกว่า วัน วันก็มาจากคำว่า ตะวันนั่นเอง 
 
เดือน เป็นการนับรอบเดือน ในสมัยโบราณเราจะใช้นับจากจันทร์ ไทยเราจะถือเอาวันจันทร์ดับสนิทเป็นวันอมาวสี เป็นวันสิ้นรอบเดือน แล้วก็ขึ้นเดือนใหม่ จันทร์จะโคจรรอบโลกเราไปอยู่ตรงกับอาทิตย์พอดี แล้ววนมามืดมิดอีกครั้ง ก็จะตกชนรอบหนึ่งเดือนพอดี ซึ่งเดือนนี้..ก็มาจากเดือน ที่มีความหมายมาจาก จันทร์ นั่นเอง
 
รอบหนึ่งเดือนนี้ หากนับจริงๆก็จะเห็นว่าไม่ใช่ 30 วันเปะๆหร๊อกนะคะ หากว่านับจากดวงอาทิตย์ก็จะได้ 29 วันกว่าๆ แต่หากเป็นรอบที่จันทร์หมุนรอบโลกก็จะได้ 27 วันกว่าๆซึ่งการนับแบบจันทร์นี้ และนับวันที่ล่วงไปในเดือนจันทรคติว่า "ดิถี" เช่น 1ดิถี , 2 ดิถี หรือที่เราคุ้นๆหู ก็คือ 1 ค่ำ 2 ค่ำ นั้นเองซึ่งข้างขึ้น 15 ค่ำ ข้างแรม 15ค่ำ โบราณเรียกดิถีระบบนี้ว่า "ดิถีมาส" นับตั้งแต่วันพระจันทร์ดับสนิท ( วันอมาวสี ) ไปถึงวันพระจันทร์สว่างเต็มดวง(วันเพ็ญ หรือ ปรูณมี ) เรียกว่าข้างขึ้นหรือกุศลปักษ์ และนับจากวันเพ็ญ ไปจนถึงวันพระจันทร์ดับสนิอีกทีนึง ว่า ข้างแรม หรือกาฬปักษ์ รวม 2 ปักษ์ เป็น 1 เดือนพอดี นั่นเอง
 
   ปี โบราณเราใช้การนับปี มาจากการสังเกตุฤดูกาล ทางธรรมซาติสัมผัส นั่นก็คือฤดูร้อน ฤดูฝน ฤดูหนาว พอครบรอบฤดูกาลเมื่อไหร่นั่นก็คือ 1 ปี พอดี ไทยเราใช้ทั้งรอบทั้งสุริยคติ กับ จันทรคติ เรียกว่าใช้แบบผสมว่าง้านเถอะ อะไรที่ว่าดีๆพี่ไทยรับหมดค่ะ 
 
   โดยการคำนวณทางโหรฯ จะถือเอาอาทิตย์โคจรจากจุดที่มองจากโลกนั่นก็คือราศีเมษและ มาสิ้นสุดที่ราศีมีน และเมื่อเข้าสู่ราศีเมษที่เราเรียกว่า "สงการนต์" และหลังวันสงการนต์เป็นวันเถลิงศก นั่นก็คือขึ้นจุลศักราชใหม่ หรือเปลี่ยนปี ขึ้นปีใหม่นั่นเอง จะเห็นว่าการชนรอบของฤดูกาล แต่ฤดูกาล ซึ่งจะตกเฉลี่ยได้ 12 เดือน พอดี ซึ่งชน 1 รอบก็เท่ากัน 1 ปี นั่นเองจร้าาาา   กว่าจะเขียนจบได้เหงื่อตกเลย ที่จริง copyเค้ามานะ 5555 



ขอบคุณที่มา : บทเรียนทางไปรษณีย์ ของ อาจารย์อรุณ ลำเพ็ญ (หมอเถา)วัลย์ 
   

#By_คุณยายกลิ่นโสม 102100
#อ่านดวงไทยสบายสบายตามสไตล์คุณยายกลิ่นโสม
#ฟรี!!เรียนดูดวงฟรี!!เรียนโหราศาสตร์ไทยฟรีที่บ้านคุณยายกลิ่นโสม
#โหราศาสตร์ไทยเรียนด้วยตนเองฉบับคุณยายกลิ่นโสม ได้ที่ #htthttp://www.baankhunyai.com 
 ------------------------------------
  สนใจดูดวงติดต่อ: baankunyai  102100450
          

  • 1581753408.png
    ชื่อ “วัน-เดือน” ของไทยมาจากไหน การใช้วันที่ 1,2,3 เริ่มเมื่อใด? ในสมัยโบราณไทยกำหนดวันเดือนแบบจันทรคติ อาศัยการโคจรของดวงจันทร์เป็นหลักคือ นับจำนวนวันตามดวงจันทร์เริ่มตั้งแ...

  • 94076476.jpg
    ความเป็นมาของชื่อเดือนทั้ง 12 เดือน เคยสงสัยกันบ้างไหม ว่าในแต่ละเดือนมีความหมายอย่างไร ทำไมต้องมี 12 เดือน ว่ากันว่ามนุษย์รู้จักการทำและการดูปฎิทินมาตั้งแต่ก่อนที่จะรู้จักการ...

  • ดาว-4-768x549.jpg
    ปฏิทินแสดงลำดับวันอาทิตย์-วันเสาร์ วันอาทิตย์ถึงวันเสาร์ เรียงลำดับตามอะไร อะไรๆ ที่เป็นความเคยชิน เรามักไม่ตั้งข้อสงสัยและคิดสอบสวนหาเหตุผล อาจจะเห็นเป็นเรื่องหญ้าปากคอก ตามคติ...

  • Screenshot 2024-05-21 181443.png
    [อธิกวารก่อนเสียกรุง: รูปแบบที่(อาจ)อธิบายได้] มีประเด็นที่ผมเองก็ทำการค้นคว้ามาพอสมควร แล้วผมก็ยินดีจะนำเสนอ เกี่ยวกับปัญหาที่นักปฏิทินไทยยังถกกันไม่จบ ว่าด้วยเรื่องของการวาง...

  • 1592099853.png
    [ความรู้เรื่องปักขคณนา ตำราการคำนวณปฏิทินทางจันทรคติ: ว่าด้วย Review หนังสือ] วันนี้ วันกาบสัน พฤหัสบดีที่ ๒๗ เมษายนเดือน ๖ (วิสาขมาส) ขึ้น ๒ ค่ำพุทธศักราช ๒๕๖๐ปีระกา นพศก เมืองเร้...

  • ชื่อปีนักษัตรไทยมาจากไหนนะ ชื่อปีนักษัตรไทยมาจาก “ภาษาสหประชาชาติ” ทั้งไทย, มอญ,เขมร, จาม, จีน ฯลฯ บางส่วนของ 12 ปีนักษัตร (ซ้าย) ปีฉลู (ขวา)ปีมะเมีย (ภาพจาก ตำราพรหมชาติ ฉ...
Visitors: 185,854