กำเนิดดาวพระเคราะห์ทางโหราศาสตร์โบราณ

   กำเนิดดาวเคราะห์ทางโหราศาสตร์โบราณ

คัมภีร์เก่าแก่ดั้งเดิม เป็นสุดข่อยโบราณเช่น คัมภีร์เฉลิมไตรภพ และตำนานนพเคราะห์ และตำนานนพเคราะห์เป็นคัมภีร์โหราศาสตร์แขนงหนึ่ง ซึ่งเขียนถึงการสร้างโลก ด้วยเดชบารมีแห่งพระิศวรและได้ทรงสร้างราศีบนท้องฟ้า และสร้างนพเคราะห์ ทั้ง ๙ ดวง ให้เป็นเทพยดา เสวยวิมานประจำทิศทั้งแปดรอบเขาพระสุเมรุ  



ตามคัมภีร์เฉลิมไตรภพได้กล่าวไว้ว่า เมื่อโลกถูกไฟบรรลัยกัลป์เผาผลาญ เหลือแต่ความว่างเปล่า บรรดาพระเวท พระธรรมศาสตร์ ได้รวมตัวกันเข้า เกิดเป็นพระอิศวร พระอิศวรจึงสร้างโลกใหม่ให้บังเกิดมี มนุษย์ สัตว์ และพืช ขั้นแรกสร้างพระอุมาภควดี พระนารายณ์ และพระพรหมธาตุขึ้นก่อน แล้วสำรอกเนื้องอกออกจากท้องเกิดเป็นแผ่นดิน ถอดจุฑามณีออกจากผม แล้วบันดาลให้เป็นเขาสุเมรุราช และบันดาลให้เกิดธาตุทั้งปวงขึ้นในโลก บังเกิดฝนตกลงมาห่าใหญ่ เมื่อฝนหายแล้ว ลมหอบเอาไอดินหอมขึ้นไปถึงพรหมโลก บรรดาพรหมหอมกลิ่นไอดินก็เกิดอยากเสพง้วนดิน จึงแปลงเพศเป็นนางพรหมรวมเจ็ดองค์ลงมากินง้วนดิน เมื่อกินง้วนดินไปแล้วก็มีเทพบุตร และเทพธิาจุติลงมาเกิดในครรภ์ของนางพรหมทั้งเจ็ด ต่อมาได้คลอดบุตรเป็นชายหนึ่งคนเป็นหญิงหกคน เป็นต้นวงศ์ของมนุษย์ในโลก

   
พระอิศวรมีดำริว่า เมื่อโลกมีมนุษย์ และสัตว์เกิดขึ้นแล้ว สมควรจัดให้มีแสงสว่างส่องโลก จึงได้ตั้งจักรราศีไว้ ๑๒ ราศี ประกอบด้วยดาวฤกษ์ ๒๗ ฤกษ์ มีวิมานนพเคราะห์ ๙ วิมาน เวียนรอบจักรราศีตามกำหนดเวลา กำหนดให้มีสัตว์ ๑๒ นักษัตรขึ้นเป็นนามมี คือ
หนูเป็นนามปีชวด
วัวเป็นนามปีฉลู
เสือเป็นนามปีขาล
กระต่ายเป็นนามปีเถาะ
งูใหญ่เป็นนามปีมะโรง
งูเล็กเป็นนามปีมะเส็ง
ม้าเป็นนามปีมะเมีย
แพะเป็นนามปีมะแม
ลิงเป็นนามปีวอก
ไก่เป็นนามปีระกา
สุนัขเป็นนามปีจอ และ
หมูเป็นนามปีกุน


            จากนั้นได้สร้าง....
สร้างพระอาทิตย์ (๑) จากราชสีห์ ๖ ตัว 
สร้างพระจันทร์ (๒) จากนางฟ้า ๑๕ ตน
สร้างพระอังคาร (๓) จากกระบือ ๘ ตัว 
สร้างพระพุธ (๔) จากช้าง ๑๗ ตัว 
สร้างพระพฤหัสบดี (๕) จากฤาษี ๑๙ ตน 
สร้างพระศุกร์ (๖) จากโค ๒๑ ตัว 
สร้างพระเสาร์ (๗) จากเสือ ๑๐ ตัว ส
สร้างพระเกตุ (๙) จากพญานาค ๙ ตัว 

   
ส่วนพระเกตุ (๙) ให้ประจำอยู่ในทิศกลาง
พระศุกร์ (๖) รักษาทิศอุดร
พระราหู (๘) รักษาทิศพายัพ
พระพฤหัสบดี (๕) รักษาทิศประจิม
พระเสาร์ (๗) รักษาทิศหรดี
พระพุธ (๔) รักษาทิศทักษิณ
พระอังคาร (๓) รักษาทิศอาคเณย์
พระจันทร์ (๒) รักษาทิศบูรพา
พระอาทิตย์ (๑) รักษาทิศอีสาน

พระอิศวรจัดให้เทวดานพเคราะห์ทั้งเก้าโคจรรอบจักรราศี โดยมีเขาพระสุเมรุราชเป็นหลักของโลก เทวดาพระเคราะห์ทั้งเก้า ก็โคจรรอบเขาสุเมรุราช พระอิศวรปรารภว่า เขาพระสุเมรุราชประกอบด้วย เหลี่ยมใหญ่ประจำทิศทั้งแปด ยังไม่มีผู้ใดรักษา จึงได้มอบให้



การเข้าครองทิศของเทวดาอัฐเคราะห์ให้ตั้งต้นที่ทิศทักษิณก่อน แล้วนับตั้งแต่ทิศทักษิณเป็นต้นไปเท่ากับกำลังของตน โดยทางทักษิณาวัตร คือเวียนขวา จากทักษิณไปหรดี เช่นพระอาทิตย์มีกำลัง ๖ ก็นับเริ่มต้นที่ทิศทักษิณเวียนขวาไปตามลำดับ ถึงลำดับ ๖ ตกทิศอิสาน ดังนั้นพระอาทิตย์ (๑) จึงประจำอยู่ที่ทิศอิสาน ดาวพระเคราะห์อื่น ๆ ก็ทำนองเดียวกันจนครบแปดดวง ทำให้เกิดภูมิพยากรณ์ และตำรามหาทักษา สำหรับใช้พิจารณาชะตาชีวิตในวิชาโหราศาสตร์

ซึ่งทั้งตำนานแลำกำเนิดดาว จะเล่าถึง พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคาร พระพุธ พระพฤหัสบดี พระศุกร์ พระเสาร์ พระราหู และพระเกตุ ซึ่งการกำเนิดดาวนพเคราะห์ ซึ่งจะทำให้ทราบลัก๋ษณะรูปร่าง ผิวพรรณ บุคลิกภาพ ท่าทาง นิสัยใจคอของดาว นั้นๆ  ที่เราสามารถนำมาใช้ในการออกคำพยากรณ์ต่อไป 



#เรียนโหราศาสตร์ไทยด้วยตนเอง #By_คุณยายกลิ่นโสม
ได้ที่ :: www.baankhunyai.com

------------------



Visitors: 171,585