ดวงดาวในระบบโหราศาสตร์

ดวงดาวในระบบโหราศาสตร์ 
ระบบการโคจรของดวงดาวในทางดาราศาสตร์  กับระบการโคจรของดวงดาวในทางโหราศาสตร์ มีวืถีต่างกัน ทั้งๆที่มีข้อมูลเดียวกัน


         
         Helio - cetric ระบบดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง  ภาพ ttps://th.wikipedia.org/wiki/

ระบบดาราศาสตร์ ดาวทุกดวงมีวิถีโคจร วนไปรอบดวงอาทิตย์ โดยดวงอาทิตย์นิ่งอยู่ตรงกลางเป็นจุดศูนย์กลาง และมีแนว Ecliptic เป็นแถบราศีรอบนอกของดวงดาว ระบบการโคจรนี้เรียกว่า Helio - cetric หมายถึงดวงอาทิตย์เป็นจุดศูนย์กลาง 


         
          ภาพแบบจำลองโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล   ภาพ ttps://th.wikipedia.org/wiki/


ระบบโหราศาสตร์ ถือเอาโลกเป็นศูนย์กลาง และดวงดาววนรอบโลกและถือว่าดวงอาทิตย์เป็นวงกลมรอบโลกด้วยทั้งมิใช่ ทั้งนี้มิใช่เป็นการสมมุติขึ้น หากแต่ถือเอาความจริงที่มองออกไปจากโลกไปสู่ดวงดาวที่หมุนเวียนอยู่ และเมื่อมองจากโลกและถือเป็นจุดนิ่ง ก็จะเห็นดวงอาทิตย์ เคลื่อนออกไปตามสภาพที่มองเห็น ระบบนี้เรียกว่า " Geo - centric หมายถึง โลกเป็นศูนย์กลาง เป็นแบบอย่างของโหราศาสตร์ทุกระบบในโลก รวมทั้งโหราศาสตร์ไทย


         

แนวแถบ Ecliptic บนท้องฟ้าก็ยังคงอยู่อย่างเดิม แต่ได้จำลองภาพมาเป็นรูปแบบบนพื้นราบเป็นดวงชะตา แบ่งเป็น ๑๒ ช่อง ในวงกลม  เรียกจักราศี และตั้งชื่อตามจักราศีตามราศีของ Ecliptic บนท้องฟ้าเช่นเดียวกัน และเมื่อมองเห็นดวงดาวใดมาสถิตในแถบราศี Ecliptic ใด บนท้องฟ้า ก็ลงตำแหน่งของดวงดาวนั้น ในราศีวงกลมของจักราศีในดวงชะตาเช่นกัน 


         
            ดาวเคราะห์ชั้นใน 

ระยะการโคจรครบรอบราศีโหราศาสตร์ กับระยะเวลาครบรอบดวงอาทิตย์อาจมีระยะเวลา แตกต่างกันอยู่บ้างเฉพาะดาวบางดวงที่อยู่ระหว่างโลกกับดวงอาทิตย์ที่เรียกว่า ดาวเคราะห์วงใน ทั้งนี้เพราะตามสภาพที่เห็นมุมดาวระหว่างพุธ ศุกร์ และ อาทิตย์ จะสัมพันธ์ใก้ลชิด และเสมือนโคจรร่วมไปด้วยกันอย่างใก้ลชิด บางครั้งจะเห็นว่าดาวพุธเดินนำหน้าดวงอาทิตย์ พอมาถึงมุมจำกัดมุมหนึ่ง จะเห็นดาวทั้งสองเดินถอยย้อนกลับไปสู่หลังของดวงอาทิตย์ ภาษาโหร เรียก "พักร์" (Retrorade) ตามความเป็นจริงดาวไม่เคยเดินถอยหลังเลย คงเดินหน้าปกติ แต่ตามสภาพที่มองเห็นจากโลกนั้น  เพราะวงรอบโคจรของดาวพุธ และศุกร์ แคบกว่าโลก อัตราโคจรเร็วกว่าอัตราโคจรของโลก และอยู่ระหว่างโลกและดวงอาทิตย์จึงทำให้มุมสัมพันธ์ขงภาพที่เห็น เมื่อดาวเดินครบรอบดวงอาทิตย์ และมาขึ้นรอบใหม่ มีสภาพเหือนเดินถอยหลัง จะสังเกตุได้ว่าดาวพุธ ซึ่งเป็นดาวใก้ลดวงอาทิตย์มากที่สุด เดินๆ พักร์ๆ อยู่ตลอดเวลา  และเนื่องจากปฎิทินโหรทุกรอบระยะพักร์(ถอยหลัง) จะประมาณ ๙๐ วัน อันเป็นรอบของดาวพุธเดินรอบดวงอาทิตย์พอดี 

ในระบบโหราศาสตร์ ดวงอาทิตย์ไปตามจักราศี ในดวงชะตาครบรอบ ๑ ปี ซึ่งที่จริงก็คือ อัตราการเคลื่อนของโลกนั่นเอง ดาวพุธและดาวศุกร์ ซึ่งโคจรอยู่ใก้ลเคียงไปกับดวงอาทิตย์ก็จะรอบจักรราศีส่วนดวงดาวอื่นที่อยู่วงนอกรอบโลก ดวงชะตาประมาณ ๑ ปี เช่นกัน 

ส่วนดวงดาวอื่นที่อยู่วงนอกโลก ฉะนั้นอัตราการโคจรดวงอาทิตย์ หรือรอบโลก(จักรราศีดวงชะตา) จึงไม่แตกต่างมากนัก 

                 

มีจุดเงา ๒ จุดบนท้องฟ้า ที่โหราศาสตร์ ถือเหมือนเป็นดวงดาว และใช้ในการพยากรณ์ คือราหู และเกตุ 

ราหูแขกก็เรียก RAHU เช่นกัน โหราศาสตร์ฝรั่งเรียก DRAGON HEAD (หัวมังกร) ทางดาราศาสตร์ ถือเป็นจุดสะกัดของแนวโคจรของดาวเคราะห์ ที่ตัดกับดวงจันทร์ผ่านแนว Ecliptic  จะเกิดจุดตัดนี้สองจุดบนฟากฟ้าเป็นจุดเหนือและจุดใต้ จุดเหนือเรียก Ascending Node คือราหู จุดสะกัดได้เรียก Descending Node คือ เกตุ ทั้งสองจุดนี้เล็งกันอยู่ตลอดเวลา 

        

ในโหราศาสตร์ ใช้เกตุในการพยากรณ์ แต่เกตุของไทยนี้ มิใช่เป็นเกตุอันเป็นจุด Node ของดาราศาสตร์ เกตุไทยเป็นจุดคำนวณที่โหรค้นพบว่า เป็นจุดที่มีอิทธิพลต่อดวงชะตามาก จึงจับสถิติดวงชะตา และคำนวณขึ้นไว้เป็นสมบัติโหราศาสตร์ไทยโดยเฉพาะ เกตุไทยมีวิถีโคจรเร็วกว่าเกตุทางดาราศาสตร์ประมาณ ๑๐ เท่า และเกตุไทยกำเนิดในยุคใดไม่ปรากฎ มีผู้สันนิษฐานว่า เกิดในสมัยกรุงเทพฯ แต่หลักฐานทางดาวเคราะห์ ในคำภีร์ไตรภูมิพระร่วง อันเป็นยุคสุโขทัยเรียกดาวพระเคราะห์ว่า "นพเคราะห์"คือมีเก้าดวง ชวนให้ดาวเกตุจะถือกำเนิดขึ้นแล้วในครั้งนั้น 

เรื่องของดวงดาวในทางโหราศาสตร์นี้ มีข้อแตกต่างระหว่างระบบโหราศาสตร์ทางต่างประเทศฝ่ายตะวันตก กับโหราศาสตร์ไทยตะวันออก และภารตะ อยู่ตรงนี้ที่ตำแหน่งดาวผิดกันบางครั้งถึงขนาดผิดราศีก็มี ทำให้เกิดข้อขัดแย้ง และมีการตาหนิติฉิน ลบหลู่ระหว่างกันขนาดเกิดสงครามปากกา เขียนโต้แย้งกันในหนังสือพยากรณ์สาร ของสมาคมโหร ประมาณ ๑๐ กว่าปีมาแล้ว ระหว่างนักโหราศาสตร์ที่นับถือระบบดาวแแบบฝรั่ง กับนักโหราศาสตร์ไทยที่ใช้ตำแหน่งดาวตามระบบไทยโบราณ ที่คำนวณหาตำแหน่งจากคำภีร์สุริยาตร์ นักโหราศาสตร์ไทยมักเสียเปรียบเสมอ เพราะมีความรู้ทางดาราศาสตร์น้อยกว่านักโหราศาสตร์ที่นับถือระบบดาวแบบฝรั่ง นักโหราศาสตร์ฝรั่งต่างประเทศ ก็มักแสดงอาการดููหมิ่นถิ่นแคลนไทยว่าโง่เขลา และคร่ำครึล้าสมัย ที่ใช้ดาวแบบโบราณโดยไม่ลืมตาดูโลก และข้อเท็จจริงบนท้องฟ้า 

เหตุข้อนี้ สร้างความอับอายแก่นักโหราศาสตร์อยู่เป็นอันมาก โดยเฉพาะผู้ที่เรียนโหราศาสตร์ครึ่งๆ กลางๆ เกิดความลังเลไม่แน่ใจ ส่วนผู้ที่เคยเรียนรู้โหราศาสตร์ก็มักเชื่อเหตุผลของนักโหราศาสตร์คต่างประเทศ เพราะเหตุผลที่เขาอ้างอิงเป็นหลักเกณฑ์ของทางดาราศาสตร์ บนท้องฟ้าที่มีหลักฐาน ทำให้หมดความเชื่อถือศรัทธาในโหราศาสตร์ไทยเอาทีเดียว

แต่สำหรับนักโหราศาสตร์ไทย ที่เป็นนักพยากรณืแล้วมามากพอแล้วไม่เกิดผลร้ายในทางด้าน จิตใจแม้นแต่น้อย จะเพราะด้วยยเหตุใดก็ตาม ผลทางพยากรณ์ที่ตนปฎิบัติอยู่ยังมีความแม่นยำเป็นที่พอใจอยู่ตลอดเวลา บางท่านเอนเอียงไปใช้ดาวในระบบฝรั่งเข้า เกิดผลพยากรณ์จนต่้องเลิกใช้มามากราย 

เรามาพิจารณาสาเหตุที่เกิดความแตกต่างกัน ในระบบตำแหน่งดวงดาว 
นักดาราศาสตร์ตรวจพบว่า ขณะที่โลกหมุนรอบตัวเอง และเคลื่อนที่ไปรอบดวงอาทิตย์นั้น แกนของโลกก็ได้เคลื่อนที่หมุนส่ายไปด้วยช้าๆ โดยส่ายกวาดเป็นรูปกรวยไปในท้องฟ้า เขาคำนวณว่า ส่ายจากจุดหนึางมาครบรอบวงกลม ณ.ที่เดิม ต้องใช้เวลาถึง ๒๖,๐๐๐ ปี อัตราส่ายนี้ใก้ลเคียงกันแต่ละปี ประมาณ ๕๐ ฟิลิปดาต่อปี  แต่เดิมจุดชี้แกนของโลกจะตั้งต้นอยู่ ณ.ที่ใด ไม่มีใครพิสูจน์ได้ แต่ขณะนี้ถือเอาจุดต่างระหว่างศูนย์สูตรของโลก Equator มีระดับแตกต่างกันกับเส้นศูนย์สูตรฟ้า  หรือเส้นขอบฟ้า Celestial Equator อยู่ ๒๓ องศา ๓๔ ลิปดา (ในปี ๒๕๒๒ ) เป็นอัตรส่าย Precession ของแกนโลกหรือขั้วฟ้าเคลื่อที่ไป โดยถือว่าแกนโลกตั้งฉากตรง ๙๐ องศา กับเส้นขอบฟ้าหรือ Equator ฟ้าซึ่งก็คือแนวเส้น Ecliptic ที่โลกโคจรนั่นเอง  เส้นแนวศูนย์สูตรโลก Equator ก็จะได้ระดับเดียวกับเส้นขอบฟ้า หรือเส้นสูตรฟ้าเป็นจุด ๐ องศา ที่นับความคลาดเคลื่อนมาถึงปัจจุบัน ซึ่งถ้านับถอยหลังไป ก็จะเป็นเวลาประมาณ ๑๗๐๐ ปีมาแล้ว 

นักโหราศาสตร์ฝรั่งตะวันตก ยึดถือข้อมูลทางดาราศาสตร์เป็นกฎเกณฑ์จริงจัง จึงเกิดความรู้สึกว่า เมื่อแกนโลกโดยเฉพาะแกนเหนือเคลื่อนที่ไปทุกปีเช่นนี้ ราศีในทางโหราสาสตร์ก็จะจะต้องเคลื่อนที่ไปทุกปี เพราะราศีทางโหราศาสตร์นั้น มาจากราศีทางโหราศาสตร์ นั้น มาจากราศีแห่งท้องฟ้า และได้ตั้งสมมุติฐานเอาว่า แต่เดิมโลกเหนือชั้นตรงตั้งฉากเป็นจุดตั้งต้นขอบเขตแห่งราศีเมษ ซึ่งเป็นขณะที่ตะวันตกรับวิชาโหราศาสตร์ไปจากตะวันออก ซึ่งขณะนั้นตำแหน่งดาวและราศีถูกต้องตรงกัน เมื่อจุกแกนโลกเคลื่อนไป เขาตั้งต้นราศีเมษก็เคลื่อนตามแนวแกนโลกไปด้วยทุกปี  โหราศาสตร์ระบบนี้เรียกระบบราศีเคลื่อนที่ Move Signs เมื่อราศีเคลื่อนที่ไปตำแหน่งดาวแห่งราศีก็ผิดแผกแตกต่างไปจากโหราศาสตร์ระบบเดิม ที่ทางตะวันออกใช้เดิม 

โหราศาสตร์ไทย และระบบโหราศาสตร์ตะวันออกทั่วไป ยังคงถือระบบแผนโบราณไม่เปลี่ยนแปลงเขตราศี คงถือราศีคงที่เช่นเดิม เรียกว่า ระบบ Fix Signs จะว่าโหรตะวันออกไม่รู้เรื่องนี้ก็ยากอยู่ เพราะศัพท์โหร มีคำว่า "อยนางศะ" ซึ่งมีความหมายถึงการเคลื่อนที่ไปของราศีเช่นเดียวกัน 


             
                                                    ภาพวาดสุริยุปราคา สมัยรัชกาลที่๔ 

มีบางท่านให้ข้อคิดว่า ถ้าระบบโหราศาสตร์ใช้ดาราศาสตร์โบราณแบบไทยๆ ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากดวงดาวบนท้องฟ้าเช่นนั้นจริง ไฉนการคำนวนสุริยคราสและจันทรคราส ในประเทศ เมื่อสมัย ๑๐๐ ปีที่แล้วมา ซึ่งโหรคำนวนถวายพระมหากษัตริย์ เป็นการคำนวนทางตัวเลข ไม่มีกล้องดูดาวแต่ประการใด ก็ยังต้องถูกต้องทั้งวันเวาถูกต้องทั้งชั่วโมง นาทีที่เกิดคราส ตัวเมื่อสมัยรัชกาลที่๔ ในประมาณปีจุลศักราช ๑๒๒๐ เศษๆ ๑๐๐ กว่าปีมาแล้ว โหรคำนวนวันสุริยคราสไว้ล่วงหน้าถึง ๒ ปี และนักดาราศาสตร์ต่างประเทศ และ เข้ามาตั้งกล้องส่องที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบ ปรากฎว่าเวลาที่สุริยคราสตรงกับที่คำนวนไว้ทุกประการ คำภีร์ดาวของไทยควรจะผิดหรือ 

สำหรับตัวผมนั้น ได้ถูกซักถามปัญหาเรื่องนี้เป็นอันมาก ทั้งนักโหราศาสตร์ และนักโหราศาสตร์ต่างประเทศ แม้กระทั่ง Mrs. Melissa F. Wella  นักโหราศาสตร์อเมริกันซึ่งเป็นนักเขียนเรื่องของโหราศาสตร์ลงในนิตยสาร American Astrology อันแพร่หลายทั่วโลก ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐ เดินทางมาประชุม ASPAC ในกรุงเทพฯ เมื่อ พศ.๒๕๒๐ ก็ได้ถกกันถึงปัญหาดาวผิดราศีของโหราศาสตร์ตะวันออก และตะวันตก ถึงขนาดลองพยากรณ์ดูทีเดียว

ผมจำเป็นต้องออกความเห็นในทางดาราศาสตร์ เพราะการอ้างเหตุผลอื่นๆนั้น เธอคงไม่เข้าใจถ่องแท้นัก ผมอ้างตามความเห็นส่วนตัวว่า 

ทางดาราศาสตร์ที่ใช้โหราศาสตร์ไทยนั้น โบราณท่านมิได้ตั้งต้นราศีจากแกนของโลก เช่นฝ่ายตะวันตก ท่านคำนวนจากขอบฟ้า หรือ เมอริเดียนฟ้า สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์เป็นหลักในการวางราศีทางโหราศาสตร์ และเป็นจุดกำหนดตายตัวไม่เปลี่ยนแปลง และมิได้ถือเอาพื้นโลก ้ป็นจุดใดจุดหนึ่ง โดยเฉพาะที่วัเออกไปหาจุดนี้ โดยถือว่าราศีโหราศาสตร์นี้ เป็นราศีบนท้องฟ้าอย่างแท้จริง และถือเอาโลกทั้งโลกเป็นมุมสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ ไปหาขอบฟ้า ฉะนั้นถึงแม้โลกจะเปลี่ยนแปลงทิศทางของแกนโลกไป โลกก็คือโลก ที่ัยังมีตำแหน่งโคจรอยู่ทิศทางเดิมตำแหน่งเดิม โลกยังมีมุมสัมพันธ์กับดวงอาทิตย์และดวงดาวอื่นๆ ในมุมเดิม และเมื่อจุดยืนเพื่อกำหนดบนท้องฟ้า มิใช่บนพื้นโลกโดยจุดหนึ่งเฉพาะเมื่อแนโลกเปลี่ยนทิศทาง จึงไม่เป็นเหตุให้ราศีเปลี่ยนแปลง

ที่เขียนเรื่อง Precession ของแกนโลก มายืดยาวเหมือนจะอวดรู้เรื่องดาราศาสตร์ ก็หามิได้ เป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ท่านที่จะต้องเรียนรู้โหรษสาสตร์ไทยย่อๆไป ด้วยความสบายใจเพราะวันใดวันหนึ่งข้างหน้า ถ้าถูกบอกเล่าและโต้แย้ง ท่านจะได้รู้ข้อเท็จจริงในเหตุนี้ 

ที่มาข้อมูล : เวปฯ : https://th.wikipedia.org/wiki/
 
หมายเหตุ :::
Ascending node เป็นจุดที่ดวงจันทร์กำลังจะเคลื่อนที่ผ่านระนาบ Ecliptic จากขั้วใต้ของโลกขึ้นสู่ขั้วเหนือของโลก  

descending node ซึ่งเป็นจุดที่ดวงจันทร์เคลื่อนที่จัดระนาบ Ecliptic จากขั้วเหนือของโลกลงสู่ขั้วใต้

คำภีร์ไตรภูมิพระร่วง : ปรากฏอยู่ในกัณฑ์ที่ 9 ...อวินิพโภครูป หลักการคำนวณพิกัดดวงดาวในระบบสุริยจักรวาลที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์สุริยยาตร์

precession คือ การหมุนควง:การหมุนของวัตถุรอบแกนหมุนของตัวเอง โดยปลายหนึ่งของแกนหมุนเป็นจุดตรึงและอีกปลายหนึ่งหมุนรอบแกนตรึงอีกแกนหนึ่ง
#คุณยายกลิ่นโสม
#ยายกลิ่นเล่าเรื่องจากเรือนดาว
#โหราศาสตร์ไทยเรียนง่ายกว่าที่คิด
#เรียนโหราศาสตร์ไทยสไตล์คุณยายกลิ่นฯ
#อ่านดวงไทยสบายสบาย ตามสไตล์คุณยายกลิ่นโสม
#โหราศาสตร์ไทยเรียนด้วยตนเองฉบับคุณยายกลิ่นโสม   
#เรียนโหราศาสตร์ไทยฟรี ที่เวปนี้นะ:: htthttp://www.baankhunyai.com
  --------------------  
 
Visitors: 171,293