ความแตกต่างของระบบโหร

      ความแตกต่างของระบบโหร  โดย ... บ.ร.  วรรณวิจิตร์ 
  
ความแตกต่างของระบบโหร  โดย ... บ.ร.  วรรณวิจิตร์ 

ว่าในแบบไทยกันแล้ว ไทยเราเล่นแสงอาทิตย์ได้โดยยังไม่ต้องตั้งราศี แต่ก็เชื่อว่าในบทของวิชาโหราศสตร์ไทย มีลักษณะเป็นวิชาสำเร็จรูป คือได้ตัดราศีสำเร็จเรียบร้อยแล้ว รวมทั้งนวางค์ตรียางค์ด้วย ท่านผู้อ่านเชือไหมว่าระบบแสงอาทิตย์คล่องปากคล่องใจก็คือ "ยามอัฎฐกาล" โหรสมัยใหม่ดูถูก ยามอัฎฐกาลเพราเห็นหัวข้อยามต่างๆ มักเอาไปเปรียบกับชะตาหรือจักรๆ วงศ์ๆ คำอธิบายหรือคำแนะนำต่างๆ ของผู้เขียนมันอาจจะไม่อยู่ในวิชาโหราศาสตร์ใดๆมาก่อน หากจะเกิดผิดก็พอใจจะ"เชย"เพียงคนเดียว เรามียามอัฎฐกาลใช้ อาจจะพูดว่าก่อนนาฬิกาด้วยซ้ำ(ข้อนี้ไม่ถึงกับต้องยืนยัน)

ไทยใช้ระบบพยากรณ์เกี่ยวกับสุริยคติโดยหลับตาได้ เพราะความคล่องปากคล่องใจ เมื่อระบบนี้มันเกี่ยวพันกับนิยายชาดก เราจำเรื่องราวของนิทานชาดกและจักรๆ วงศ์ๆ ได้ เราก็ได้แกนเรื่อง คำเรียบเรียงบางครั้งอาจจะกระโดดขั้นตอน บางครั้งก็ติดต่อกันไม่ขัดเขิน ทำให้ผู้ใช้ที่ติดเรื่องบางเรื่อง บางคนรำคาญจนไม่อยากใช้  ถ้าหากผู้ใช้จะจำเรื่องเพียงอย่างเดียว แต่ค้นไม่พบไม่สนใจว่าจะติดต่อหรือไม่ คงเป็นการดีสำหรับผู้ใช้ จะไม่ต้องขุ้นข้องอะไรๆ เพราะโบราณจารย์ท่านสรวมสอดแทรกนิยายเหล่านั้นเป็นวิชาสำเร็จรูป  แต่มีบทนิยายเป็นข้อมูลมมมุติฐานหาแกนกลางความเข้าใจ เพื่อตั้งต้นจับจุดเรื่องราวของเจ้าชาตา ผู้เขียนเชื่อว่าโบราณาจารย์ท่านคงไม่สร้างยามอัฎฐกาลขึ้นแบบ "เซียมซี" เข้าเลขดีได้ เลขร้ายเสีย หรือแม้แต่เซียมซีเอง  เมื่อเขาสร้างมาให้ท่านมาเสี่ยงแล้ว ยังกลับไปหาหลักวิชาภายใต้การบังคับของอำนาจาวนพเคราะห์ที่เป็นตัวคอนโทรลให้เป็นเหตุผลเรื่องราวร้ายที่จะเกิดขึ้น(ไม่เชื่อลองก็ได้ โชคชะตาดีร้ายตามอำนาจ คำถามจะตกในช่วงของมันไม่ได้หมายถึงการต่อต้าน จะถามกันเลื่อนลอยแบบรู้แล้ว กล่าวคือ ท่านต้องไปถามเซียมซีแล้ว ไปอ่านฝอยยามอัฎฐกาลทีหลัง)

โดยเฉพาะเข้าชั้นฉาย ซึ่งมีช่วงละ ๓๐ นาทีด้วยแล้ว ถึงต้องเกี่ยวกันเองโดยบังคับ แต่จะขอพูดเฉพาะยามอัฎฐกาลก่อน ตัวยามทุกตัวมันมีลีลาเฉพาะของมันแน่นอน แต่เพราะเป็นวิชาวิชาสำเร็จรูปนี่แหล่ะ เหมือนนักกินอาหาร  สำเร็จรูปประจำ พออยากทราบว่าแกงนี่เขาใส่อะไรบ้าง โดยไม่เสาะถามพยายามดมกลิ่นมันให้รู้ว่าหอมอะไรๆ มากไปน้อยไป บางคราวไปเจอกลิ่นอาหาร บางอย่าง มันคล้ายกันเข้าก็แยกไม่ออก ก็โมเมเข้าใจว่าระหว่างซีอิ๊วขาวกับเต้าเจี๊ยวนั้นต่างกัน หรืออบเชยกับโป๊ยกั๊กเหมือนกัน เป็นต้น 

พูดไปจะหาว่าโฆษณายามอัฎฐกาลชั้นฉายที่ตนเองเขียนกระมัง ที่อธิบายมาแบบแม่ค้าข้าวแกงสำเร็จรูป ก็เพราะผู้เขียนซื้อน้ำพริกสำเร็จรูปมาแกงเห็นจะไม่มีอะไรเป็นรายละเอียดว่าแกงอะไรนักหนักอะไร  คุยกันพอว่าได้ยกมือปกป้องโหรไทย ว่ามีความวิเศษละเอียดพิสดารมาก เพราะความพิเศษละเอียดพสดารนี่เองมันไม่อยู่ในรูปของสูตรที่เป็นบทเรียนจริงจัง ความหวงแหนวิชาก็ดี

การมีนักติมากกว่านักค้นคว้าตัวจริงก็ดี ทำให้รากฐานโหราศาสตร์ไทยแคลนคลอน ไม่ตั้งอยู่บนความเชื่อถือเหมือนโหรเทศ เราเห็นตำราโหรเทศมันเข้าใจได้สั้นง่ายเพราะมีทฤษฎีเป็นขั้นตอน เชื่อหรือว่าจะเหนือกว่าเรื่องจะใช้มันพยากรณ์ เรื่องมากหมอมากความมากหัวข้อแบบอย่างไม่มีใครจุกจิกวุ่วายแบบโหรไทยแท้ๆ แต่เผอิญทุกวันนี้พวกโหรเองต่างหากอุตริประยุกต์เอาอะไรต่ออะไรมารวมกัน  ครั้งมันเกิดขึ้นในระหว่างตั้งข้อสังเกตุเลยแยกมันไม่ออกว่า "ธุระอะไรคนลัคนาราศีมีน ที่มีอังคารกุมลัคนาอยู่พอพฤหัสจรทับลัคนา" ไม่ตายก็เลี่ยงยากหรือคางเหลือง  นักโหราศาสตร์รุ่นเก๋าบอกว่าดีเกินธรรมดา โดยให้เหตุผลสั้นจุ๊ดจู๋ ว่า อังคารกุมลัคนาในราศีมีน (ยิ่งโดยเฉพาะวันอังคาร) พฤหัสจรเป็นศรีจร ลัคนาอยู่เรือนศรีอยู่แล้ว "ดีเกินธรรมดา" เลยต้องตาย แสดงว่า มนุษย์นี่ดีไม่ได้ 

ในบทบาทโหราศาสตร์ไทยที่มีอยู่หลายตำหรับ จนนักพยากณ์จับโน่นยัดนี่ จนลืมไปว่าได้ประยุกต์อะไรเข้าไปบ้าง ยางคราวประยุกต์กันจนลืมว่าเป็นของมันดั้งเดิม เหมือนหญิงเมืองจีนใส่ตุ้มหูจนหูขาดไปเมื่อมีอายุ ถึงจะเอาออกดูเป็นประเพณีคึ่งๆ ด้วยนักพยากรณ์จับทักษาไปยัดในดวงจักราราศี ซึ่งจะเริ่มประยุกต์กันมาสมัยกี่ปีแล้ว  ผู้เขียนก็ขาดหลักฐานจะยืนยัน มีแต่หลักการเท่านั้น ที่จะบอกว่า "คนละตำรา" 

แขนงต่างๆในวิชาโหราศาสตร์ ผู้ใช้ควรกำหนดเวลาใช้แต่ละคราวไปต้องรู้ว่าเมื่อใดจะใช้จักรทีปนี เกณฑ์ต่างๆใช้เมื่อใดใช้ทำไมเมื่อใดจะหาเกณฑ์เทวดาเสวยอายุหาทำไม จัดคู่ให้ถูกให้ถูกๆ ไม่ผิดฝาผิดตัวแล้ว เราก็จะเป็น "มวยวัด" ที่พร้อมศอกพร้อมเข่า แข้ง ฯลฯ  คนจะเที่ยวหอบฟางประยุกต์จะต้องชำนาญพอ การประยุกต์ที่ชำนาญจะคิดตอบปัญหาได้ผลเร็ว แต่เมื่อเราจะแยกมันเป็นทฤษฎีแล้ว อย่าไปอธิบายอะไรต่ออะไรมารวมกันเป็นอันขาด คนฟังจะยุ่งสมองและเสื่อมศรัทธาโหราศาสตร์ไทย เช่น จะต้องรู้ว่าแม่บทของโหราศาสตร์นั้น ถ้าดูดวงจักราศีก็ต้องค้นจักรทีปนีจรให้คล่องๆ เพราะเป็นของคุ่กันแบบสำเร็จรูป  ท่านเอานิยายชาดกมาสรวมสอดไว้เกือบทุกคำฉันท์ไปเพื่อสร้างฐานความจดจำ อธิบายโดยง่ายว่า  ยามอัฎฐกาลเหมือนหรือคล้ายฤกษ์ล่าง จักรทีปนีจรนั้นคล้ายๆ ฤกษ์บน เพียงแต่อัฎฐกาล คล่องตัวใช้ได้ทุกนาที ส่วนจักรทีปนีใช้เป็นคราวๆไป ท่านจะสงสัยไหมฤกษ์นั้น แปลว่า  คราว - กำหนด - แต่ยามนั้นไม่มีใครบังคับ  นอกจากกำหนดวิธีใช้เรื่องจะต้องเป็นมาและเป็นไป

ทักษาคู่กับมหาทักษา  ทักษาความเป็นไปบนภูมิมนุษย์มหาทักษา เหมือนฤกษ์บน ที่มีความเป็นมาจะต้องสอดคล้องเสียก่อน ผลร้ายผลดีจึงจะเกิดตามฝอยทำนายที่เขาเขียนไว้ให้อ่าน 

จักรราศีคุ่กับจักรทีปนี และยามอัฎฐกาลใช้ได้ทุกเวลาทุกแบบพยากรณ์ไม่ว่าจะเป็น ๗ ตัว  ๘ ตัว จักรราศี หรือ ดูเล่นเปล่าๆ โดยไม่ต้องลงเลขลงยันต์อะไร

นักศึกษาโหราศาสตร์ไทยควรค้นคว้าข้อมูลเบื้องต้นเป็นแบบๆอย่างๆ อย่าใจร้อนรีบพยากรณ์ นอกจากจะคิดพยากรณ์ค้นคว้าเป็นตัวอย่างเท่านั้น อย่าเพิ่งไปเที่ยวรู้ว่า  องค์เกณฑ์วิเศษต่างๆ ข้อปลีกย่อยมันมาก ความหมายของเกษตรได้ให้คุณทั้งจรทั้งเดิมหรือเปล่า  ราศีให้ความเป็นอยู่สิ่งแวดล้อมอะไรแก่เจ้าชะตา และดวงดาวที่พัวพันกำลังปรับสภาพร้ายดีแค่ไหน ความหมายของอุจน์ นิจจ์ จะทรงคุณจริงหรือเปล่า  ให้ประโยชน์แก่เราหรือฝ่ายตรงข้าม  ลัคนาเป็นจุดหมายกำหนดภพเจ้าชะตา(ไม่ใช่คนในจักรราศี) ภพเจ้าชะตา เองจำแนกออกไปเป็นสรีรวิทยา  ตรงนั้นหัว ตรงนี้ขา ฯลฯ และเป็นอารมณ์รวม ความคิดการกระทำรวม ว่าเราตั้งใจทำให้มันเกิดเหตุหรือเหตุเกิดขึ้นโดยบังเอิญ  เป็นจุดกำหนดทรัพย์สมบัติว่า จะตกเป็นของเราครอบครอง หรือมันเสื่อมสูญ โดยใครฉ้อฉลไป การจะพูดว่าเป็นเชิงมุม เป็นภพโก้ๆ ก็อย่าไปนึกว่าที่พูดนี้ คือสำนวนแบบอย่างของโหรฝรั่ง แขก ฯลฯ  เพราะเรากำลังหาความเข้าใจ อะไรที่ไม่เข้าใจ  ถ้าตั้งต้นมันไว้ให้เข้าเสียจุดหนึ่ง  ความเข้าใจ อะไรไม่เข้าใจ ถ้าตั้งต้นมันไว้ให้เข้าที่เสียจุดหนึ่ง  ความเข้าใจกฌตามมาเอง โหรไทยมีมุม ๑  ๔  ๗  ๑๐  ความหมายต่างๆ เท่ากับโหรอื่น  แต่ก็แล้วแต่ภาษาที่เรียก  โดยสาเหตุเ็นลัคนาเคลื่อนที่ติดตามความหมุนของโลกให้ได้ ระดับกับแสงอาทิตย์ เกณฑ์และเชิงมุมไทยถึงผาดโผนเป็นอาหารสำเร็จรูปเหมือนเห็นเท้าไก่ยำยังสู้ตั้งชื่อว่า "เล็บมือนาง"  และภาษาอังกฤษเป็นใจกลาง ภาษาสำหรับ แปลภาษาอื่นในปัจจุบันก็ต่างกันกับจักรวิภาคราส๊ บังคับให้ราศีเมษเป็นหัว จนถึงราศีมีนเป็นขา จะต้องหาน้ำหนักอีกว่า จากลัคนาเป็นหัว ภพสิบสองเป็นเท้า ส่วนไหนเราควรทายว่าเขาเจ็บได้มากกว่า หาไปเทียบกับจักรราศี 


ที่มา : คดจากบทความของอาจารย์บุญเรือน วรรณวิจิตร์ จากพยากรณ์สาร ฉบับที่ ๕ ประจำเดือน สิงหาคม ๒๕๑๘




#คุณยายกลิ่นโสม
#อ่านดวงไทยสไตล์คุณยายกลิ่นฯ
#เรียนโหราศาสตร์ไทยด้วยตนเอง ที่เวปฯ #บ้านคุณยายกลิ่นโสม
#เรียนดวงไทยฟรี ที่เวปฯ #www.baankhunyai.com

  
Visitors: 171,552