ตำนานซาติเวร เรื่องที่ 1.

       

     ตำนานซาติเวร  เรื่อง การสร้างสระน้ำอมฤต
ในปฐมกัลป พระอาทิตย์ได้เกิดเป็นพระยาครุฑ และพระพฤหัสบดีเป็นพระอินทร์ พระเสาร์เกิดเป็นพญานาค  และพระอังคารเกิดเป็นพญาราชสีห์  ดำริ์พร้อมใจกันจะสร้างสระน้ำไว้ให้เป็นที่อาศัยของมนุษย์ และเทวดา จึงพากันไปปรึกษาราหู  ขอให้ช่วยสร้างสระน้ำด้วย  ราหูตอบว่าอันตัวเรามิได้อาศัยน้ำ หรือ แผ่นดินด้วยเลย  พวกท่านจะทำอย่างไรก็เชิญท่านทำตามอธัยาศัยเถิด  เราไม่ช่วยท่าน และไม่เกี่ยวข้องด้วย  ตั้งแต่มาเทดาทั้ง ๔ นั้น ก็เดือดแค้นต่อราหูเป็นต้นมา 

ครั้นต่อมาได้ประชุมกันสร้างมหาสระ ชื่ออมฤต เสร็จเรียบร้อยก็คิดอ่านกันให้รักษาหน้าที่กันต่อไป (น้ำในสระนี้ถ้าใครได้ดื่มกินเข้าไปแล้วไม่ตายเป็นอมฤต)  พระอินทร์รักษาเขาพระสุเมรุ  พระยาครุฑ รักษาเชาสัตตบริภัณฑ์ พญาราชสีห์รักษาป่าหิมพาน และพญานาครักษามหาสุทร อยู่กันมานาน  เมื่อจะเกิดเหตุพิบัติขึ้น วันหนึ่งพญาครุฑไล่จะกินพญานาค พญานาคแล่นหนีไปพึ่งราหู  ขอร้องให้ช่วย  ราหูเห็นดังนั้นก็จำเป็นต้องช่วยเหลือเข้ากั้นทางขวางพญาครุฑ เอาไว้ แล้วร้องตวาดว่า เหวยครุฑใจบาป เอ็งมาไล่พวกของข้าเยี่ยงใด พญาครุฑจึงตอบว่า นาคนี้เป็นแาหารของเรา  เราจึงจำเป็นจะต้องไล่กิน(ตามตำนานเทวตำนานว่า ครุฑได้รับพรจากพระนารายณ์) ราหูได้ฟังดังนั้นก็โกรธ โจนทยานเข้าวิ่งไล่พญาครุฑเห็นท่าไม่ได้การจึงแล่นหนีไปพึ่งพระอินทร์  ส่วนราหูก็มิอาจไล่เข้าไปได้ ก็หยุดอยู่เกิดอาการกระหายน้ำเป็นกำลังจึงลงไปกินน้ำในสระอมฤต  พระอินทร์เห็นดังนั้นก็โกรธ เพราะทีแรกขอร้องให้ช่วยเหลือกันทำสระราหูก็ไม่ช่วย  ครั้นพอสร้างเสร็จแล้วก็มากินจึงจับจักร์ขว้างราหู  ถูกกายขาดออกเป็นสองท่อน ด้วยเดชะอำนาจได้ดื่มน้ำสุราอมฤตจึงไม่ตายทั้งสองท่อน 

ราหูจึงแบ่งออกเป็นสองส่วน หนึ่ง เรียกว่า ราหู  อีกส่วนหนึ่งเรียกว่า เกตุ (ดูในดาราศาสตร์) 

การพยากรณ์
ถ้าอาทิตย์ จรถึง เสาร์  พยากรณ์ว่าจะมีคนคิดร้าย และจะได้พึ่งผู้ใหญ่    
ถ้าราหู ต้องเสาร์  พยากรณ์เหมือนกัน นัยหนึ่งว่าจะได้มิตร ที่คอยช่วยเหลือ ได้รับประโยชน์จากมิตร
ถ้าเสาร์ต้องราหู พยากรณ์ว่า จะได้พบมิตรใจร้ายพาไปหาเรื่อง 
ถ้าราหูต้องอาทิตย์ พยากรณ์ว่าจะจากที่อยู่และลุกเมีย จะต้องเดินทาง
ถ้าพฤหัสบดีต้องราหู พยากรณ์ว่าทำกิจการอันใดมักได้ครึ่ง เสียครึ่ง

ข้อคิดเห็นของยายกลิ่น : เมื่อดาวจรมาถึงกัน ต้องกัน ก็มิได้ว่าจะ จะต้องได้รับเสียหายอย่างคำโบราณกล่าวเสมอไป 
ตัวอย่างเช่น ถ้าพฤหัสบดีต้องราหู ก็มิได้จะต้องหมายความว่ากิจการใด ที่ทำนั้นจะต้องได้ครึ่ง เสียครึ่ง เสมอไป
หากแต่จะต้องดู เจ้าเรือนลัคนาเดิมของเจ้าชะตาว่า เจ้าเรือนพฤหัส ของเจ้าชะตา ตกอริ มรณะ หรือ วินาสน์ หรือไม่  

ฉะนั้นเราต้องดูพื้นดวงกำเนิดเดิม  ดวงลัคนาวัย  ดวงลัคนาปี  เพื่อดูว่าเจ้าเรือนพฤหัสหรือเจ้าเรือนราหู ของเจ้าชะตานั้น 
ตกอริ มรณะ หรือ วินาสน์ หรือไม่ด้วยเหมือนกัน เพื่อที่จะบอกว่า เจ้าชะตาทำกืจการนั้นๆ จะดี หรือเสีย ไม่นั่นเอง
ทั้งนี้ยังต้องดูดวงใหญ่อื่ร มาประกอบด้วยเหมือนดัน 





  #คุณยายกลิ่นโสม  102100142 141450
  #เรียนดวงไทยฟรีที่บ้านคุณยายกลิ่นโสม323
  #โหราศาสตร์ไทยเรียนด้วยตนเอง ได้ที่ #htthttp://www.baankhunyai.com 322141
     -----------------------   
​​​​​​​
Visitors: 171,527