ระบบโหราศาสตร์ของไทยในปัจจุบัน


ระบบโหราศาสตร์ของไทยในปัจจุบัน         

           เรามาถึงหัวข้อสุดท้ายของความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องโหราศาสตร์แล้วก่อนที่จะทำการศึกษา ถึงความรู้เฉพาะของโหราศาสตร์ เพื่อนำไปใช้ในการพยากรณ์หรือการ “ดูดวง” ตามเป้าประสงค์หลักต่อไปในหัวข้อนี้เราจะทำการศึกษาว่า โหราศาสตร์ไทย นั้นอยู่ในประเภทไหนหรืออยู่ในระบบอะไร เพื่อจะได้เข้าใจให้ชัดเจนและมีความลึกซึ้งยิ่งขึ้น

           จากการศึกษาถึงความเป็นมาของโหราศาสตร์ (ยุคกรีก: หน้า 22) ในช่วงคริสต์ศักราชที่ 100 – 178 ยุคนี้เองที่โหราศาสตร์เริ่มมีการแยกจักรราศีออกเป็น 2 ระบบ คือ
1.แบบสายนะซึ่งเป็นที่นิยมของนักโหราศาสตร์ยุคกรีก และ
2.แบบนิรายนะ ซึ่งเป็นที่นิยมในอินเดีย และไทยเรารับเอามาใช้ตามแบบนี้


“ฉะนั้น จึงทำให้เกิดโหราศาสตร์เป็น 2 ระบบขึ้นด้วยกัน ระบบดั้งเดิมคือระบบคงที่หรือระบบที่เรียกว่า “นิรายนะ” (หมายถึงว่าไม่เคลื่อนที่หรือคงที่) ระบบนี้คำนวณจากเวลาที่อาทิตย์โคจรรอบนักษัตรครบรอบ 12 ราศี จากจุด 0 องศาราศีเมษ จนกระทั่งอาทิตย์โคจรมาถึงจุดนี้อีกครั้งหนึ่งในวันใด ถือเอาว่าวันนั้นเป็นวันสงกรานต์ ระบบนี้ใช้แพร่หลายในหมู่โหรทางตะวันออก ได้แก่ อินเดีย จีน ไทย พม่า ฯลฯ ซึ่งจะตกราววันที่ 13 เมษายน ในแต่ละปี

 


ส่วนโหรระบบใหม่ คือ ระบบเคลื่อนที่หรือที่เรียกว่าระบบสายนะ ระบบนี้คำนวณโดยอาศัยรอบฤดูกาลเป็นหลัก โดยถือความสำคัญจากจุดทิวาราตรีเสมอภาค (กลางวันและกลางคืนมีเวลาเท่ากัน: ผู้เขียน) อันเป็นจุดที่เคลื่อนที่ไปได้ทุกปี อาทิตย์โคจรมาถึงจุดนี้วันใด วันนั้นจะเป็นวันที่มีกลางวันและกลางคืนเท่ากัน ตกในราววันที่ 21 มีนาคม โหราศาสตร์ระบบเคลื่อนที่ได้ถือเอาว่า วันนี้เป็นวันสงกรานต์ของเขา เป็นวันที่เริ่มผลัดเปลี่ยนฤดูใหม่ ปัจจุบันนี้จุดสงกรานต์ของโหรทั้ง 2 ระบบนี้มีระยะห่างกันประมาณ 23 องศาแล้ว

            ระยะห่างกันระหว่างจุดสงกรานต์ของโหรทั้งสองระบบนี้ เรียกว่า “อายนางศ” ซึ่งที่จริงนั้นวันสงกรานต์ของโหรระบบใหม่ถ้าจะเรียกกันให้ถูกต้องก็ควรจะเรียกเสียว่า “วันสงกรานต์ท้องฟ้า” จะเหมาะกว่า สำหรับวันสงกรานต์ของโหรระบบดั้งเดิมเช่นโหรไทยเรานั้น เป็นวันสงกรานต์ที่อาทิตย์ยกเข้าราศีเมษจริง ๆ แม้ทางดาราศาสตร์ก็ยอมรับว่า วันสงกรานต์ท้องฟ้าคือวันที่ 21 มีนาคมนั้น พระอาทิตย์พึ่งจะยกเข้าราศีมีนในกลุ่มดาวปลา อันสามารถจะมองเห็นได้ในท้องฟ้า หรืออาจจะดูได้จากท้องฟ้าจำลอง ซึ่งเป็นเครื่องมือทางดาราศาสตร์ที่ทันสมัย ปัจจุบันนี้ได้มีการจัดสร้างขึ้นแล้วในเมืองไทย สามารถที่จะชี้บอกตำแหน่งของดาวในราศีต่าง ๆ ได้ทุกวัน และทางดาราศาสตร์ก็มีมติเช่นเดียวกันกับโหรระบบคงที่ดั้งเดิมกัน คือ ถือเอากลุ่มดาวฤกษ์ ซึ่งเป็นกลุ่มดาวที่ขึ้นอยู่คงที่เป็นหลัก ฉะนั้น กลุ่มดาวฤกษ์ที่เป็นเครื่องกำหนดราศีทั้ง 12 ราศี เป็นกลุ่มดาวที่อยู่คงที่ในท้องฟ้า จะไม่มีการเคลื่อนที่หรือหมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด”(ยอดธง ทับทิวไม้.  2541: 105 – 106)

สรุปได้ว่าในปัจจุบันนี้ โหราศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ระบบ ได้แก่
1. ระบบสายนะ และ
2. ระบบนิรายนะเป็นระบบที่ใช้หลักว่าโลกเป็นศูนย์กลาง (Geocentric)

          ระบบสายนะ (Tropical Astrology) เป็นระบบที่เปลี่ยนราศีประมาณวันที่ 21 ของแต่ละเดือนเป็นระบบที่โหราศาสตร์ตะวันตกนิยมใช้กันรวมถึงโหราศาสตร์ยูเรเนียน (Uranian Astrology) ด้วยเป็นระบบที่อ้างอิงฤดูกาล เช่น 21 มีนาคม อาทิตย์จะเข้าราศีเมษซึ่งเป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิของซีกโลกเหนือ เป็นวันที่แนวโคจรของดวงอาทิตย์ (เส้นรวิมรรค) ตัดกับแนวศูนย์สูตรของโลก (Horizon) เมื่อเข้าฤดูใบไม้ผลิ ต้นไม้จะเริ่มผลิใบออกดอกเปรียบเสมือนการเริ่มต้นชีวิตใหม่ราศีเมษจึงให้ความหมายว่าเป็นการเริ่มต้นสิ่งใหม่ ๆ

        ระบบนิรายนะ (Sidereal Astrology) เป็นระบบที่เปลี่ยนราศีประมาณวันที่ 13 - 15 ของแต่ละเดือนมาจากการอ้างอิงจักรราศีกับกลุ่มดาวฤกษ์บนท้องฟ้า (Sidereal แปลว่าเกี่ยวกับดวงดาว) นั่นคือ เริ่มราศีเมษเมื่ออาทิตย์โคจรเข้ากลุ่มดาวฤกษ์ราศีเมษระบบนี้นิยมใช้ในโหราศาสตร์ฝั่งตะวันออก เช่น โหราศาสตร์อินเดีย โหราศาสตร์เขมร โหราศาสตร์มอญ โหราศาสตร์พม่า และโหราศาสตร์ไทย เป็นต้น ฯลฯ

ความแตกต่างของสองระบบนี้อยู่ที่การคิดจุดเริ่มต้นของจักราศีแตกต่างกัน โดยระบบคงที่ (นิรายนะ) ใช้จุดเริ่มต้นของกลุ่มดาวฤกษ์อัศวินีที่ 0 องศาเป็นจุดเริ่มต้นของจักราศีนับเป็นราศีเมษ

ส่วนจักราศีในระบบเคลื่อนที่ (สายนะ) มีความแตกต่างกับระบบคงที่อยู่ประมาณ 22 - 23 องศาแต่ซึ่งละปีจะไม่เท่ากัน

ซึ่งเมื่อก่อนเริ่มต้นวิชาโหราศาสตร์ขึ้นมานั้น จุดเริ่มต้นราศีเมษของทั้งสองระบบนี้เป็นจุดเดียวกัน ต่อมาการหมุนรอบตัวเองของโลกทำให้จุดเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิกับจุดเริ่มต้นดาวฤกษ์ราศีเมษเคลื่อนออกจากกัน (ระยะห่างนี้เรียกว่า อายนางศ) และจะมีการขยับห่างเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอย่างช้าๆผลการคำนวณปรากฏว่า จักราศีของทั้งสองระบบนี้จะมาร่วมที่จุดเดียวกันก็ต้องใช้เวลาอีกประมาณ 2 หมื่นปี จึงจะมาบรรจบกันครั้งหนึ่ง


ที่มา : https://sites.google.com/site/buddhistastro/lesson-p-1-horasastr-beuxng-tn/horasastr

#คุณยายกลิ่นโสม
#ยายกลิ่นเล่าเรื่องจากเรือนดาว
#โหราศาสตร์ไทยเรียนง่ายกว่าที่คิด
#เรียนโหราศาสตร์ไทยสไตล์คุณยายกลิ่นฯ
#อ่านดวงไทยสบายสบาย ตามสไตล์คุณยายกลิ่นโสม
#โหราศาสตร์ไทยเรียนด้วยตนเองฉบับคุณยายกลิ่นโสม   
#เรียนโหราศาสตร์ไทยฟรี ที่เวปนี้นะ:: htthttp://www.baankhunyai.com
  --------------------  
 
Visitors: 171,385